บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร มีวัตถุประสงค์ของวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบางลายพิทยาคม อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2 รหัส 20204 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ 2 รหัส 20204 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 15 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือกตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ ลักษณะข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือกตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ 0 คะแนน 5) แบบประเมินรูปแบบหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในการส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง โดยผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาท จากผู้ให้ความรู้ มาเป็นผู้ที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คอยให้คำแนะนำเมื่อผู้เรียนประสบปัญหากระตุ้นให้ผู้เรียนปฏิบัติงานในกลุ่ม ในการที่จะคิดพิจารณาประเด็นคำถามและสนับสนุนด้วยการแนะนำให้พวกเขาต่อสู้กับปัญหาและกระตุ้นให้เกิดความท้าทาย ดังนั้นจึงเป็นแนวคิด ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมและฝึกฝนให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า 7S MODEL มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนการสอน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) สิ่งสนับสนุน 7) เงื่อนไขของการนำรูปแบบไปใช้ 8) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ กระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 กระตุ้นให้คิด (Stimulus: S) ขั้นที่ 2 ดุลพินิจเลือกเฟ้น (Selecting: S) ขั้นที่ 3 สืบค้นประเด็นที่เกี่ยวข้อง (Searching: S) ขั้นที่ 4 ศึกษาตรึกตรองจนถ้วนถี่ (Studying: S) ขั้นที่ 5 สรุปสิ่งที่เรียน (Summarizing: S) ขั้นที่ 6 นำผลงานสู่สังคม (Sharing and Showing: S and S) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนในกลุ่มภาคสนาม จำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร พบว่า
4.1 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนว คอนสตรัคชั่นนิสซึม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางลายพิทยาคม จังหวัดพิจิตร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = 1.04)
4.2 ผลของการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบางลายพิทยาคม ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์ตามแนวคอนสตรัคชั่นนิสซึม พบว่า ความพึงพอใจ รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.00, S.D. = 1.08)