ชื่อผลงานวิธีหรือแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ(Best Practiec)
การบริหารจัดการเรียนรวมโรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี
ด้วยกระบวนการดำเนินงาน SOOK Model ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA
ชื่อเจ้าของผลงาน นายครองสุข หารไชย ผู้อำนวยการโรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี
เครือข่ายบริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการศีขรภูมิ ๒ สพป.สุรินทร์ เขต ๑
๑. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้ให้ความสำคัญของการศึกษา โดยในมาตรา๕๔ ได้บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ อย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาดังกล่าวข้างต้น เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย(รัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,พิพิธภัณฑ์รัฐสภา ๒๕๖๕)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก่ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มาตรา ๑๐ วรรค ๒ การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒,กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๖๒)
นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย พัฒนาระบบสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามและส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน(นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ,กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๖๖)
นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย พัฒนาระบบสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามและส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน(นโยบายและจุดเน้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๖๖)
นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยมีเป้าหมายสถานศึกษารับนักเรียนเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก(นโยบายและจุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต ๑ ,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๖๖)
จาการดำเนินการจัดการศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๖๖ (๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗) โรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี ได้ดำเนินการคัดกรองนักเรียน พบว่า มีนักเรียนที่มีความบกพร่องทุกรูปแบบ ดังนี้
ตารางที่ ๑ จำนวนนักเรียนพิการและกลุ่มเด็กพิเศษด้านต่าง ๆจำแนกตามประเภทของความพิการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
ชั้น เพศ ประเภทของความพิการ ห้องเรียนร่วมกับเด็กปกติ
๑.ที่มีความบกพร่องทางการเห็น ๒. ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ๓. ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ๔. ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย/สุขภาพ ๕. ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ๖. ที่มีความบกพร่องทางการพูด/ภาษา ๗. ที่มีปัญหาทางพฤติกรรม/อารมณ์ ๘. ออทิสติก ๙. พิการซ้อน รวมทั้งสิ้น
อนุบาล ๒ ชาย - - - - - - - - - - -
หญิง - - - - - - - - - -
อนุบาล ๓ ชาย - - - - - - - - - - -
หญิง - - - - - - - - - -
รวม ชาย - - - - - - - - - - -
หญิง - - - - - - - - - -
ป.๑ ชาย - - - - - - - - - - -
หญิง - - - - - - - - - -
ป.๒ ชาย - - - ๑ 2 - - - - 3 3
หญิง - - - - - - - - - -
ป.๓ ชาย - - - - 2 - - - - ๒ 3
หญิง - - - - 1 - - - - -
ป.๔ ชาย - - - - 1 - - - - 1 2
หญิง - - - - 1 - - - - 1
ป.๕ ชาย - - - - 1 - - - - 1 1
หญิง - - - - - - - - - -
ป.๖ ชาย - - - - ๒ - - - - ๒ 3
หญิง - - - - 1 - - - - 1
รวม ชาย - - - 1 8 - - - - 9 12
หญิง - - - - 3 - - - - 3
รวมทั้งสิ้น ชาย - - - 1 8 - - - - 9 12
หญิง - - - - 3 - - - - 3
ตารางที่ ๒ แสดงรายชื่อนักเรียนพิการและกลุ่มเด็กพิเศษด้านต่าง ๆจำแนกตามประเภทของความพิการ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
ที่ ชื่อ สกุล ชั้น ประเภทความพิการ หมายเหตุ
๑ เด็กชายจิรพัฒน์ สิริรจน์ ป.๒ บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๒ เด็กชายวรวุฒิ แปนแก้ว ป.2 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๓ เด็กชายภานุวัฒน์ จันทร์หอม ป.2 บกพร่องทางด้านสติปัญญา
