ผู้ประเมิน นางกิตติมา สุขมา
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพระพุทธบาท
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท โดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผู้ให้ข้อมูลประกอบไปด้วย ด้านบริบท ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 1 คน หัวหน้างาน จำนวน 4 คน และครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 7 คน รวมจำนวน 13 คน ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาทจำนวน 62 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยกำหนดคุณสมบัติเป็นครูที่มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ด้านผลผลิต ประกอบด้วยประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการได้แก่ ผู้บริหาร ครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท จำนวน 62 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 222 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ผู้ให้ข้อมูลพฤติกรรมบ่งชี้ตามคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท จำนวน 60 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 222 คน ผู้ให้ข้อมูลความพึงพอใจต่อโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท จำนวน 62 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 222 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ด้านบริบท มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 แบบสอบถามฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.601.00 กิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิ ตอนพักกลางวันก่อนเข้าห้องเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.601.00 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมจากพระวิทยากรและตำรวจ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.601.00 กิจกรรมครูพระสอนนักเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.601.00 แบบสอบถามฉบับที่ 4 ด้านผลิต ประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.801.00 พฤติกรรมบ่งชี้ตามคุณธรรม จริยธรรมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.601.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 และความพึงพอใจต่อโครงการ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท มีความเหมาะสมและสอดคล้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.81, S.D. = 0.52) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ สื่อและอุปกรณ์ การบริหารจัดการ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.05, S.D. = 0.57) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ด้านกระบวนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท ประกอบด้วย 1.กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษา (x̄ = 3.88, S.D. = 0.59) กิจกรรมสวดมนต์ นั่งสมาธิ ตอนพักกลางวันก่อนเข้าห้องเรียน (x̄ = 3.93, S.D. = 0.61) กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม จากพระวิทยากรและตำรวจ (x̄ = 3.90, S.D. = 0.62)กิจกรรมครูพระสอนนักเรียน (x̄ = 3.92, S.D. = 0.61) โดยทุกกิจกรรมภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ด้านผลผลิต ประกอบด้วยผลสัมฤทธิ์ของโครงการภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.83, S.D. = 0.64) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการประเมินพฤติกรรมบ่งชี้ตามคุณธรรม จริยธรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.92, S.D. = 0.67) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และความพึงพอใจต่อโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.89, S.D. = 0.68) ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกด้าน ดังนั้นถือได้ว่าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินโครงการต่อไป
คำสำคัญ : การประเมินโครงการ , คุณธรรมจริยธรรม , โรงเรียนเทศบาลพระพุทธบาท