ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสาวไพรินทร์ มีทอง
โรงเรียนบางลายพิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ปี พ.ศ. 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบางลายพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน ประกอบด้วยนักเรียน เก่ง อ่อน ปานกลาง คละกันทั้งนักเรียนชายและหญิง ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของนักเรียนส่วนใหญ่ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ22101 หน่วยการเรียนรู้ ที่ 8 เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์และการแสดงนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ22101 เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านนาฏศิลป์ และการแสดงนาฏศิลป์ไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบทักษะปฏิบัติ การประดิษฐ์ท่ารำ รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) แบบประเมินรูปแบบหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติ หรือทำงานที่ต้องอาศัยการเคลื่อนไหวหรือการประสานงานของกล้ามเนื้อทั้งหลายได้อย่างดีมีความถูกต้องและมีความชำนาญและผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบผู้เรียนจะสามารถกระทำหรือแสดงออกอย่างคล่องแคล่ว ชำนาญในสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนทำได้นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความอดทนให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนด้วย
2. รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีชื่อเรียกว่า SDLTL Model ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1) หลักการ 2 วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) สิ่งสนับสนุน 7) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ 8) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ขั้นสาธิตทักษะหรือ การกระทำ (Skill demonstration: S) ขั้นที่ 2 ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย (Demonstrate and have students practice sub-skills: D) ขั้นที่ 3 ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย (Think, Pair) (learners practice sub-skills: L) ขั้นที่ 4 ขั้นให้เทคนิควิธีการ(Technique: T) ขั้นที่ 5 ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อย ๆ เป็นทักษะที่สมบูรณ์ (Share) (Link sub-skills: L) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ ตั้งแต่ 0.80-1.00 และ ( x-ber = 4.77, S.D. = 0.39) ซึ่งมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันและผลการหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.70/81.94 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถด้านทักษะปฏิบัติการประดิษฐ์ท่ารำของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( x-ber = 4.09, S.D. = 0.82) และผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบางลายพิทยาคมมีต่อการเรียนรู้ วิชานาฏศิลป์ตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( x-ber = 4.03, S.D.= 1.11)