ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ สังกัดเทศบาลตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย นางเมษา แก้วเสน
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ สังกัดเทศบาลตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ปีที่พิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช 2566
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ สังกัดเทศบาลตำบลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมิน 1) ด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ รู้ รับ ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ จำนวน 7 คน (ในส่วนที่ไม่ใช่ผู้บริหารโรงเรียนและตัวแทนครู) และนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านหูแร่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 53 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาล
บ้านหูแร่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินได้แก่แบบสอบถาม 5 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 ประเมินบริบท (Context Evaluation) โดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ชุดที่ 2 ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) โดยครู ชุดที่ 3 ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ (Process Evaluation) โดยครูและนักเรียน ชุดที่ 4 และชุดที่ 5 ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการโดยครู.สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (1) ข้อมูลเชิงคุณภาพและข้อมูลจากการประเมินรายงานโครงการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) (2) ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test แบบ Dependent ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สรุปผลการประเมินโครงการได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและครูมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกข้อผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมิน ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวม ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ(Process Evaluation) พบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวม ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่าการประเมินนักเรียน 3 ด้าน ประกอบด้วย
(1) ผลสัมฤทธิ์ความรู้เกี่ยวกับแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน
(2) การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล
ด้านภูมิคุ้มกันที่ด้านเงื่อนไขความรู้ และด้านเงื่อนไขคุณธรรมในทุกกิจกรรม อยู่ในระดับมาก
ผ่านเกณฑ์การประเมิน
(3) ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ต่อโครงการพบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
Title Evaluation of the project to promote learning management
according to the philosophy of Sufficiency Economy Ban Hu Rae
Municipal School Under the jurisdiction of Bang Kaeo Subdistrict
Municipality Phatthalung Province
Auther Mrs. Mesa Kaewsen
Agency Ban Hu Rae Municipal School Bang Kaeo Municipality. Bang Kaeo
District. Phatthalung Province.
Year of publication B.E. 2566
Abstract
Evaluation of the project to promote learning management according to the philosophy of Sufficiency Economy Ban Hu Rae Municipal School Under the jurisdiction of Bang Kaeo Subdistrict Municipality Phatthalung Province The objective is to evaluate 1) the context (Context Evaluation) 2) the input factor (Input Evaluation) 3) the process (Process Evaluation) and 4) Product Evaluation of the project. The population used in this study includes teachers who are responsible for the project. Students at Ban Hu Rae Municipality School know, accept and follow the philosophy of Sufficiency Economy, totaling 14 people. Basic Education Commission Ban Hu Rae Municipal School, 7 people (non-school administrators and teacher representatives) and students at Ban Hu Rae Municipal School Grades 4 - 6, 53 people, parents of students at Thesaban School Ban Hu Rae, Grade 4 - 6, 53 people The tools used for evaluation include 5 sets of questionnaires as follows: Set 1 evaluates the context (Context Evaluation) by teachers and the basic education school committee. Set 2 evaluates basic factors (Input Evaluation) by teachers. Set 3 evaluates the project implementation process (Process Evaluation). by teachers and students Set 4 and Set 5 evaluate the product (Product Evaluation) to evaluate the results of the project by teachers. Statistics used in data analysis (1) Qualitative data and information from the project report evaluation uses content analysis (Content Analysis). (2) Quantitative data is analyzed by frequency distribution, finding percentage, mean, standard deviation and Dependent t-test values. Data analysis is done with ready-made programs. The project evaluation results can be summarized as follows:
Project evaluation results found that:
1. Context Evaluation results found that the school board basic level and teachers’ overall opinions were at a high level All items passed the evaluation criteria
2. The results of the evaluation of input factors (Input Evaluation) found that when considering the overall picture Teachers’ opinions regarding the appropriateness of the project’s inputs were at a high level. Passed the evaluation criteria
3. The results of the process evaluation found that when considering the overall picture Teachers and students had opinions about the appropriateness of the project process. at a high level Passed the evaluation criteria
4. Product Evaluation results found that student evaluations consisted of 3 areas:
(1) Achievement of knowledge regarding the philosophy of Sufficiency Economy It was found that the average achievement of students after participating in the project was higher than before participating in the project. Passed the evaluation criteria
(2) Study of desirable characteristics Moderation side of reasonableness Immunity side, knowledge condition side and moral conditions in every activity are in High level, passed the evaluation criteria
3) Teacher satisfaction Basic Education Commission students and parents regarding the project, it was found that overall there was a high level of satisfaction. Passed the evaluation criteria