ชื่องานวิจัยในขั้นเรียน
การเสริมสร้างระเบียบวินัยการทำงานของนักเรียน ระดับชั้นอนุบาลปีที่
ชื่อผู้ทำวิจัย นางสาวดวงรัตน์ เบิกบานจิตร
ความสำคัญและที่มา
เด็กวัยเรียนนี้เป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือ
สิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่นเด็กในวัยนี้จะมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าโรงเรียน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อนแล้วจึงค่อยเป็นประสบการณ์ไปหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกลตัวออกไป สำหรับเด็กที่เริ่มเข้าเรียน
จะสามารถเรียนรู้ได้ดี ถ้าทางโรงเรียนได้จัดสิ่งแวดล้อมโดยปล่อยให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหว และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆอยู่เสมอซึ่งจะเป็นการเพิ่มหรือเสริมพัฒนาการทางปัญญาของเด็กเป็นอย่างมากเนื่องจากสิ่งต่างๆ จะเป็นสิ่งที่ช่วยหรือก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลอง คันคว้าสิ่งเหล่านี้ของเด็ก ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพการ์ตูน สิ่งดังกล่าวนี้มี อิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ - จิตใจ ภาษาและสติปัญญา เด็กวัยเรียนนี้วุฒิภาวะทุกด้านกำลังงอกงามเกือบเต็มที่ ทำให้เด็กมีความ สามารถเพิ่มขึ้นอีกหลายด้าน เป็นเพราะเด็กได้เรียนรู้กว้างขวางขึ้นในช่วงนี้ทำให้เด็กสามารถที่จะคิดและแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวของตัวเองเด็กในวัยนี้จะเริ่มเรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น ชอบความตื่นเต้นพึงพอใจในสิ่งแปลกใหม่ จะหันเหไปสู่การเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เช่น เรียนรู้เกี่ยวกับเพื่อนครู การเรียน การเล่นกับเพื่อน (Freud : Psychoanalytic Theory , Latency stage) เด็กจะใฝ่เรียนรู้และอยากให้ผู้อื่นยอมรับในพยายามกระทำสิ่งต่างๆเพื่อให้เห็นว่าเขาสามารถทำได้หรือประสบความสำเร็จความสามารถของตนเอง (Erikson : ทฤษฎีจิตสังคม ชั้นที่ ๔) ดังนั้น พ่อแม่ควรช่วยให้เด็กได้เกิดความรู้สึกว่าเขามีดี มีความสามารถ โดยการสนับสนุนให้เด็กได้ทำในสิ่งที่เขาชอบอย่างสุดความสามารถ หาจุดดี-จุดเด่นของตัวเด็กเพื่อชมเชย เป็นการบ่มเพาะความรู้สึกขยันหมั่นเพียรให้เกิดขึ้น เพราะความสามารถจริงของเด็กที่ปฏิบัติได้นั้น ยังต้องได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือจากผู้ใหญ่และสังคมในการช่วยให้เด็กมีศักยภาพสูงสุดที่เป็นไปได้ (Vygotsky : Cultural-Historical Theory , Zone of Proximal Development) แต่ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริม หรือได้รับการส่งเสริมที่มากเกินความสามารถของเด็ก เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ไม่มีความสามารถ โดยเฉพาะความรับผิดชอบของเด็กในวัยเรียนนั้นเด็กๆที่อยู่ในวัยเรียนควรรับผิดชอบงานเล็กๆน้อยๆ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองมอบหมายให้ทำเช่น ดูแลคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย กวาดบ้าน ถูเรือน จัดโต๊ะอาหาร รดน้ำต้นไม้ ให้อาหารสัตว์เลี้ยงฯลฯ การทำงานเหล่านี้นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองแล้ว ยังจะช่วยให้มีโอกาสฝึกการทำงานมีโอกาสคิดหาวิธีทำงานให้สำเร็จเรียบร้อยและเกิดผลดี และยังได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วยทำให้มีสุขภาพดีด้วย การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวทำให้มีความสุข และการให้อาหารสัตว์เลี้ยงจะทำให้เด็กมีความอิ่มเอมใจ ทำให้ชีวิตมีความสุขอันเกิดจากการทำความดีของตนความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของคนเรา คือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง การดูแลตนเองไม่ให้หลงไปในทางที่ผิด ให้เป็นคนดีของสังคม ให้มีคุณธรรมคิดดี พูดดี และทำดี เพราะจะช่วยทำให้ตนเองและสังคมมีความสุข ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่ดีงาม ทุกคนควรฝึกฝนให้เกิดขึ้นในตน ถ้าเราปรารถนาความสุขไม่ต้องการพบความทุกข์ในอนาคต เราต้องเริ่มสร้างนิสัยรับผิดชอบตั้งแต่วันนี้
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อศึกษาผลการเสริมสร้างการมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน
๒.เพื่อพัฒนาส่งเสริมให้นักเรียนชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน มีความเป็นระเบียบวินัย และมี ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื่อให้นักเรียนชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน มีระเบียบวินัย และ มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
