|
|
ชื่อผู้วิจัย : นายธนพล แซ่คู
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ปีที่ทำการวิจัย : ปีการศึกษา 2566
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชบพิธ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชบพิธ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Designs) ตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Design โดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/11 โรงเรียนโรงเรียนวัดราชบพิธ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง Purposive( Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการจัดการเรียนรู้เรื่องโคลงสี่สุภาพ 2) แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน t-test for Dependent Samples และการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการ
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 15.42, df = 31, p-value = .000 โดยค่า p-value เมื่อจัดกระทำข้อมูลแล้วมีค่าน้อยกว่าระดับนัยสำคัญ และมีค่ามากกว่า 0) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพมีคะแนนพัฒนาการทักษะการแต่งโคลงสี่สุภาพสูงขึ้นมีจำนวนร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด จึงเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 (Mก่อน = 12.19, Mหลัง = 19.25, คะแนนพัฒนาการเฉลี่ย = 90.40)
ข้อเสนอแนะ 1) จากการวิจัยพบว่า คะแนนการทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนเรื่อง การแต่งโคลงสี่สุภาพโดยใช้แบบฝึก สูงกว่าการทดสอบก่อนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะดังนั้นควรมีการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องอื่น ๆ ให้กับนักเรียน 2) การนำแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การแต่งโคลงสี่สุภาพไปใช้ในการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างในด้านความรู้ความสามารถระหว่าง บุคคลเป็นสำคัญ เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาของนักเรียนอย่างเต็มตามศักยภาพ 3) ควรมีการทำวิจัยเปรียบเทียบทัศนคติหรือเจตคติที่นักเรียนมีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการแต่งโคลงสี่สุภาพ และมีการเปรียบเทียบวิธีการจัดการเรียนรู้โดยแบบฝึกเสริมทักษะ กับวิธีการสอนปกติว่ามีให้ผลการทดลองที่แตกต่างกันหรือไม่ นักเรียนมีทัศคติหรือเจตคติที่การเรียนในทั้งสองรูปแบบอย่างไร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
คำสำคัญ : การแต่งโคลงสี่สุภาพ, แบบฝึกเสริมทักษะ
|
โพสต์โดย ครูกล้าชาโค่ : [5 มี.ค. 2567 (16:09 น.)] อ่าน [2609] ไอพี : 49.229.132.239
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 1,248 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,781 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,212 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,384 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,759 ครั้ง
| เปิดอ่าน 55,632 ครั้ง
| เปิดอ่าน 26,300 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,032 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,270 ครั้ง
| เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,512 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,101 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,497 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,144 ครั้ง
| เปิดอ่าน 8,652 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 12,114 ครั้ง
| เปิดอ่าน 79,688 ครั้ง
| เปิดอ่าน 11,563 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,812 ครั้ง
| เปิดอ่าน 18,398 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|