ชื่อผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวไพรินทร์ มีทอง
โรงเรียนบางลายพิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
ปี พ.ศ. 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบางลายพิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม แบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 เรื่อง ความรู้พื้นฐานและการแสดงนาฏศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน คือ สถิติทดสอบ t test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.61/81.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก รายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ21101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความพึงพอใจรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( x-ber= 4.09, S.D. = 1.02) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากเป็นลำดับที่หนึ่ง (x-ber = 4.25, S.D. = 0.92) รองลงมา ด้านสื่อการเรียนการสอน ( x-ber= 4.19, S.D. = 0.93) เป็นลำดับสอง ด้านเนื้อหา (x-ber = 4.05, S.D. = 1.06) เป็นลำดับที่สาม และด้านเครื่องมือวัดและประเมินผล
( x-ber= 3.89, S.D. = 1.20) เป็นลำดับสุดท้าย