รายงานผลงาน/นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เปนเลิศ (Best Practice) ระดับปฐมวัย ประจำปการศึกษา 2566
ชื่อผลงาน/นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เปนเลิศ (Best Practice) ระดับปฐมวัย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย
ด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (การสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ)
ผูจัดทำ นางสาวนภาพร ประเสริฐพรศรี
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน บ้านโพธิ์สวัสดิ์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
จุดประสงคและเปาหมายของการดําเนินงาน
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง ได้รับจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (การสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ)
กระบวนการหรือขั้นตอนการดําเนินงาน
ในการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก
ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ (การสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ)
โรงเรียนบ้านโพธิ์สวัสดิ์ ครั้งนี้ มีกระบวนการหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อมัดเล็ก
2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
3 ศึกษากระบวนการแผนการดำเนินงาน PDCA
4 สร้างและพัฒนานวัตกรรม คู่มือการตัดกระดาษโดยใช้กรรไกร
5 สร้างและพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์รายวัน (กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์) จำนวน 5 สัปดาห์ ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมด้วยนวัตกรรมคู่มือการตัดกระดาษโดยใช้กรรไกร
6 สร้างและพัฒนาแบบประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย เพื่อใช้บันทึกพฤติกรรมเด็กปฐมวัย เป็นรายบุคคล 7 วิเคราะห์คะแนนรายบุคคล จากแบบประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กปฐมวัย
ผลการดําเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชนที่จะไดรับ
1 ผลการดำเนินการ แสดงการเปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมการสร้างภาพฉีก ตัด ปะกระดาษ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เด็กมีคะแนนรวมของผลการประเมินก่อนการจัดกิจกรรม เท่ากับ 103 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 52.82 และหลังการสร้างภาพฉีก ตัด ปะกระดาษ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เด็กมีคะแนนรวมของผลการประเมินหลังการจัดกิจกรรม เท่ากับ 163 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.59และมีผลความก้าวหน้ารวม เท่ากับ 60 คะแนน คิดเป็นร้อยละความก้าวหน้า 30.77
2 ประโยชน์ที่ได้จากผลการดำเนินงานข้างต้น พบว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 13 คน สามารถปฏิบัติกิจกรรมสร้างภาพด้วยการฉีก ตัด ปะกระดาษ ร่วมกับเพื่อน เป็นกลุ่มได้อย่างมีความสุข กล้ามเนื้อมัดเล็กการประสานสัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กันในการตัดกระดาษตามแบบรูปที่กำหนดและการตัดกระดาษอย่างอิสระตามจินตนาการ มีทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ตามวัย และยังส่งผลให้ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรม