ชื่อผู้ประเมิน นางสาวรุจิเรศ ชุมนาคราช ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่รายงาน 2566
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อประเมิน ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 102 คน ซึ่งเป็นประชากร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 102 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการศึกษา จำนวน 3 คน (ไม่รวมผู้ประเมิน) และครูผู้สอน จำนวน 98 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินโครงการ
ผลการประเมินโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมา คือ ด้านโครงสร้างของโครงการ ด้านการนิเทศภายนอก และด้านโครงสร้างการนิเทศภายใน ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.19) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านงบประมาณ ด้านการวางแผน ด้านบุคลากร) และด้านอาคารสถานที่ ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านกระบวนการและกิจกรรมการนิเทศ ด้านการบริหารกระบวนการนิเทศและด้านการประเมินผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อนักเรียน รองลงมา คือ ด้านผลผลิตที่มีต่อผู้บริหาร และด้านผลผลิตที่มีต่อครูผู้สอน ตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการนิเทศการเรียนการสอนของโรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.21) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้