๔ เด็กหญิงชนิตา แสนรัมย์ ป.3 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๕ เด็กชายสรยุทธ บรรลือทรัพย์ ป.3 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๖ เด็กชายณัฐพงษ์ ดากาวงค์ ป.3 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๗ เด็กชายจารุวัฒน์ สิริรจน์ ป.4 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
๘ เด็กหญิงศิรินทิพย์ เจริญผล ป.4 บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
9 เด็กชายสำเริง งอยตะคุ ป.๕ บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
10 เด็กหญิงภัตตราภรณ์ บุญเพ็ง ป.๖ บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
11 เด็กชายนรากร โอษฐงาม ป.๖ บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
12 เด็กชายสิริชัย สมเผ่าวงศ์ ป.๖ บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
จากการคัดกรองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ (ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖) พบนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔ ของนักเรียนทั้งหมด (ข้อมูล ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖)
โรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี จึงได้พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรวม เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการดำเนิน SOOK MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายพัฒนาการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้รับการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมต่อไป
๒. วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย/เป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ นักเรียนเรียนรวมได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษาตามความต้องการและเหมาะสม
๒.๒ นักเรียนเรียนร่วมมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์หลักสูตรสถานศึกษา
๓. กระบวนการขั้นตอนการดำเนินการ วิธีการและนวัตกรรมที่เป็นเลิศ
กระบวนการดำเนินการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ด้วยกระบวนการดำเนิน SOOK MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
กระบวนการดำเนินงาน SOOK Model ประกอบไปด้วย
S : Starting to plan เริ่มต้นวางแผนโดยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียน จัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ วางระบบการปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนานักเรียนเรียนร่วมโรงเรียนกันจารญ์โคกขลาประชาสามัคคี
O : Opportunity เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทุกคนร่วมตัดสินใจ ร่วมแสดงออกในการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินงาน
O : Organization chart มอบหมายงานให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามความถนัดและมีปริมาณงานเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆเป็นไปอย่างมีคุณภาพและสามารถติดตาม รวมทั้งการนิเทศในห้วงเวลาการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
K : Knowledge ครูและบุคลากรทางการศึกษาสรุปผลงาน ความรู้ที่ได้รับ การแลกเปลี่ยนผลการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อหาแนวทางพัฒนางานต่อไป
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี ดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาติ นำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ
ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA คือ วงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน Plan-Do-Check-Act เป็นกระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) จุดเด่นคือเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำได้เรื่อย ๆ จนกลายเป็น วงจร (Cycle) วนลูปนั่นเอง
P Plan ระบุและวิเคราะห์ปัญหา
เริ่มต้นการวางแผนจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเสียก่อน โดยขั้นตอนนี้ต้องกำหนดให้ครอบคลุมทั้งกระบวนการตั้งแต่เริ่มไปจนถึงสุดสิ้นสุดว่า มีปัญหาอะไรที่จะต้องแก้ไข ใครเป็นผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง กระบวนการค้นหาข้อมูลคืออะไร กระบวนการแก้ไขคืออะไร แล้วทำออกมาเป็นแผนการดำเนินงาน (Action Plan) ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ เรามีคำถามเล็ก ๆ เอาไว้ถามตัวเองก่อนข้ามไปยังขั้นตอนต่อไปว่า...
