ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
การเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบ MIA (Murdoch Integrated
Approach) ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา วิทยาลัยชุมชนน่าน
ชื่อผู้ศึกษา นายวัชชิระ หวั่นท๊อก
ปีที่พิมพ์ 2567 (ปีการศึกษา 2566)
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบ MIA (Murdoch Integrated Approach) ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา วิทยาลัยชุมชนน่าน ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนน่าน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา ของนักศึกษาวิทยาลัย ชุมชนน่าน 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนน่าน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชา สาธารณสุขชุมชน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยชุมชนน่าน จํานวน 26 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาคเรียนเดิมกับภาคเรียนปัจจุบันด้วยสถิติ t-test ของบุญชม ศรีสะอาด วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสถิติ t-test ของบุญชม ศรีสะอาด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman’s Rank Correlation Coefficient)
ผลการศึกษา พบว่า การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญาของวิทยาลัยชุมชนน่าน เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่มีกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนที่มีความหลากหลายไม่เป็นเอกภาพ ใช้การสอนแบบบรรยาย ขาดเทคนิคการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้แสดงความคิด ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย และไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่ได้แสดงออก ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม มีหลักการสําคัญของรูปแบบคือเป็นการเรียนการสอนมีการถ่ายทอดโดยครูผู้สอน เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Teacher Center) ซึ่งการถ่ายทอดของครูที่ถ่ายทอดจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการสอนและประสบการณ์ ดังนั้นจึงได้ดําเนินการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา ของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนน่าน โดยทําการจัดการเรียนการสอนตาม
กรอบแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบ MIA (Murdoch Integrated Approach) ดําเนินการทดลอง จํานวน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกได้ทําการประเมินความเหมาะสมเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล และประโยชน์ของเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.37, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.57) ด้านที่มีผลประเมินสูงสุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลมีความเหมาะสม (ค่าเฉลี่ย = 4.50, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.71) ครั้งที่ 2 นําผลจากการประเมินครั้งแรกมาพัฒนาเอกสารประกอบการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา วิทยาลัยชุมชนน่านของกลุ่มทดลองครั้งที่ 2 มีค่าสูงกว่ากลุ่มทดลองครั้งที่ 1 โดยมีค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา เท่ากับ 84.73/82.18 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ E1 / E2 : 80/80 ในขณะที่ผลการประเมินประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญาของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนน่าน พบว่า มีประสิทธิผล เนื่องจากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญาของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยชุมชนน่านภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.18, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.51) ด้านที่มีผลประเมินสูงสุด คือ ด้านกิจกรรม (ค่าเฉลี่ย = 4.27, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.43) โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของการจัดการเรียนการสอนแต่ละด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนสอบรายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา มีค่าอยู่ระหว่าง 0.625 ถึง 0.879 แสดงว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คําสําคัญ : เอกสารประกอบการสอน, รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกลวิธีการสอนแบบ MIA,
ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา, อนุปริญญา
=