ขอบเขตของการวิจัย
๑. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาการเสริมสร้างวินัยด้านความมีระเบียบวินัย และรับผิดชอบในงานที่
ได้รับมอบหมาย ของนักเรียนชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน
๒. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน จำนวน ๒๐ คน
๓. ตัวแปรในการวิจัย
๓.๑ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเสริมแรง ข้อตกลง การฟังนิทาน ภาพยนตร์ การ์ตูน กิจกรรมและ
งานที่ได้รับมอบหมาย
๓.๒ ตัวแปรตาม ได้แก่ การพัฒนาความมีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
การตรงต่อเวลา
วิธีการดำเนินการวิจัย
๑. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
๒. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
๓. การเก็บรวบรวมข้อมูล
๔. วิธีดำเนินการวิจัย
๕. การวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
- แบบสังเกตพฤติกรรมความรับผิดชอบการทำงานในชั้นเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกพฤติกรรมความรับผิดชอบการทำงานตั้งแต่
เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๖ - เดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับ
๓ ปฏิบัติสม่ำเสมอ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กสามารถปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอ
๒ ปฏิบัติเป็นบางครั้ง หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กปฏิบัติได้บ้างเป็นครั้งคราวหรือบางครั้ง
๑ ไม่ปฏิบัติ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กไม่ปฏิบัติเลย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
๑. พฤติกรรมความรับผิดชอบในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการเสริมแรงทางบวกอยู่ในระดับดี
ทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง และด้านความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
๒. พฤติกรรมความรับผิดชอบในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการเสริมแรงทางบวกสูงขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทั้งโดยรวมและด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง และด้านความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
สรุปผลการวิจัย
จะเห็นได้ว่าจากการใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเสริมแรง ข้อตกลงร่วมกันภาพยนตร์ การ์ตูน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรับผิดชอบ กิจกรรมและการมอบหมายงานให้นักเรียนทำ ผลที่ได้หลังจากได้ดำเนินการปฏิบัติด้วยวิธีการต่างๆ พบว่านักเรียนชั้นอนุบาล ๓/๒ โรงเรียนวัดสุขไพรวัน มีพฤติกรรมความเป็นระเบียบวินัย เก็บของส่วนตัวและส่วนรวมได้ถูกที่ เป็นระเบียบเรียบร้อย และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายดีขึ้นมาก
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย
ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมความรับผิดชอบในชั้นเรียน ควรเพิ่มเวลาในการทดลอง เพื่อให้ทราบผลของ
พฤติกรรมความรับผิดชอบในชั้นเรียนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาคผนวก
นิทานเรื่อง ผึ้งขยัน
น้องมังกรเห็นผึ้งบินวนเวียนมากินน้ำหวาน น้องมังกรตัดดอกไม้ให้คุณแม่ ไปถวายพระที่บ้าน ดอกไม้จากดอกนี้ไปดอกโน้น แล้วหายไปหลังบ้าน แล้วก็บินมาที่ดอกไม้อีกน้องมังกรรีบชวนคุณพ่อตามผึ้งไปหลังบ้าน เพื่อดูว่าผึ้งบินไปที่ไหน ทั้งสองเห็นผึ้งบินไปที่ต้นมะม่วงและเห็นรวงผึ้ง เกาะติดที่ต้นไม้ เป็นรวงเล็กๆ สีขาวนวล น้องมังกรตื่นเต้นมากที่เห็นรวงผึ้ง หลายวันต่อมาน้องมังกรวิ่งมาบอกพ่อว่า คุณพ่อครับ รวงผึ้งที่เราเห็นหลังบ้านตอนนั้นใหญ่เบ้อเร่อเลยครับ ผึ้งทำอย่างไรใหญ่กว่าตัวมันตั้งหลายเท่า พ่อบอกว่า รังผึ้งใหญ่ขึ้น เพราะผึ้งใช้รังของมันเป็นที่เก็บน้ำหวาน และผึ้งไม่ได้เก็บน้ำหวานเพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งหรอกจ๊ะ มันจะวนเวียนนำอาหารวันละหลายๆ เที่ยวจึงจะได้รังใหญ่อย่างนั้น น้องมังกรถามว่า มันคงช่วยกันทำรังใช่ไหมครับ หนูเห็นผึ้งแต่ละตัว มันไม่ได้หยุดนิ่งเลย พ่อตอบว่า ใช่แล้วลูก ผึ้งนอกจากขยันแล้วมันมันยังมีความสามัคคีช่วยกันทำงานจนสำเร็จอย่างนี้แหละลูกน้องมังกรบอกว่า หนูจะเป็นคนขยันอย่างผึ้ง แล้วก็วิ่งไปช่วยคุณแม่เก็บผ้าที่ตากแห้งแล้วอย่างมีความสุข