บทสรุป
การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียน 0 ร มส และ มผ โดยใช้ SAENSUK MODEL มีจุดเด่นที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาและเป็นแบบอย่างได้ โดยสรุปดังนี้
S : scheme หมายถึง การวางแผนการดำเนินการแก้ 0 ร มส และ มผ ตามโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
A : Activity หมายถึง กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อดำเนินการ กำกับ ติดตาม การแก้ 0 ร มส และ มผ
ตามโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศและพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ดังนี้
1. ครูที่ปรึกษาจัดทำรายงานสรุปการมาเรียนของนักเรียนเพื่อสำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีแนวโน้มมีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 เพื่อติดตามนักเรียนที่อาจมีปัญหาหมดสิทธิ์สอบ และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการ
เก็บคะแนนรายจุดประสงค์ในแต่ละรายวิชา
2. ครูที่ปรึกษาติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคลจากการเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยการสัมภาษณ์นักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงการเยี่ยมบ้านเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถมาเรียน ได้ตามปกติ
3. โรงเรียนดูแลนักเรียนกลุ่มเสี่ยงด้วยการให้นักเรียนเลือกครูที่ปรึกษาที่กลุ่มนักเรียนยินดี
ขอคำปรึกษา และให้ครูให้คำปรึกษา ดูแล ติดตามช่วยเหลือนักเรียน และเลือกคู่ Buddy (เพื่อนช่วยเพื่อน) เพื่อคอยให้คำแนะนำในการติดตามภาระงานรายวิชา โดยใช้แบบบันทึกการติดตามช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กำกับติดตามผลการดำเนินงานช่วยเหลือนักเรียน
4. โรงเรียนจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อทำข้อตกลงความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : MOU) ระหว่าง นักเรียน ครูที่ปรึกษา และผู้ปกครองในการติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียน
5. เมื่อนักเรียนได้รับการติดตามช่วยเหลือจนมีเวลาเรียนและคะแนนเก็บรายจุดประสงค์ในแต่ละรายวิชาเพียงพอ นักเรียนก็สามารถสอบวัดผลปลายภาคได้ตามปกติ
E : Evaluation หมายถึง การวัดผล ประเมินผลตามระเบียบวิธีการ แนวทาง / ระเบียบการแก้ 0 ร มส และ มผ ระเบียบสถานศึกษา ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนแสนสุข พ.ศ. 2565
หากนักเรียนไม่สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการดูแล ติดตามช่วยเหลือ นักเรียนต้องลงทะเบียน / ยื่นคำร้องขอมีสิทธิ์สอบ ตามระเบียบการวัดผลและประเมินผล
N : network หมายถึง การสร้างเครือข่ายระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในการร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ทั้งครูที่ปรึกษารวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรายวิชา วิเคราะห์ปัญหา
ของนักเรียนเป็นรายบุคคล ประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อร่วมกันดูแล ครูผู้สอนให้ความร่วมมือในการปรับวิธีการสอนซ่อมเสริมและวิธีการแก้ปัญหาผลการเรียนโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง มีการใช้วิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยผู้บริหารเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม จึงทำให้การแก้ไขปัญหา 0 ร มส ประสบความสำเร็จ
S : Support : หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ให้คำนึงถึงนักเรียนเป็นสำคัญและความแตกต่างของนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการวัดผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
ที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา เรียนจบหลักสูตร
ได้วุฒิทางการศึกษา เพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต
U : Understanding หมายถึง ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับติดตามแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียน 0 ร มส และ มผ โดยการบันทึกผลสอบแก้ตัวผ่านระบบ google forms
K : knowledge หมายถึง การสร้างองค์ความรู้ให้ครูผู้สอนในการดำเนินการกำกับ ติดตาม การแก้ 0 ร มส และ มผ โดยติดตามผ่าน google from