ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม
ผู้วิจัย : นาย สันติ ตะวัน
ปีที่พิมพ์ : 2565 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม 2) สร้างและพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม 3) ทดลองใช้รูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม 4) ประเมินและรับรองรูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 76 คน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 73 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคมที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,442 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,407 คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 76 คน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 73 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคมที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 302 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 302 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 604 คน โดยใช้ตารางเครซซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินในแต่ละระยะของการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสภาพปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม สภาพปัจจุบัน โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.37 ,  = 1.19) และความต้องการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 ,  = 0.80)
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม ตามความคิดเห็นของเชี่ยวชาญ องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ พบว่า มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความสอดคล้องมากที่สุด ได้แก่ หลักการของรูปแบบ (IOC = 1.00) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (IOC = 1.00) ปัจจัยนำเข้า (IOC = 1.00) กระบวนการของรูปแบบ (IOC = 1.00) รองลงมา ได้แก่ การประเมินรูปแบบ (IOC = 0.80) และเงื่อนไขความสำเร็จ (IOC =0.80) ตามลำดับ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 ,  = 0.77) องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 ,  = 0.80) องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยนำเข้า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 ,  =0.77) องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66 ,  = 0.75) องค์ประกอบที่ 5 การประเมินรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63 ,  = 0.78) และองค์ประกอบที่ 6 เงื่อนไขความสำเร็จ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64 ,  = 0.75)
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูมีต่อรูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม พบว่า ความพึงพอใจของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65 ,  = 0.73)
4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้โรงเรียนบำเหน็จณรงค์วิทยาคม โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.65 , S.D. = 0.73)