ผู้วิจัย นางสาวเกศินี ศรีสุข
ปีที่วิจัย 2565 - 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 3) ทดลองใช้รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนหัวถนนวิทยาที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,050 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 58 คน และ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 61 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหัวถนนวิทยา จำนวน 285 คน โดยใช้ตารางเครจซี่ และ มอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการสำหรับครู จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินความสอดคล้องสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 1 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ การทดลองใช้รูปแบบ 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของครู จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.41 ,  = 0.78) และความต้องการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65,  = 0.48)
2. รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ตามความคิดเห็นของเชี่ยวชาญ องค์ประกอบของรูปแบบมี 5 องค์ประกอบ พบว่า มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความสอดคล้องมากที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ (IOC = 1.00) องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ (IOC = 1.00) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ (IOC = 1.00) รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล (IOC = 0.80) องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์และผลผลิต (IOC =0.80) ตามลำดับ ได้รูปแบบรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา คือ
3. การทดลองใช้รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยาตามความคิดเห็นของครูและนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66 ,  = 0.47) พบว่า
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.70 ,  = 0.51)
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄) = 4.67, S.D. = 0.58)
3.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄) = 4.66, S.D. = 0.48)
3.4 ผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄) = 4.65 , S.D. = 0.48)
4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (x̄) = 4.68 , S.D. = 0.39)