ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านมีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1
(แตงอ่อนเผดิมวิทยา)
ชื่อผู้วิจัย นางสาวปิยะนาถ ศรีใย
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2566
บทสรุปผู้บริหารสถานศึกษา
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ปีการศึกษา 2566 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนาเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจานวนทั้งสิ้น 2,679 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,300 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จำนวน 70 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จำนวน 1,300 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 661 คน ประกอบด้วย นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 297 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จำนวน 59 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จำนวน 297 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 3 ฉบับ รวม จำนวน 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับปานกลาง
2.2 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต มีตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน 8 ตัวชี้วัด
4.1 ความรู้เรื่องความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้เรื่องความมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 นักเรียนมีวินัย พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีวินัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 นักเรียนใฝ่เรียนรู้ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีวินัยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 นักเรียนมีความพอเพียง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความพอเพียงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.5 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของครู พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4.8 ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากร ผ่านเกณฑ์การประเมินเพียงระดับปานกลาง เท่านั้น จึงควรมีการชี้แจงสร้างความตระหนักให้ครูผู้รับผิดชอบให้สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย จัดหาบุคลากรให้เพียงพอต่อกิจกรรมโดยเชิญวิทยากรท้องถิ่นมีส่วนร่วม ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน โดยจัดกลุ่มครูที่มีประสบการณ์รวมกับครูบรรจุ