ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการใช้วิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 De

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการใช้วิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Developing a Learning Activity Combined Between Research-Based Learning with Cooperative Learning Approach, for History Content Strand, to Promote Self-Directed Learning and Critical Thinking of Matthayomsuksa 3 Students

เคียงขวัญ ดงภักดี1, ฉลอง พันธ์จันทร์2

Kiangkuan Kongpakdee1, Chalong Phanjunt2

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิด การวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ (2.1) ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2.2) เปรียบเทียบคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

(2.3) เปรียบเทียบ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้

โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

1นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

1 M. Ed. Candidate in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Mahasarakham University

2 Asst. Prof. Dr., Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University

กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลด้านการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 คน และ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 112 คน จาก โรงเรียนชุมชนหนองหิน และโรงเรียนบ้านโนนปอแดง และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านโนนปอแดง จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ 1) แบบสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในชั้นเรียน และระยะที่ 2 ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ จำนวน 8 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28-0.63 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 และข้อสอบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 25 ข้อ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ได้ค่าความยากตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.71 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.69 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 และ 4) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเผชิญสถานการณ์และเหตุการณ์ในบทเรียน 2) ขั้นวิเคราะห์ความเชื่อด้วยประสบการณ์พื้นฐาน 3) ขั้นอ้างอิงและเสนอข้อโต้แย้ง 4) ขั้นยอมรับและลงความเห็นในความเชื่อ 5) ขั้นสรุปและนำไปใช้ ซึ่งผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของแผนโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยรายแผนตั้งแต่ 4.45–4.68 และค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.54

2. ผลการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังนี้

2.1 ประสิทธิภาพสำหรับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.01/84.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2.2 ผลการเปรียบเทียบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีการนำตนเองในการเรียนรู้หลังเรียน( = 67.04 ) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 54.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 11.94*)

2.3 ผลการเปรียบเทียบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน ( = 33.87) สูงกว่าก่อนเรียน( = 27.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 9.64*)

คำสำคัญ : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

คุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Abstract

The purpose of this research were : 1) to develop learning management

combined between Research-Based Learning with Cooperative Learning Approach, for History content strand, to promote self-directed learning and critical thinking of

Matthayomsuksa 3 students, 2) to study the effects of learning management combined between Research-Based Learning with Cooperative Learning Approach, for History content strand, of Matthayomsuksa 3 students, which were comprised of : 2.1) to study for the efficiency of learning management combined between Research-Based Learning with Cooperative Learning Approach, for History content strand, with the required establishment of 75/75, 2.2) to compare self-directed learning of the students before and after learning with activity combined between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach, 2.3) to compare critical thinking of the students before and after learning with activity combined between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach. The target participants who given the concerned information about learning management in history content were consisted of 2 teachers, and the samples of 112 students for replying questionnaire from Ban Nhonghin school and Ban Nonpordaeng school. Whereas, the samples for using learning management combined between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach were 29 students of Ban Nonpordaeng school, who obtained using cluster random sampling technique. The research instruments were comprised of : 1) questionnaire for the students about current state of leaning management in history content, 2) observing form

for the classroom learning management, 3) interviewing forms for teachers and

students about the state of problems and needs of learning management, 4) plans for learning management combined between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content, for 8 plans with 16 hours,

5) learning achievement test with 25 item of multiple choices and 1 item of

subjective test, 6) critical thinking test with 25 item of multiple choices, and

7) handbook for learning management. The statistics used for analyzing data were

percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent sample) was employed for testing hypotheses.

The results of study were as follows :

1. The results of developing for learning management combined Between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content , to enhance self-directed learning and critical thinking of students were consisted of 5 steps as the following : 1) Confronting with learning situations, 2) Analyzing of belief with pre-experiences , 3) Inference and giving argument, 4) Accepting and judging in belief, 5) Concluding and implementing of knowledge. Which, showed

quality and appropriateness score, that judged by concerned experts were 4.45-4.68 for each plan, and was 4.54 for overall of plans.

2. The effects of learning management combined between Research - Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content for Mathayomsuksa 3 students were as :

2.1) Learning management combined between Research-Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content in Mathayomsuksa 3 level had the efficiency of 82.01/84.65, which was higher than the establishment criterion of 75/75.

2.2) The students who provided of learning management combined between Research - Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content showed higher of self-directed learning at after than before learning at the .05 level of significance.

2.3) The students who provided of learning management combined between Research - Based Learning and Cooperative Learning Approach for history content showed higher of critical thinking at after than before learning at the .05 level of significance.

