บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 2. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะของครูผู้สอน (ค่าความเชื่อมั่น 0.78) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและครูอัตราจ้างในโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 123 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครูอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีม ด้านสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการวัดผลประเมินผลเพื่อพัฒนา ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ด้านการคิดแบบมีวิจารณญาณและคิดแก้ปัญหา ด้านการจัดการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนผ่านกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพระหว่างครูผู้สอนและกับผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำให้กับครูผู้สอน และมีกิจกรรมในการสร้างเสริมกำลังใจในการทำงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับครูและบุคลากร มีแนวทางในการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้กับผู้เรียน ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน และควรมีแนวทางในการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
คำสำคัญ : สมรรถนะครู, สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21, โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ABSTRACT
The Purposes of this research were to study the competencies of teachers in the 21st century and to study guidelines to develop the competencies of teachers at Yupparaj Wittayalai School under Chiang Mai Secondary Educational Service Area Office. The sample groups were 123 teachers. The 13 people who gave information in focus group discussion. Data were analyzed by frequency, percentage mean, standard deviation, and content analysis.
The research results found that, the overall competency of teachers in the 21st century was at a high level. When considering each aspect and sorting the average values from the highest to the lowest, it were found that teachers ethics and professional ethics competency was at a high level, followed by teamwork competency, information technology media competency, measurement and evaluation for development competency, leadership competency, curriculum administration and learning management competency, critical thinking and problem solving competency, learning management with an emphasis of students competency, self-development competency and classroom management competency were at a high level, respectively.
The guidelines for development teacher competencies in the 21st century were that school administrators should have guidelines for development teachers competencies though to process of creation professional learning community between teachers in the same learning group and with educational administrators, should have guidelines for development the leadership and have activities to continually build morals for teachers, should have as a good example personal, should have guidelines development teachers to be able to thinking process skills for students organizing teaching and learning activities, and should have guidelines for development teachers to be able to design learning process and design learning measures and evaluation to be consistent with the 21st century in a concrete way.
Keywords: Teacher Competency, Teacher Competencies in 21st Century, Yupparaj Wittayalai School