ผู้วิจัย นางสาวเขมจิรา ธาตุดี
ปีที่วิจัย 2565 - 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบ การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา 2) สร้างรูปแบบ การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา 3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนหัวถนนวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 58 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนหัวถนนวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 61 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนหัวถนนวิทยาที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,050 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 285 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหัวถนนวิทยา ได้มาโดยใช้ตาราง เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการสำหรับครู จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินความสอดคล้องสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 1 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองใช้รูปแบบ 1 ฉบับ แบบประเมินทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของครู จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา พบว่า สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.55 ,  = 0.84) และความต้องการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66 ,  = 0.48)
2. รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา พบว่า มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความสอดคล้องมากที่สุด ได้แก่ หลักการ (IOC = 1.00) วัตถุประสงค์ (IOC = 1.00) ผลป้อนกลับ (IOC = 1.00) รองลงมา ได้แก่ กระบวนการ (IOC = 0.80) และผลผลิต (IOC =0.80) ตามลำดับ และได้รูปแบบ คือ KOSE Model
และได้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา
3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน หัวถนนวิทยา ครูผู้สอนมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 ,  = 0.51) พบว่า
3.1 ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 , S.D. = 0.70)
3.2 ความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 , S.D. = 0.77)
3.3 ความพึงพอใจของครูมีต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 ,  = 0.81)
4. ประเมินและรับรองรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.76 ,  = 0.24)