Keyword: Learning Management Combined Between Research-Based

and Cooperative Learning Approach, Self-Directed Learning,

Critical Thinking

บทนำ

การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ยังประสบปัญหาสำคัญอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในสาระการเรียนรูประวัติศาสตร์ ยังไม่ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาการคิด และความสามารถในการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบตามแนวทางการวิจัยเป็นฐานเท่าที่ควร ซึ่งเป็นกลวิธีที่จําเป็นต่อการนํามาใช้ในชีวิตจริง เพื่อใช้ในการเลือก ตัดสินใจในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ขาดการตัดสินใจอย่างรอบคอบ รวมทั้งยังขาดการรับรู้ข้อมูลอย่างมีเหตุผลในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งยังขาดประสบการณ์ในการค้นคว้าความจริงรอบตัว และสถานการณ์ทั่วไปยังเป็นการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนรอคำตอบจากครูผู้สอน โดยเฉพาะการเรียนสาระประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้เรียนไม่ได้แสดงออกทางความคิด หรือมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องอาศัยคุณลักษณะหลายอย่างในการสืบค้นข้อมูล แสวงหาความรู้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความสามารถในการตีความ วิเคราะห์ข้อมูลหลักฐานและอธิบายนัยสําคัญของเหตุการณที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พิภพ สินธุพงษ์. 2546 : 23) ปัจจัยสําคัญอีกอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ให้ประสบผลสําเร็จได้นั้น ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับปัจจุบัน เน้นเนื้อหาที่อยู่ใกล้ตัวผู้เรียน สอดแทรกสิ่งรอบตัวผู้เรียนกับบทเรียน ครูโดยส่วนใหญ่จะเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระเฉพาะในห้องเรียน ยังไม่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ทักษะด้านการทำงานกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหาและการวางแผนงาน ขาดการสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียน ส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้ยังไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง อันเป็นผลทำให้ผู้เรียนมีความรู้แต่ยังขาดทักษะด้านระบบการทำงานที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ (วิชัย วงษ์ใหญ่. 2543 : 2) ส่งผลให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียน เห็นว่าการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ แต่ที่จริงแล้วการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เป็นเนื้อหาที่ค่อยข้างยากซับซ้อน ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ ใช้วิจารณญาณ และการตัดสินใจกับปัญหาที่มีผลต่อสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม จึงต้องใช้วิธีการ ทางด้านเทคโนโลยีสื่อการเรียนรู้เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องรู้จักเลือกกิจกรรมการเรียนที่มีประสิทธิภาพ และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียนมากขึ้น

จากรายงานผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2556 พบว่า สาระที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำกว่าที่กำหนดและควรได้รับการปรับปรุงคือ สาระประวัติศาสตร์ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 65.05 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑที่โรงเรียนกําหนด ผู้วิจัยในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงเห็นว่าในบริบทการเรียนรายวิชาในกลุ่มสาระนี้ ต้องการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับความรู้ตามขอบข่ายเนื้อหาวิชา มีความสามารถด้านการคิด ด้วยกระบวนการเรียนที่มีประสิทธิผล โดยกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งในกรอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร ต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ให้บรรลุผล เพื่อชี้นำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องในทุกโอกาส

ประกอบกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการคิดในระดับสูงและเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม เป็นวิธีการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ในเบื้องต้น ผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยความรู้ในการรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ แล้วนำมาจัดระบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาผลการเรียนและปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ ผู้วิจัยจึงสนใจนำแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบวิจัยเป็นฐาน และการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในลักษณะของกระบวนการแก้ปัญหา การหาคำตอบของคำถาม การสร้างองค์ความรู้ใหม่ การประยุกต์ใช้และการตรวจสอบทฤษฎี ซึ่งโดยหลักการของการวิจัยจะเป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ หรือการหาคำตอบอย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายความถูกต้องได้ด้วยเหตุและผล ดังเช่น ศิริชัย กาญจนวาสี (2537: 28) ได้อธิบายความหมายการวิจัยไว้ว่า เป็นกระบวนการสร้างและ การพัฒนา หรือการค้นหาข้อเท็จจริงหรือความรู้ใหม่อย่างมีระบบ โดยวิธีการที่เชื่อถือได้ ขณะที่การจัดการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีสาระสำคัญของกิจกรรมการเรียน ได้แก่ (1) การให้รางวัลคำชมเชยแก่ทีมผู้เรียน (Team rewards) (2) ความรับผิดชอบในการเรียนของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability) และ (3) การมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในงานที่เท่าเทียมกัน (equal opportunities for success) ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวไม่เพียงจะกำกับควบคุมให้ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ยังมีเหตุผลที่จะนำผู้เรียนแต่ละคนไปสู่ความสำเร็จด้วยความมุ่งมั่นแท้จริง วิธีการหรือรูปแบบกิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือที่นำมาใช้เป็นหลักหรือต้นแบบ ได้แก่ แบบ STAD แบบ TGT และแบบ Cooperative Integrated Reading and Composition Program (CIRC) ซึ่งมีผลการวิจัยสนับสนุนและเชื่อถือได้ว่า กิจกรรมการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายร่วมกันจนสำเร็จ จะส่งผลต่อคุณภาพการเรียนด้วยปัจจัยที่เสริมสร้างการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน (Slavin. 1996 : 200) จากเหตุผลและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้สาระวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เห็นว่านักเรียนระดับชั้นดังกล่าวยังประสบปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีความเชื่อมโยงกับคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่เป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ประสบผลสำเร็จ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนให้บรรลุผลและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R & D) โดยประยุกต์แนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ มาออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลการวิจัยที่ปรากฏจากการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำผลไปปรับใช้การจัดการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งเป็นข้อสนเทศสำหรับผู้ที่สนใจนำแนวคิดและผลการวิจัย ไปดำเนินการวิจัยค้นคว้าเพิ่มเติมและประยุกต์ใช้ในสถานการณ์การเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

2. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้

2.1 ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75

2.2 เปรียบเทียบคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

2.3 เปรียบเทียบ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

สมมติฐานของการวิจัย

1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการใช้วิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้น

2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการใช้วิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนเพิ่มขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ไว้ดังนี้

1. รูปแบบของการวิจัย ได้แก่ กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R & D)

2. ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย มีดังนี้

1) ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนปอแดง และโรงเรียนชุมชนบ้านหนองหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ปีการศึกษา 2557 รวม 150 คน จาก 4 ห้องเรียน ซึ่งแต่ละห้องได้จัดชั้นเรียนแบบคละความรู้ความสามารถ

2) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ที่ใช้สำหรับการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรม

การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ในชั้นเรียนที่น่าสนใจและประเด็นปัญหาในการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งความคิดเห็นด้านกิจกรรมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และผลการเรียนด้านความรู้ที่ต้องการให้ครูนำมาจัดให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียน จำนวน 3 ห้อง รวมนักเรียน 112 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม

3) กลุ่มเป้าหมายนักเรียนที่ใช้สังเกตพฤติกรรมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์

ในชั้นเรียนจำนวน 2 ห้อง โรงเรียนละ 1 ห้อง รวมนักเรียน 78 คน

4) กลุ่มเป้าหมายนักเรียนที่ใช้สัมภาษณ์เกี่ยวกับจุดเด่นจุดด้อยของกิจกรรมการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ รวมทั้งประโยชน์ที่ต้องการได้รับจากการเรียนวิชาประวัติศาสตร์

5) กลุ่มเป้าหมายครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อสังเกตกิจกรรมการเรียนในชั้นเรียนของครูที่เชื่อมโยงไปสู่คุณภาพผลการเรียน รวมทั้งเงื่อนไขที่นักเรียนยังไม่บรรลุผลและประสบผลสำเร็จในการเรียนตามตัวชี้วัดหลักสูตร โดยเฉพาะคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนจำนวน 2 คน โรงเรียนละ 1 คน

3. ขอบเขตของเนื้อหา

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย เนื้อหาเรื่อง พัฒนาการชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์

4. ระยะเวลาในการวิจัย

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2557 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558

5. ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ

2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้

การจัดเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล จัดกระทำและวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองตามความมุ่งหมายการวิจัย ดังนี้

1) วิเคราะห์คุณภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน

2) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 จากคะแนนผลการเรียนระหว่างเรียน และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน

3) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนการนำตนเองในการเรียนรู้ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อนำมาเปรียบเทียบโดยการทดสอบความแตกต่างด้วย t-test (Dependent Samples)

4) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อนำมาเปรียบเทียบโดยการทดสอบความแตกต่างด้วย t-test (Dependent Samples)

สรุปผล

ผลการวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สรุปผลได้ดังนี้

1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ

วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้อยู่

5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเผชิญสถานการณ์และเหตุการณ์ในบทเรียน 2) ขั้นวิเคราะห์

ความเชื่อด้วยประสบการณ์พื้นฐาน 3) ขั้นอ้างอิงและเสนอข้อโต้แย้ง 4) ขั้นยอมรับ

และลงความเห็นในความเชื่อ 5) ขั้นสรุปและนำไปใช้ ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยายแผนตั้งแต่ 4.45–4.68 และค่าเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.54

2. ผลการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ

วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏดังนี้

2.1 การจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.01/84.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75

2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีการนำตนเองในการเรียนรู้หลังเรียน ( = 67.04) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 54.49) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน ( = 33.87) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 27.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายผล

จากผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนมีประเด็นที่นำมาอภิปรายผล ดังนี้

1. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการศึกษาสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ พบว่า ยังมีปัญหาในทักษะทางการนำตนเองและการคิดที่จะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนา โดยเฉพาะการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นทักษะการคิดขั้นสูง ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเพื่อนำมาใช้สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนดังกล่าวให้ประสบผลสำเร็จ และเห็นว่าแนวคิดทฤษฎีการวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ เป็นทางเลือกของหลักการแนวคิดที่มีคุณภาพ สามารถนำมาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวได้ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถฝึกให้เกิดคุณลักษณะการนำตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้บรรลุผล ซึ่งกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเผชิญสถานการณ์และเหตุการณ์ในบทเรียน

2) ขั้นวิเคราะห์ความเชื่อด้วยประสบการณ์พื้นฐาน 3) ขั้นอ้างอิงและเสนอข้อโต้แย้ง

4) ขั้นยอมรับและลงความเห็นในความเชื่อ 5) ขั้นสรุปและนำไปใช้ เมื่อนำกระบวนการจัดการเรียนรู้เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพและความเหมาะสมแล้ว พบว่า กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวมีคุณภาพและมีความเหมาะสมสำหรับนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาประวัติศาสตร์ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผลการประเมินในรายแผนการเรียนรู้มีระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.45–4.68 และผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และการที่มีผลวิจัยปรากฏเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานแนวคิดการใช้วิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ช่วยกระตุ้นคุณลักษณะการนำตนเองและการใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดการรับความรู้ทุกๆด้านแบบองค์รวม ในลักษณะการเชื่องโยงอย่างบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้แก่ผู้เรียนอย่างเข้าใจและทุกคนมีส่วนร่วมในการนำความรู้ใหม่ไปปรับใช้อธิบายสถานการณ์ปัญหาอื่นได้อย่างเข้าใจ ในลักษณะของการขยายหรือปรับใช้ความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Shapiro (2006 ; อ้างอิงมาจาก นิราศ จันทรจิตร. 2553 : 297) กระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการทำงานของระบบสมอง ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรับรู้ แล้วนำมาบูรณาการผ่านกระบวนการคิดเพื่อออกแบบวางแผน นำไปสู่การปฏิบัติด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง สำหรับเชื่อมโยงให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรูปแบบดังกล่าว ยังจัดให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหว มีโอกาสลงมือปฏิบัติอย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะและความสนใจของผู้เรียน และเป็นกิจกรรมที่ท้าทายความคิดสติปัญญา จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่ และเอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้าใจในประเด็นของการเรียนรู้อย่างที่ชัดเจน รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และมีความลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้น (ทิศนา แขมมณี. 2553 : 282–284) อีกทั้งต้องผสมผสานด้วยกิจกรรมการเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือ เพราะเงื่อนไขดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนรับรู้เข้าใจความหมายประสบการณ์เดิม และประสบการณ์ใหม่ค่อนข้างชัดเจน และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยความมั่นใจให้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการเรียน ผนวกกับความมีอิสระจะสามารถค้นพบคำตอบและขจัดข้อสงสัยของตนที่มีอยู่ให้หมดไป สามารถเอาชนะอุปสรรคในการเรียน เพื่อนำไปสู่การเสริมสร้างศักยภาพตนเองในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนทั้ง 5 ขั้น ดังผลปรากฏในการวิจัยครั้งนี้

2. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.01/84.65 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 ที่ปรากฏผลการวิจัยเป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาช่วยในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย สอดคล้องกับสภาพจริง ความสามารถ ความสนใจ และความอยากรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวิจัยเป็นฐาน ยังให้ความสำคัญกับการจัดประสบการณ์ ในสถานการณ์ที่หลากหลายมากกว่าที่จะเน้นความจำ อีกทั้งกิจกรรมได้ใส่ใจกับการเสริมสร้างให้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการสรุปความรู้ การสืบเสาะความรู้ และมีการนำเสนอข้อมูลความรู้ในบริบทที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ชีวิตจริง มีการใช้เทคนิควิธีช่วยความจำข้อมูลความรู้ โดยการออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้พื้นฐาน สนับสนุนการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ที่น่าสนใจมากขึ้น (นิราศ จันทรจิตร. 2553 : 294)

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่ปรากฏผลการวิจัยเช่นนี้ อาจเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ครั้งนี้มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ และเน้นบรรยากาศสนุกสนาน สามารถซึมซับความรู้ และมีการจัดกระทำโดยตรงกับประสบการณ์ พัฒนาในทุกดาน รวมทั้งกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้มีความตื่นตัว ตอบสนองด้วยความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียน โดยการนําเอาความรู้ กระบวนการทุกด้าน และอารมณ์ของผู้เรียนรู้มาใช้พัฒนาเป็นความรู้ใหม่ให้ประสบผลสําเร็จ โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการเรียนที่เป็นระบบ ตามกรอบกิจกรรมในการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการตื่นตัวและผ่อนคลาย ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนที่ดีไม่กดดันผู้เรียน ช่วยให้จดจ่อในเงื่อนไขปัจจัยจากการกระทำด้วยตนเอง รวมทั้งหลักการการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม หลักการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการคิด ตามขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน การแนะนำกิจกรรมการเรียนรู้ การนำเสนอความรู้ใหม่ การฝึกทักษะ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2550 : 66-67) ขณะที่กิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดการจัดการเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน มีพื้นฐานสัมพันธ์มาจากกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ Constuctivism ที่ให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เกิดจากการสัมพันธ์ของสิ่งที่พบเห็น รวมกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม บุคคลจะเรียนรู้ได้โดยการมีปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผ่านกระบวนการโครงสร้างทางสติปัญญา และบูรณาการระหว่างความรู้เดิมที่มีอยู่ก่อน กับประสบการณ์ที่ได้รับใหม่ ทำให้เกิดการคิดด้วยตนเอง (อมรวิชช

นาครทรรพ. 2547 : 38) จากเงื่อนไขดังกล่าวจึงส่งผลให้นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ มีคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้น ตามที่ปรากฏในผลการวิจัยครั้งนี้

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.1 ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 3 สามารถนำแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เนื่องจากเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สร้างเสริมคุณลักษณะการนำตนเองในการเรียนรู้และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยผู้ที่จะนำไปใช้ควรศึกษาแนวคิด และทฤษฎี ขั้นตอนวิธีการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน

1.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ครูผู้สอนควรศึกษาถึงความต้องการของผู้เรียนเป็นอันดับแรก ยกตัวอย่างเช่น การนำสื่อการเรียนการสอนที่มีความหลากหลายและมีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมควรจะมีความเหมาะสม และกระชับไม่ยืดเยื้อ เป็นต้น

1.3 ครูผู้สอนควรคัดเลือกเนื้อหาให้มีความเหมาะสมกับระดับชั้นเรียน และควรเนื้อหาที่มีความหลากหลาย ค้นหาข้อมูลได้ง่าย

1.4 ควรนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบ

กลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ไปศึกษาร่วมกับตัวแปรอื่นๆด้วย อาทิเช่น ความพึงพอใจในการเรียนรู้ความรู้ที่คงทนในการเรียนรู้ ฯ เป็นต้น

1.5 ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เป็นกันเองกับนักเรียน ฝึกความเป็นผู้นำของนักเรียน ฝึกการคิดด้วยตนเองของผู้เรียนโดยครูผู้สอนจะมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำเท่านั้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน

2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าต่อไป

2.1 ควรพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบ

กลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับวิธีอื่นให้หลากหลายและต่อเนื่อง

2.2 ควรนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการผสานแนวคิดวิจัยเป็นฐานประกอบกลุ่มร่วมมือ วิชาประวัติศาสตร์ ไปทดลองกับนักเรียนหลายๆกลุ่ม เพื่อจะได้ข้อสรุปผลการวิจัยได้อย่างกว้างขวางและมั่นใจมากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิราศ จันทรจิตร. (2553). การเรียนรู้ด้านการคิด. มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิภพ สินธุพงษ์. (2546). การศึกษาสภาพการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของโรงเรียนนำร่อง และโรงเรียนเครือข่าย สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. กรุงเทพฯ : ช้างทอง.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2537). ทฤษฏีการประเมิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารง สุทธาศาสตร์. (2523). คู่มือปฏิบัติการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : เอกสารคำบรรยายหลักสูตรนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ รุ่นที่ 17, สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2547). โครงการวิจัยและพัฒนาระบบประกันคุณภาพสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. วารสารการประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(2) (ก.ค.-ธ.ค. 2547), 49-59.

