บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ประจำปีการศึกษา 2565
ชื่อผู้จัดทำ นายสุภรัตน์ อินทรสมบูรณ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ประจำปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ประเมินสภาวะแวดล้อม (Context evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Product evaluation) 5) ประเมินผลกระทบ (Impact evaluation) 6) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) 7) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation) และ
8) ประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability evaluation) ของการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
ประจำปีการศึกษา 2565
การประเมินโครงการในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินแบบ CIPPEST Model กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู
และพนักงาน คณะกรรมการสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองทุกระดับชั้น ตัวแทนนักเรียนทุกระดับชั้น และตัวแทนสมาชิกในชุมชนรวมจำนวนทั้งสิ้น 150 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( I ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สรุปผล
การประเมินได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ประจำปีการศึกษา 2565 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านผลกระทบ ด้านผลผลิต และด้านประสิทธิผล
2. การประเมินสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) หลักการและเหตุผลของการประเมินโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน 2) วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ และ
3) วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน
3. การประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) ผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจความสามารถเหมาะสม 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการจนแล้วเสร็จ และ 3) ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม
4. การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ 1) กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2 มีการชี้แจงและรายงานผลการประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง 3 มีการให้ความรู้ประชุมชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
5. การประเมินผลผลิต ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ กล่าวคือ 1) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำให้มีภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่ เหมาะสมกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำให้มีทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทำให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. การประเมินด้านผลกระทบ ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ กล่าวคือ 1) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่) ทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ทรัพยากรทางการศึกษา) ทำให้มีเพียงพอและเหมาะสมกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ทำให้มีบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนส่งผลให้ผู้ปกครองและชุมชนเกิดความเชื่อมั่นและไว้วางใจส่งบุตรหลานไว้ให้โรงเรียนดูแล
7. การประเมินด้านประสิทธิผล ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ กล่าวคือ1) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ภูมิทัศน์ อาคาร สถานที่) ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ทรัพยากรทางการศึกษา) ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วผู้ปกครองและชุมชนได้รับประโยชน์จากจากการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
8. การประเมินด้านความยั่งยืน ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ กล่าวคือ1) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ และทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (ทรัพยากรทางการศึกษา) ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ และทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน มีผู้รับผิดชอบดูแลอย่างต่อเนื่อง และ 3) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้วการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ และทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการบรรจุในแผนงานประจำปีของโรงเรียน และประสานงานกับชุมชนเพื่อช่วยกันดูแลและใช้ประโชน์อย่าง
ต่อเนื่อง
9. การประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ ผลการประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ กล่าวคือ 1) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้ประเมินโครงการมีการเผยแพร่ความรู้ในการดำเนินงานในเชิงวิชาการ 2) หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว มีการประชุมจัดทำ PLC เพื่อถ่ายโยงความรู้ในการดำเนินงานในโรงเรียน และ 3 หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้นแล้ว มีการประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ ดูแลรักษา และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง