ชื่อเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวกรกมล หนูจันทร์ โรงเรียนวัดหนา อำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ปีที่วิจัย 2566
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมต้องเริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลที่อยู่ในสังคมด้านต่างๆ ให้เข้าใจแล้วเริ่มปลูกฝังและให้ความรู้ในทางที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นกับเด็กตั้งแต่ก่อนวัยเรียน เพราะสามารถสร้างลักษณะนิสัยและวิถีชีวิตที่ดีแก่เด็กบุคคลนั้นได้ (มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2536:724725) ซึ่งการศึกษาคือเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง ซึ่งเป็นการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืนและป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.2550:7) การพัฒนาทางสังคมของเด็กในวัยนี้ต้องฝึกให้เด็กเกิดความไว้วางใจในผู้อื่นเมื่ออยู่ร่วมกันทำงานและเล่นร่วมกับผู้อื่นได้มีความรับผิดชอบในงานต่างๆ ร่วมกับผู้อื่นอย่างง่ายๆ ให้เด็กเข้าใจข้อตกลงและเกณฑ์ต่างๆ ฝึกให้รู้จักอดทนรอคอยให้ถึงโอกาสของตน หัดให้เด็กรับฟังผู้อื่นชมเชยผู้อื่น (เยาวพา เดชะคุปต์. 2542:85) และการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มีความสำคัญมาก เพราะเด็กในระดับปฐมวัยเป็นวัยที่มีความเฉพาะและเป็นวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการดูแลเอาใจใส่ควรได้รับการศึกษาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และความต้องการของเด็กในวัยนี้ โดยเฉพาะพฤติกรรมทางสังคม (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2550:12) นอกจากนี้ บลูม (Bloom.1964: 215) ได้กล่าวว่า ความสำคัญในการจัดประสบการณ์ทางสังคมกับเด็กในช่วงปฐมวัยมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของคนเราเป็นอย่างมาก โดยการพัฒนาการทางสังคมสำหรับเด็กในวัยนี้ ต้องฝึกเด็กให้เกิดความไว้วางใจในผู้อื่นเมื่ออยู่ร่วมกัน ทำงานและเล่นกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆ ร่วมกับผู้อื่นอย่างง่ายๆให้เด็กเข้าใจข้อตกลงและเกณฑ์ต่างๆ ฝึกให้รู้จักอดทนรอคอยให้ถึงโอกาสของตน หัดให้เด็กรับฟังผู้อื่น ชมเชยผู้อื่น เยาวพา เดชะคุปต์ (2542: 85) และ สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ (2545: 26) กล่าวว่า เด็กวัย 3 6 ปี เป็นวัยที่เรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่กับผู้อื่นและสิ่งรอบตัว เด็กวัยนี้จึงชอบเล่นเป็นกลุ่มมากกว่าเล่นคนเดียวต้องการตัวแบบด้านสังคมและจริยธรรม เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข
ออร์ลิค (Orlick. 1979: 157 161) มีความเห็นว่า การปลูกฝังพฤติกรรมทางสังคม โดยให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมด้าน การร่วมมือ การแบ่งปัน การเสียสละ ควรปลูกฝังได้โดยผ่านการเล่น และเชื่อว่า การเล่นมีศักยภาพอย่างมากที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง และผู้อื่นตลอดจนการเรียนรู้ เพื่อที่จะอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การเล่น จึงเป็นสื่อกลางที่ดีที่จะสอนให้เด็กได้เรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม เพราะการเล่นสามารถจูงใจให้เด็กกระทำสิ่งต่างๆได้และสอดคล้องกับ เฟอเบล (Froebel) ซึ่งเชื่อว่า การเล่นเป็นพัฒนาการขั้นสูงสุดของเด็กและพัฒนาการตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นโดยการเล่นถือเป็นกิจกรรมส่วนใหญ่ในชีวิตเด็กช่วยให้เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (หรรษา นิลวิเชียร. 2535: 65) การเล่นช่วยสร้างสรรค์บรรยากาศความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะที่เด็กเล่นด้วยกัน เด็กจะเรียนรู้ การช่วยเหลือ การแบ่งปัน การยอมรับกันในการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เรียนรู้การระวังรักษาของเล่น และการเรียนรู้การเข้าสังคมกับเพื่อน (หรรษานิลวิเชียร. 2535: 85) และการเล่นเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตเด็ก เพราะในขณะที่เด็กเล่นนอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นโอกาสให้เด็กได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองการที่เด็กได้ทำ ได้สัมผัส ได้ลองผิดลองถูก ได้สังเกต จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็กค่อยๆ เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่ม ปล่อยความคิดคำนึงไปตามเหตุการณ์ ในขณะที่เล่น นอกจากนี้การเล่นยังส่งเสริมความเจริญงอกงามทางสังคมของเด็ก ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมตนเองคิดถึงผู้อื่นรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ ทำให้เด็กเป็นคนที่มีวินัยรักหมู่คณะช่วยเหลือ แบ่งปันผู้อื่น การเล่นจึงเป็นการเรียนรู้สำหรับเด็กเป็นงานสำหรับเด็ก เป็นความสุขในชีวิตของเด็กเป็นสิทธิที่ทุกคนพึงจะมี (ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. 2521: 20 22) นอกจากนี้การเล่นมีหลายวิธี การจัดกิจกรรมการเล่น ก็มีหลายรูปแบบ ได้แก่ การจัดกิจรรมการเล่นเสรี การเล่นกลางแจ้ง หรือการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษา ดังนั้น การจัดกิจกรรมต่างๆ จึงควรจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับพัฒนาการ และความสนใจของเด็กเพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการสอนชนิดหนึ่งที่สนับสนุนทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่น และเล่นจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม เกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยฝึกทักษะด้านต่างๆ อันเป็นพื้นฐานการเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งมุ่งให้เด็กได้ใช้ทักษะการคิดในการสังเกตคิดหาเหตุผล และแก้ปัญหา โดยใช้เวลาสั้นที่สุด (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2527: 5) ดังนั้น เกมการศึกษาจึงเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อการฝึกทักษะ และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน การเล่นเกมการศึกษาจึงเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้งช่วยส่งเสริมกระบวนการในการทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม (เยาวพา เดชคุปต์. 2528: 36) ซึ่งเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่เด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน (วรรณพร ศิลาขาว. 2538: 35) นอกจากนี้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ยังช่วยให้เด็กเพลิดเพลินผ่อนคลายความตึงเครียด เร้าความสนใจของเด็กและเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคม รู้จักความรับผิดชอบ ส่งเสริมให้เด็กมีความสามัคคี รู้จักการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือ แบ่งปัน ยอมรับกันและรู้จักการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ (อัจฉรา ชีวพันธ์. 2526: 3)
ถึงแม้เกมการศึกษาจะมีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัยแต่การใช้เกมการศึกษาประกอบการเรียนการสอน ยังเป็นเรื่องที่ครูผู้สอน จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการจัดกิจกรรม และวิธีการเล่นที่จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางสังคม ได้อย่างสมบรูณ์มากที่สุด โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาในห้องเรียนที่ยังขาดกระบวนการเล่นที่ให้เด็กได้เล่นเกมเป็นกลุ่ม โดยมีครูคอยเป็นผู้กำกับดูแลเอาใจใส่ กระตุ้นและชี้แนะให้แรงเสริม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมให้กับเด็ก
จากการสังเกตนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนวัดหนา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อให้ทำกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาในห้องเรียนไม่มีความเป็นระเบียบ เด็กมักจะยึดชิ้นเกมเป็นของตัวเอง ไม่แบ่งปันให้เพื่อน และไม่ทำตามกฎกติกาในการเล่น พฤติกรรมการเล่นไม่ทะนุถนอม เด็กบางคนแสดงความเป็นผู้นำแต่เพียงผู้เดียว ชอบใช้คำสั่งให้เพื่อนทำตาม หากไม่มีใครทำตามจะใช้น้ำเสียงดังขู่เพื่อน พฤติกรรมทางสังคมในด้านการช่วยเหลือ การแบ่งปัน การยอมรับผู้อื่น จึงไม่ได้รับการส่งเสริมให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการที่ศึกษาว่า การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจะส่งผลต่อพฤติกรรมทาง
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นของพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
สมมติฐานของการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางสังคมสูงขึ้น
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดหนา อำเภอร่อนพิบูลย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย หญิง ที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดหนา อำเภอร่อนพิบูลย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการเจาะจง
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น คือ การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
2. ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมทางสังคม
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ทำการทดลองเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ๆ ละ 5 ครั้งๆ ละ 30 นาที กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดลองทั้งสิ้น 20 ครั้ง ตามแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับในการวิจัย
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย ในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ที่ใช้เป็นแนวทางส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคมแก่เด็กปฐมวัยจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็ก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษา
2. แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ได้แก่
2.1 การช่วยเหลือ
2.2 การแบ่งปัน
2.3 การยอมรับ
3. เกมการศึกษ
วิธีการดำเนินการทดลอง
การทดลองครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นเวลา 4 สัปดาห์โดยมีขั้นตอนดังนี้ สร้างความคุ้นเคยกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดยการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่ทำการทดลอง ให้เหมาะสม หลังจากนั้นได้ จัดเก็บข้อมูลพื้นฐานทุกด้าน (Beseline Data) โดยการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ได้แก่ วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี วันละ 30 นาที โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และทำการบันทึกการสังเกตโดยผู้วิจัย หลังจากนั้น ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยทำการทดลองในกิจกรรมเกมการศึกษาใช้เวลาในการทดลองเป็นระยะ 4 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน ได้แก่ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ ในเวลา 15.00 15.30 น. และทำการสังเกตพฤติกรรมทางด้านสังคมในด้านการช่วยเหลือ แบ่งปัน การยอมรับผู้อื่น ขณะที่เด็กทำกิจกรรมเล่นเกมการศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูล
คำชี้แจง ให้ผู้ประเมินกาเครื่องหมายถูก / ลงในช่องคะแนนที่กำหนดดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนน
3 คะแนน หมายถึง ดี
2 คะแนน หมายถึง ปานกลาง
1 คะแนน หมายถึง ปรับปรุง
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา ในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคม ก่อนและหลังการทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยรวมเฉลี่ยร้อยละ 67.9 และ 91
2. เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มีพฤติกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น ทุกด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการแบ่งปัน ด้านการยอมรับ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 91 แสดงว่าการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย มีพฤติกรรมทางสังคมสูงขึ้นอย่างชัดเจน
ผลการวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมเกมเล่นเกมการศึกษาส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคมให้เด็กได้ ทั้งนี้ ถ้าเด็กได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง ดังเห็นได้จาก ผลการวิจัยทดลองช่วงระยะเวลา 4 สัปดาห์ ที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้เด็กได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมของเด็กสูงขึ้น ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจในการนำกิจกรรมเกมการศึกษาที่ส่งเสริมพฤติกรรมทางสังคม สามารถศึกษาและเป็นแนวทาง ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการใช้การจัดกิจกรรมเล่นเกมการศึกษา เป็นวิธีการที่จะช่วยให้จัดการเรียนการสอนได้ สอดคล้องกับช่วงอายุของเด็ก
เ