โพสต์โดย Kruaom : [1 มี.ค. 2567 (21:13 น.)]
อ่าน [2145] ไอพี : 223.206.246.82
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,563 ครั้ง
13-15 มี.ค อย่าพลาดชมปรากฏการณ์ "ดาวล้อมเดือน" ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี
13-15 มี.ค อย่าพลาดชมปรากฏการณ์ "ดาวล้อมเดือน" ดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี

เปิดอ่าน 3,530 ครั้ง
3 อันดับทุเรียนเปลี่ยนรูปให้พลังงานสูง แนะทานให้เหมาะสมต่อร่างกาย
3 อันดับทุเรียนเปลี่ยนรูปให้พลังงานสูง แนะทานให้เหมาะสมต่อร่างกาย

เปิดอ่าน 26,250 ครั้ง
โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ
โลกออนไลน์แชร์ สุดยอดคุณครู! ตรวจการบ้านลูกศิษย์ละเอียดยิบ

เปิดอ่าน 20,841 ครั้ง
เสริมดวงชะตาให้ดี ด้วยการเสริมฮวงจุ้ยประตูบ้าน
เสริมดวงชะตาให้ดี ด้วยการเสริมฮวงจุ้ยประตูบ้าน

เปิดอ่าน 20,273 ครั้ง
"กระเจี๊ยบแดง" ยาดีลดความดัน
"กระเจี๊ยบแดง" ยาดีลดความดัน

เปิดอ่าน 949 ครั้ง
"สูงวัย เนือยนิ่ง ทอดหุ่ยกับสมองเสื่อม" พฤติกรรมแบบไหน ทำให้เกิดความเสี่ยง?
"สูงวัย เนือยนิ่ง ทอดหุ่ยกับสมองเสื่อม" พฤติกรรมแบบไหน ทำให้เกิดความเสี่ยง?

เปิดอ่าน 15,883 ครั้ง
โหงวเฮ้งดี เปลี่ยนได้ไ่ม่ยาก!
โหงวเฮ้งดี เปลี่ยนได้ไ่ม่ยาก!

เปิดอ่าน 24,328 ครั้ง
เรื่องของ"เลข 9" ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2009
เรื่องของ"เลข 9" ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 2009

เปิดอ่าน 9,573 ครั้ง
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป
1 ปี "สตีฟ จ็อบส์" จากไป

เปิดอ่าน 5,395 ครั้ง
จำนวนนับ
จำนวนนับ

เปิดอ่าน 32,575 ครั้ง
โรคพยาธิตัวจี๊ด
โรคพยาธิตัวจี๊ด

เปิดอ่าน 20,828 ครั้ง
เกมส์ทําอาหาร
เกมส์ทําอาหาร

เปิดอ่าน 45,462 ครั้ง
คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)
คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ. (ฉบับปรับปรุงแก้ไข)

เปิดอ่าน 19,099 ครั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

เปิดอ่าน 11,771 ครั้ง
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"

เปิดอ่าน 12,946 ครั้ง
EQ กับวัยทำงาน
EQ กับวัยทำงาน
เปิดอ่าน 7,863 ครั้ง
Single Gateway กับสังคมไทย "เมื่อกล่องแพนดอร่าเปิดแล้ว"
Single Gateway กับสังคมไทย "เมื่อกล่องแพนดอร่าเปิดแล้ว"
เปิดอ่าน 2,823 ครั้ง
ประโยชน์ของน้ำขิง
ประโยชน์ของน้ำขิง
เปิดอ่าน 60,269 ครั้ง
แนวปฏิบัติการดำเนินงานตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
แนวปฏิบัติการดำเนินงานตาม พรบ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
เปิดอ่าน 30,861 ครั้ง
กินให้ผอมใน 14 วัน! ลองทำดูสิ
กินให้ผอมใน 14 วัน! ลองทำดูสิ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