ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัย นางสาลี่ เชิดชู ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียน รู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 4. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง โดยใช้กรอบแนวคิดการวิจัย และพัฒนา (Research and Development (R & D)) ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน โดยการสอบถามผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Develop: D&D) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implement : l) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ครูโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงจำนวน 11 คน และนักเรียน จำนวน 125 คน โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง แบบประเมินความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้เป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X-ิbar ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงสรุปผลได้ ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบในทุกขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบ องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบประกอบด้วย6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) ความมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เนื้อหาสาระของรูปแบบ
4) กิจกรรมของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เอกสารประกอบรูปแบบ (คู่มือการใช้รูปแบบ) และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3) ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือกัน
2.2 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่าโดยรวม รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( X = 4.59, S.D. = 0.49) สามารถนำไปใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า ภายหลังการเข้ารับการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการทดลองใช้หลักสูตร สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.14 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า
4.1 ผลการพัฒนาหลังการเข้ารับการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.73
4.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ระหว่าง ก่อน และหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า ความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 88.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
4.4 ผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้