ชื่องานวิจัย การจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และสร้างจิตสานึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาเมี่ยง หน่วยการเรียนรู้การทาหมอนใบชา How to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย ศรัณภรณ์ สุภาษา
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้ การทาหมอนใบชาHow to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน.โรงเรียนป่าแป๋วิทยา ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 หน่วยการเรียนรู้ การทาหมอนใบชา How to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตสานึกการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้ การทาหมอนใบชาHow to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่าแป๋วิทยา อาเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่1 จานวน 17 คน มีวิธีดาเนินงาน มีวิธีดาเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1. ดาเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ขั้นตอนที่2. ดาเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3. ดาเนินการทดสอบหลังเรียน ขั้นตอนที่ 4.ดาเนินการวัดจิตสานึกการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่เป็นนวัตกรรม คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ แบบทดสอบวัดจิตสานึกการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละความก้าวหน้า ผลการวิจัยพบว่า
ผู้วิจัยได้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้ การทาหมอนใบชาHow to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีจานวนทั้งหมด 10 แผน โดยแต่ละแผนมีลักษณะการจัดกิจกรรมแบบ
ค
Active Learning ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก ( 85 คะแนน)
ผลการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยการเรียนรู้ How to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อพิจารณาร้อยละความก้าวหน้าพบว่า มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 25 (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2547: 78) โดยมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จานวน 25 คน
ผลคะแนนจิตสานึกของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น หน่วยการเรียนรู้ How to make local tea pillow รายวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า คะแนนจิตสานึกของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้มีค่าอยู่ในระดับสูงทุกคน