ความเป็นมา และความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรม
สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในประเทศไทย พบว่า กลุ่มผู้ค้าเพิ่มปริมาณยาเสพติจำนวนมาก
เพื่อทุ่มตลาดกระตุ้นความต้องการของผู้เสพให้คงอยู่ ราคาที่ถูกลงเป็นปัจจัยเสริมให้กลุ่มผู้เสพเข้าถึงยาเสพติด
ได้ง่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การติดต่อสื่อสารเป็นช่องทางติดต่อค้าขายยาเสพติดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น การใช้ Facebook, Line, Twitter โดยช่องทางที่พบมากที่สุด คือ Twitter รองลงมาคือ Facebook ส่งผลให้การค้ายาเสติดขยายวงกว้าง ซึ่งกลุ่มผู้เสพยาเสพติดส่วนใหญ่มีอายุ ๑๕ - ๒๔ ปี คิดเป็นร้อยละ ๓๖ หรือมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของผู้เสพทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีงานทำ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานและรับจ้างมากที่สุด ยาเสพติดที่มีการใช้มากที่สุด คือ ยาบ้า ร้อยละ ๗๔.๔ รองลงมาคือกัญชา ร้อยละ ๕.๙ และไอซ์ ร้อยละ 5.7 ยาเสพติดที่ต้องมีเฝ้าระวัง คือ ไอซ์ เฮโรอีน คีตามีน เอ็กซ์ตาซี และกัญชา (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๓) ปัญหายาเสพติดเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสังคม ดำรงอยู่ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการแพร่ระบาดของยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการใช้ยาเสพติด ก้าวเข้าสู่วัยรุ่นเป็นช่วงการปรับตัว มีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนทำให้มีความอยากรู้อยากลอง เมื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สมองจะถูกทำลายส่งผลถึงการเรียน และอาจชักชวนเพื่อนให้มายุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ส่งผลให้ปัญหายาเสพติดทวีความรุนแรงมากขึ้น จากสถานการณ์ สภาพแวดล้อมของสังคมปัจจุบันเห็นได้ว่า พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหายาเสพติด การสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร การพนัน การทะเลาะวิวาท โดยสาเหตุสำคัญมาจากปัญหาครอบครัว ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นอบายมุข สิ่งยั่วยุ และการใช้ความรุนแรงในสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และผู้เกี่ยวข้องอีกมากมายนอกจากนี้ เด็กและเยาวชนที่ขาดความตระหนักรู้ การปลูกฝังความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ทักษะการคิดวิเคราะห์ ขาดเหตุผลในการแก้ไขปัญหา และไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม จะเป็นปัญหาคุณภาพชีวิตของคนไทยในอนาคต (กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2564) อย่างที่ทราบกันดีคือปัญหาของยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดเข้าไปสู่สถานศึกษาอย่างหนัก ขณะที่ความคาดหวังของประเทศชาติ ชุมชน ครอบครัวและโรงเรียนต้องการให้เด็ก และเยาวชนเป็นคนดี มีทักษะชีวิต คือ คิดวิเคราะห์ มีสติในการมีชีวิตอยู่รอดในสังคม มีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส ตั้งใจเรียนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่สร้างปัญหาให้สังคม เติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติเพราะสถานศึกษาซึ่งนับว่าเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนที่ยาวนาน เป็นแหล่งหล่อหลอมคนให้เป็นคนในส่วนผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่และช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ รวมไปถึงสิ่งสำคัญอีกอย่างคือทักษะชีวิตซึ่งไม่มีในตำราเรียน (เชิดพงษ์ งอกนาวัง และทัชชัวัฒน์ เหล่าสุวรรณ, 2562)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมีความมุ่งหมายตามมาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2542) กระทรวงศึกษาธิการได้มอบนโยบายการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สอดคล้องตามแนวคิดการจัดการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดวิสัยทัศน์ (Vsion) ว่า "คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่ามีคุณภาพดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของ โลกศตวรรษที่ ๒๑" โดยการมีส่วนร่วมบูรณาการการทำงาน ส่งเสริมสนับสนุน ป้องกัน และช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ อกชน ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน และทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบจากแหล่งอบายมุข (กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2564) กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยงไม่ให้เข้า ไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จักวิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติด และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจน ดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ไป เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหาร องค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษาดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและ อบายมุข (กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) การพัฒนานักเรียน/นักศึกษา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นคนดี มีวินัย มีทักษะความสามารถในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ห่างไกลจากยาเสพติด สารเสพติด สื่อลามกอนาจาร การพนัน การทะเลาะวิวาท ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติ กระทรวงศึกษาธิการตระหนักในปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินงานโครงการสถนศึกษาสีขาว ปลอดยา เสพติดและอบายมุข ซึ่งเป็นรูปแบบของการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาพฤติกรรมไม่พึงประสงค์แบบองค์รวมในสถานศึกษา โดยเริ่มจาก "กิจกรรมห้องเรียนสีขาว" ดำเนินการโดยนักเรียน แกนนำ/นักศึกษาแกนนำ 4 ฝ้าย ได้แก่ ฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน ฝ่ายสารวัตรนักเรียน ฝ่ายกิจกรรม และพัฒนาสู่ "โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข " ภายใต้ยุทธศาสตร์ ๕ มาตรการ ได้แก่ มาตรการด้านการป้องกัน มาตรการด้านการค้นหา มาตรการด้านการรักษา มาตรการด้านการเฝ้าระวัง มาตรการด้านการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ "4 ต้อง ๒ ไม่" โดย ๔ ต้อง คือต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย และ ๒ ไม่ คือ ไม่ปกปิดข้อมูล ไม่ไล่นักเรียน/นักศึกษาออก โดยบูรณาการความร่วมมือและประสานงานของผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเรียนแกนนำ/นักศึกษาแกนนำ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่เข้มเข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืน (กองส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการศึกษาในภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2564)
โรงเรียนหนองไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นอีกพื้นที่ที่มีการพบเจอเรื่องของปัญหายาเสพติดอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากโรงเรียนหนองไผ่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นโรงเรียนแข่งขันสูงที่มีนักเรียนจากอำเภอใกล้เคียงเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก หลากหลายท้องที่และชุมชมรวมทั้งมีความแตกต่างกันทางด้านสังคมและวิถีชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนพบปัญหาเรื่องยาเสพติด บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ ดังนั้นทางโรงเรียนหนองไผ่จึงการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนหนองไผ่ ด้วยนวัตกรรม KPCP Model. เพื่อให้นักเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นคนดี มีวิชา กีฬาเก่ง เคร่งนัย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขห่างไกลจากยาเสพติดและสารเสพติด และโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1. วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1.1 เพื่อสร้างนวัตกรรม KPCP Model. โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข
๑.๒ เพื่อใช้นวัตกรรม KPCP Model. บริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบองค์รวม
2. เป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
2.1.1 นักเรียน ร้อยละ 90 มีส่วนร่วม และดำเนินกิจกรรมกองพันชมพูฟ้า
๒.๑.๒ นักเรียน ร้อยละ ๙๐ มีส่วนร่วมและขับเคลื่อนตามมาตรการป้องกัน
๒.๑.๓ นักเรียน ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการคัดกรอง ดูแล และติดตามตามมาตรการด้านการค้นหา
๒.๑.๔ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการดูแลช่วยเหลือตามมาตราด้านการรักษา
๒.๑.๕ โรงเรียนสร้างช่องทางรับเรื่องร้องเรียนหรือข้อมูลข่าวสาร และสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเฝ้าระวังปัญหาตามมาตรการเฝ้าระวัง
๒.๑.๖ โรงเรียนสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ได้แก่ นักเรียนแกนนำห้องเรียนสีขาว / Gen Z /กองพันชมพูฟ้า /สภานักเรียน /ปปช.สพฐ.น้อย/ นักเรียนแกนนำ ยสร.
