ชื่อผู้ประเมิน นางณสุดา กฤตเที่ยงกล้า
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่รายงาน 2566
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากรที่ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 19 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 326 คน นักเรียน จำนวน 326 คน รวมทั้งสิ้น 685 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนตลาดไทรพิทยาคม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยบรรยายสรุปในเชิงพรรณนาและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ4.05, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.91) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของเผนการศึกษาชาติ รองลงมา ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ และโครงการได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมรองลงมาคู่มือดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีรายละเอียดชัดเจน และความรู้เเละความเหมาะสมของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และโครงการมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รองลงมาโรงเรียนได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้กับผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ
3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.09, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายซ้อพบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาผู้ปกครองมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมา นักเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างการปฏิบัติกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
4.1 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โครงการมีส่วนช่วยให้นักเรียนช่วยเสริมสร้างความสามัคคี โครงการมีส่วนช่วยให้แก่นักเรียนช่วยพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่นักเรียน รองลงมาโครงการทำให้นักเรียนมีวินัยในตนเอง ส่วนในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.11) และ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.13) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกฐานการเรียนรู้
4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของการประเมินโครงการ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.10) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.12) และผู้ปกครองนักเรียน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.13) ตามลำดับ และกลุ่มที่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.20)