ปัญหาสำคัญที่จะต้องได้รับการแก้ไขคืออะไร
ทรัพยากรที่ต้องการคืออะไร
ทรัพยากรที่มีอยู่คืออะไร
อะไรคือทางออกที่ดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่
แผนนี้จะสำเร็จด้วยเงื่อนไขอะไรบ้าง
และอะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงที่เราต้องการ
D DO พัฒนาทางออกและดำเนินการตามแผน
หลังจากกำหนดแผนแล้วก็ถึงเวลาที่จะลงมือทำ เพราะเราจะต้องนำแผนดังกล่าวมาใช้จริง ดำเนินการจริง เพื่อให้เห็นผลลัพธ์จริงในขั้นตอนนี้ทุกคนต้องระลึกไว้เสมอว่า การดำเนินการจะเกิดปัญหาอื่นตามมาเสมอ
C Check ประเมินและสรุปผล
เมื่อดำเนินการมาถึงจุดหนึ่งแล้ว เราจะต้องตรวจสอบให้ได้ว่า แผนดังกล่าวมีผลลัพธ์เป็นไปตามตัวชี้วัดที่ต้องการหรือไม่ถ้าประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัด ก็สามารถดำเนินการไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายได้เลย แต่ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ก็ควรนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา แล้วดำเนินการขั้นตอนที่ ๑ ๓ ใหม่จนกว่าจะประสบความสำเร็จหรือผ่านตัวชี้วัดที่กำหนดไว้
A Act ปรับปรุงแก้ไขและวางแผนใหม่ต่อไป
ถ้าการปฏิบัติแผนดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ก็ถึงเวลานำแผนนั้นมาประยุกต์ใช้กับทุกคนองค์กร ผ่านการประกาศ ประชุม อีเมล หรือการจัดการอบรมภายในโรงเรียน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงจนเกิดตามมาตรฐานใหม่
๔. ผลการดำเนินการ
จากการดำเนินงานโดยกระบวนการดำเนินการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ด้วยกระบวนการดำเนิน
SOOK MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายพัฒนาการศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ พบว่า นักเรียนเรียนรวมทั้ง ๑๒ คน ได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษาตามความต้องการและเหมาะสม นักเรียนเรียนร่วมทุกคนมีแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualzed Education Program : IEP) นักเรียนเรียนร่วมทุกคนได้รับการประเมินผลและวัดผลด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยครูประจำชั้น ครูผู้สอน ตามระดับชั้นต่างๆ
รวมทั้งนักเรียนเรียนร่วมมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์หลักสูตรสถานศึกษา ตามเอกสารธุรการชั้นเรียน(ปพ.๕) และนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองจนได้รับรางวัลในระดับต่างๆ ดังนี้
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จการดำเนินการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี ด้วยกระบวนการดำเนิน SOOK MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA มีดังนี้
๑. ความเข้าใจและการยอมรับ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย มีความเข้าใจและยอมรับถึงความหลากหลายของนักเรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพัฒนาการ วัฒนธรรม ศาสนา หรือสภาพทางการเรียน การสร้างบรรยากาศที่เชื่อมโยงและเชิงบวกสำหรับทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับและมีสิทธิ์เข้าถึงการศึกษาได้
๒. การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนเชิงบวก การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจสำหรับทุกคน โดยการให้สถานที่เพียงพอและเหมาะสม การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการเรียนรู้ในการสนับสนุนการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการสร้างความร่วมมือระหว่างนักเรียนทุกคน
๓. การสนับสนุนทางการเรียนและพัฒนาการ การให้การสนับสนุนทางการเรียนที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนทุกคน โดยการใช้กลไกการสอนที่หลากหลายและการให้การสนับสนุนที่เฉพาะเจาะจงต่อความต้องการของนักเรียน
๔. การพัฒนาบทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาความรู้และทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในการทำงานกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และการสร้างบทบาทที่เชื่อมโยงและสร้างสรรค์เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
๕. การสร้างพันธมิตรกับครอบครัวและชุมชน การสร้างความร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน และองค์กรต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน โดยการเสริมสร้างการเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับความต้องการของนักเรียนและการสนับสนุนในทางที่เหมาะสม
การจัดการเรียนรวมที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย เช่น ครู บุคลากรทางการศึกษา ครอบครัว นักเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาของทุกคนในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน
๖. บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมโรงเรียนกันจารย์โคกขลาประชาสามัคคี ด้วยกระบวนการดำเนิน SOOK MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ดังนี้
๑. นักเรียนที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆได้รับการช่วยเหลือทางการการศึกษาที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละบุคคล
๒. นักเรียนได้รับการวัดผลประเมินผลทั้งด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล
๓. นักเรียนเรียนร่วม สามารถเรียนรวมกับนักเรียนที่มีความปกติ รวมทั้งปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ
๔. นักเรียนที่มีความบกพร่องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตนเองในความสามารถเฉพาะความสามารถพิเศษ ที่นักเรียนมีโดยครูที่รับผิดชอบ