ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนานักเรียน ตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ โดยใช้การประเมิน CIPPI MODEL
ผู้ศึกษา นายพายุ วรรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2566
บทคัดย่อ
รายงานประเมินโครงการนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนานักเรียน ตามรอยพ่อ น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่โรงเรียนเมืองสมเด็จ สังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบ โดยใช้การประเมิน CIPPI Model 2. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างในการประเมิน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 37 คน นักเรียน จำนวน 217 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 217 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ในปีการศึกษา 2565
เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ฉบับที่ 1 สำหรับประเมินด้านบริบท ฉบับที่ 2 สำหรับประเมินปัจจัยนำเข้า ฉบับที่ 3 สำหรับประเมินกระบวนการ ฉบับที่ 4 สำหรับประเมินผลผลิต ฉบับที่ 5 สำหรับประเมินความพึงพอใจ และฉบับที่ 6 สำหรับประเมินผลกระทบและแบบทดสอบ วัดความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า มีความเห็นว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือโครงการมีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินงานของโรงเรียนโดยได้กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียน รองลงมาคือ กิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ มีความชัดเจน และสอดคล้องกับวัตถุประสงคของโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ด้านปัจจัยนำเข้าเข้า พบว่า 2.1 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายขอพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารและครูผุ้รับผิดชอบโครงการมีความพร้อมในการดำเนินโครงการและบุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ รองลงมาคือระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสม ส่วนข้อที่มี ค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ควรปรับปรุงคือ มีคู่มือดำเนินโครงการ วัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีเพียงพอ 2.2 ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าจากผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนเข้าร่วมโครงการโดยการทดสอบความรู้ก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.86 คะแนน
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวางแผนการดำเนินโครงการสู่การปฏิบัติ รองลงมาคือจัดกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ และผู้บริหารมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามโครงการอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง ส่วนข้อ ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่ควรปรับปรุงคือโรงเรียนมีการขยายผล/เผยแพร่ลงสู่ชุมชน
4. ด้านผลผลิต พบว่า 4.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังดําเนินโครงการมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ 4.2 ผลการประเมินผลผลิตของ 10 กิจกรรมในภาพรวมผลการประเมินผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
5. ผลการประเมินผลกระทบ 5.1 การประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการ พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สามารถเลือกแนวทางและการปฏิบัติงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างเหมาะสม รองลงมาคือสามารถนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการทํางานและส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือสามารถนําไปประยุกต์ใชในการปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 5.2 การประเมิน ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
6. แนวทางพัฒนาโครงการ พบว่า ข้อเสนอแนะด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านบุคลากร มีบุคลากรบางท่านที่ย้ายมาใหม่ โรงเรียนควรจะให้การอบรมและให้ความรู้เพิ่มเติมถึง แนวทางการดำเนินการของโครงการ ด้านงบประมาณ ให้โรงเรียนสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อของบประมาณมาสนับสนุนโครงการให้เพิ่มมากขึ้น จะได้เพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้น ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ควรมีการปรับปรุงให้มีความพร้อมต่อการใช้งาน ด้านกระบวนการของโครงการ อยากให้ดำเนินโครงการต่อคิดเป็นร้อยละ 100 ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น กิจกรรมในโครงการอยากให้มีการจัดทำคู่มือเป็นเอกสารให้บุคคลผู้มีส่วนร่วมทุกคน และคู่มือต้องมีขั้นตอนในการอธิบาย ใหน้อยแต่เน้นให้เข้าใจง่ายสอน ด้านผลผลิตของโครงการ แต่ละกิจกรรมควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ให้มากที่สุดและควรคิดหากิจกรรมเพิ่มขึ้นอีก ด้านผลกระทบของโครงการ โรงเรียนควรให้นักเรียน นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มาก และควรให้ผู้เรียนเห็นประโยชน์และความสำคัญในการเอาความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สรุปได้ว่า โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจึงสมควรดำเนินการโครงการต่อเนื่องต่อไป