๒.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
2.2.1 นักเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นคนดี มีวิชา กีฬาเก่ง เคร่งนัย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขห่างไกลจากยาเสพติดและสารเสพติด
2.2.2 โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 สร้างนวัตกรรม KPCP Model. โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข
ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของโรงเรียนหนองไผ่
1.1 สภาพบริบทของโรงเรียน
ขั้นที่ 2 ออกแบบนวัตกรรม
ขั้นที่ 3 สร้างนวัตกรรม และตรวจสอบนวัตกรรม
K : Kongpan Chompafah (กองพันชมพูฟ้า)
เอกลักษณ์ของโรงเรียน : กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อป้องกันยาเสพติด การสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สื่อลามกอนาจาร การพนัน การทะเลาะวิวาท
P : Policy (การขับเคลื่อนนโยบาย)
นโยบาย : รวมพลังร่วมใจให้หนองไผ่เป็นหนึ่ง ไม่พี่งยาเสพติด
 ยุทธศาสตร์ 5 มาตรการ ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการค้นหา ด้านการรักษา ด้านการเฝ้าระวัง และด้านการบริหารจัดการ
 กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ได้แก่ ต้องมียุทธศาสตร์ ต้องมีแผนงาน ต้องมีระบบข้อมูล ต้องมีเครือข่าย ไม่ปกปิดข้อมูล ไม่ไล่นักเรียนออก
C : Cleanliness (สร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม)
 ห้องเรียนสีขาว กลยุทธ์ดำเนินการ 4 ด้านแหล่งเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อคุณธรรม และสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรม
 สภาพแวดล้อมสะอาด น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และปลอดภัย
P : Participation (เครือข่ายความร่วมมือ)
 เครือข่ายภายใน : แกนนำห้องเรียนสีขาว /Gen Z /สภานักเรียน /ปปช.สพฐ.น้อย/ชมรม To be number one /นักเรียนแกนนำ ยสร./ชมรม RSC
 เครือข่ายภายนอก : อปท. / ผู้ปกครองนักเรียน / สาธารณสุข/ชุมชน ท้องถิ่น/สถานีตำรวจ/สถานศึกษา
ขั้นที่ 4 ทดลองใช้ ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมทางการศึกษา KPCP Model. บริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบองค์รวม ไปทดลองใช้ในสถานศึกษา ตลอดปีการศึกษา เพื่อบริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข แบบองค์รวม
ขั้นที่ 5 สะท้อนผล สรุป และรายงานผล
การสะท้อนผล (ร.3 เร่งรัด ตาม 4 ร.รุ่งโรจน์ Model.) การดำเนินการของนวัตกรรมทางการศึกษาจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้นวัตกรรม KPCP Model. บริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบองค์รวม จำนวน 10 ท่าน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน หัวหน้างานกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน หัวหน้างานยาเสพติด และหัวหน้าระดับชั้น จำนวน 6 คน โดยที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่านวัตกรรม KPCP Model. มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สามารถบริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบองค์รวมของโรงเรียนหนองไผ่ บรรลุตามเป้าหมายของการดำเนินการ และเห็นควรดำเนินการต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป
สรุป และรายงานผลดำเนินการ (ร.4 เรียบร้อย ตาม 4 ร.รุ่งโรจน์ Model.) การใช้นวัตกรรมทางการศึกษา KPCP Model. บริหารจัดการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุขแบบองค์รวม โดยงานยาเสพติด และคณะดำเนินการต่อสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด
ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ /ประโยชน์ที่ได้รับ
รูปแบบการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนหนองไผ่ ด้วยนวัตกรรม KPCP Model. เกิดผลสำเร็จของการดำเนินงาน เป็นนวัตกรรมสร้างคุณค่าและประโยชน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ดังนี้
1. นักเรียนเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นคนดี มีวิชา กีฬาเก่ง เคร่งนัย สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขห่างไกลจากยาเสพติดและสารเสพติด
๒. นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยมีอัตลักษณ์นักเรียน ความมีวินัย
๓. นักเรียนสร้างเครือข่ายขับเคลื่อนสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ได้แก่ นักเรียนแกนนำห้องเรียนสีขาว / Gen Z /กองพันชมพูฟ้า /สภานักเรียน /ปปช.สพฐ.น้อย/ นักเรียนแกนนำ ยสร.
๔. โรงเรียนสร้างและใช้นวัตกรรมรูปแบบการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนหนองไผ่ ด้วยนวัตกรรม KPCP Model. เป็นรูปธรรม แบบองค์รวม
๕. โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข
๖. ชุมชน ท้องถิ่นให้ความเชื่อมั่น และเป็นเครือข่ายความร่วมมือดำเนินการตามมาตรการเพื่อขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนหนองไผ่