การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการ
เรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้
แบบวัดทักษะการโต้แย้ง และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทางสถิติ
การหาคะแนนพัฒนาการ และค่าร้อยละของจ านวนนักเรียนในแต่ละระดับขององค์ประกอบในการโต้แย้ง
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลการพัฒนาทักษะโต้แย้งเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนเรียน ในระดับ
ความสามารถการโต้แย้งรวมทุกองค์ประกอบ ได้แก่ ข้อกล่าวอ้าง หลักฐานสนับสนุนเหตุผล เหตุผล
สนับสนุนข้อกล่าวอ้าง และการโต้แย้งกลับ โดยองค์ประกอบของการโต้แย้งที่มีนักเรียนมีพัฒนาการมาก
สุด คือ การระบุข้อกล่าวอ้าง (ร้อยละ 53.13) และองค์ประกอบของการโต้แย้งที่นักเรียนมีพัฒนาการ
น้อยสุด คือ หลักฐานสนับสนุนเหตุผล (ร้อยละ 17.19)
The objective of this research was to develop between pre-test and post-test of
9 grade 16 students argumentation skills through using socioscientific issue teaching in
the topic of Life and Environment purposive sampling. The researchers collected data
from argumentation skills questionnaire and semi-structured interview. The quantitative
data were analyzed by ability of growth score and percentages of all students in
argumentation skills that incluges of 4 component. The results showed that most
students had developed their argumentation skills more in post-test than in pre-test
and also develops in each component of argumentation : claim ; warrant ; evidence ;
counter argument ; and supportive argument. The component that most students for
developed was claim (53.13 percent) and the component that less students developed
was evidence (17.19 percent).