ผู้วิจัย นายมังกร น้อยเมล์
ปี 2566
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการ บริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็น เลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัย พบว่า
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้า วิชาการ และครูปฏิบัติงานวิชาการ รวม จำนวน 40 คน โดยได้องค์ประกอบหลักมี 4 ด้านดังนี้ 1) ด้าน ภาวะผู้นำทางวิชาการ ประกอบด้วยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการการจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การ วางแผนองค์กร กำหนดทิศทางการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาระบบงาน การเป็นผู้นำสถานศึกษา 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และการ ประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการ 3) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาประกอบด้วย กระบวนการวางแผนงานวิชาการ กระบวนการนำแผนงานวิชาการไปสู่การปฏิบัติการตรวจสอบและประเมินผลงานวิชาการ การนำเสนอผลการประเมินเพื่อปรับปรุงงานวิชาการ4) ด้านการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ประกอบด้วย การเตรียมการและการวางแผน ร่วม การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ การนำและการปฏิบัติ การควบคุมและการสะท้อนผล
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ จาก ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ ครูปฏิบัติงานวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ วิชาการรวม จำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยรูปแบบ การบริหารงานวิชาการรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ พบว่า องค์ประกอบหลักทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการใน สถานศึกษา 3) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ด้านการบริหารเพื่อ การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารวิชาการ พบว่า
โดยภาพรวม (µ = 4.65) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีพิจารณารายองค์ประกอบหลัก พบว่า มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.69, 4.67, 4.65 และ 4.59 ตามลำดับ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยภาพรวม (µ = 4.67) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีพิจารณารายองค์ประกอบหลัก พบว่า มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.72, 4.68, 4.68 และ 4.58 ตามลำดับ) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
คู่มือการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตามความความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ และศึกษานิเทศก์ รวม 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พบว่า โดยภาพรวม (µ = 4.63) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ มีพฤติกรรม และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับ บทบาทผู้นำทางวิชาการ และบริบทของสถานศึกษา บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการและขั้นตอนการทำงาน สามารถปฏิบัติ กิจกรรมตามขั้นตอนได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสถานศึกษามีแผนงานวิชาการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นจากทุกกลุ่มสาระการเรียน มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีผลการ ประเมินที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่แท้จริง ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนงานวิชาการ
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการ4 องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ (µ = 4.67 และ 4.52 ตามลำดับ) มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษากับค่าเป้าหมายของการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่สูงกว่าตามค่าเป้าหมาย จํานวน 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกลุ่มวิชาค้นคว้าอิสระ (S) ทั้งนี้ โดยภาพรวมถือว่ามีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
สรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำ ทางวิชาการ 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ด้านกระบวนการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา และ 4) ด้านการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปได้ สามารถนําไปใช้พัฒนาการบริหารงานวิชาการให้เกิดประสิทธิผลต่อไป