ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based
Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้รายงาน : นางอุดมศรี อุตส่าห์
ตำแหน่ง : ครู
ตำแหน่งทางวิชาการ : ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่
จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4/3 โรงเรียนบัวใหญ่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 34 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนรายวิชาเคมี 2) แผนจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ 30 คะแนน 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน และ 5) แบบสอบถาม จิตวิทยาศาสตร์เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ttest (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า CPAAC Model โดยมีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะความสามารถ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจและเชื่อมโยงประสบการณ์พื้นฐาน (Creating interest and connecting basic experiences: C) ขั้นที่ 2 ขั้นเผชิญปัญหาและบ่มเพาะความคิด (Problem Confrontation and Thought Incubation: P) ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์ทางเลือกและค้นหาคำตอบ (Analysis of Alternatives and Investigation for Solution: A) ขั้นที่ 4 ขั้นประยุกต์และปรับแบบแผนการคิด (Application and Reorganizing Pattern of Thought: A) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปและประเมินแบบแผนการคิด (Concluding and Evaluation on Creative Pattern: C) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56) และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนบัวใหญ่ จำนวน 34 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 76.06/75.49 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนบัวใหญ่ จำนวน 34 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 79.59/79.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.4 จิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนรายวิชาเคมีโดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.48)