ชื่อผลงาน การขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการโรงเรียนสุจริตโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานผสมผสานกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE
ชื่อเจ้าของผลงาน นางดวงฤทัย สีวัน
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์
ชื่อหน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์
๑. ความสำคัญของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
Technology Drives Honesty เทคโนโลยีขับเคลื่อนความซื่อสัตย์ Subhendu Mohanty (2021) จากความเชื่อที่เทคโนโลยีสามารถสร้างให้เกิดความซื่อสัตย์สุจริตได้
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของผลงาน/นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีผสมผสานการนิเทศแบบ PIDRE
2.1.2 เพื่อสร้างเว็บแอปพลิเคชันโครงการโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ สำหรับใช้ขับเคลื่อนกิจกรรม เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิดชูความดี
2.1.3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนและครูมีคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง มีจิตสาธารณะ ผ่านกิจกรรมในโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
2.2 เป้าหมาย
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์มีเว็บแอปพลิเคชันโครงการโรงเรียนสุจริต สพม เพชรบูรณ์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการและใช้เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 1 เว็บ
2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา(โครงการโรงเรียนสุจริต)ตามเป้าหมายของโครงการ
3) ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนมีความรู้และทักษะในการสร้างสื่อดิจิทัล
เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา จนสามารถผลิตชิ้นงานโรงเรียนละ 1 ชิ้น ในการนำไปเผยแพร่ หรือนำไปใช้เป็นสื่อต้นแบบและนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาได้
4) ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนมีคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต
โดยแสดงออกผ่านผลงานสื่อดิจิทัลด้วย Canva
3. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นที่ 1 การวางแผน (P-Planning) และ ใช้เทคโนโลยีในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันและเก็บข้อมูล (T- Create & Collect)
1. วางแผนการขับเคลื่อนโครงการ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
2. ออกแบบเว็บแอปพลิเคชัน โดยใช้ Google Sites
3. เก็บข้อมูลสารสนเทศโดยใช้ Google form และ Looker Studio
ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ (I-Informing) และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ(T-Communicate)
1.จัดประชุมหัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ เพื่อชี้แจงการดำเนินกิจกรรมผ่าน Zoom
2. คัดสรร รวบรวมสื่อ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใส่ตู้หนังสือในเว็บแอปพลิเคชัน Anyflip
3. สร้างไลน์กลุ่ม
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (D-Doing) และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารติดตามการปฏิบัติงาน (T-Conduct & Compete)
1. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อดิจิทัลด้วย Canva
2.จัดกิจกรรมการประกวดสื่อดิจิทัลด้วย Canva ได้แก่ สื่อโปสเตอร์ด้วย Canva หัวข้อ Young Citizens Voice และสื่อวีดิทัศน์ด้วย Canva หัวข้อ รอยเท้าแห่งความดี
3. นิเทศ ติดตาม และใช้แผ่นข่าวอิเล็กทรอนิกส์ในการประชาสัมพันธ์ ติดตามงาน ผ่านไลน์กลุ่ม, Google Sites, Google Form, Padlet
ขั้นที่ 4 การให้ขวัญและกำลังใจ (R-Reinforcing) และใช้เทคโนโลยีในการประกาศยกย่องเชิดชู (T-Certificate)
1. ถ่ายทำวีดิทัศน์โรงเรียนต้นแบบ เผยแพร่บนเว็บแอปพลิเคชัน โดยใช้ Youtube
2. เผยแพร่ผลงานการประกวดสื่อดิจิทัลด้วย Canva โดยใช้ Padlet
3. ใช้ระบบดาวน์โหลดเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติผ่านส่วนเสริม Certifyem
ขั้นที่ 5 การประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน (E-Evaluating) และใช้สื่อเทคโนโลยีในการสรุปประเมินผล (T-Conclude)
1. ใช้แอปพลิเคชัน Google Form และแสดงผลโดยใช้ Looker Studio ในการประเมินผลการทำกิจกรรม การรายงานต่างๆ
2. จัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานเผยแพร่บนเว็บแอปพลิเคชัน Google Sites
4. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1 ผลที่เกิดตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ มีหลักฐาน หรือข้อมูลประกอบชัดเจน
4.1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์มีเว็บแอปพลิเคชัน โครงการโรงเรียนสุจริต สพม เพชรบูรณ์ เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และใช้เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชิดชูความดี ที่มีประสิทธิภาพจำนวน 1 เว็บ
4.1.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นผลสำเร็จ จำนวน 3 กิจกรรม
4.1.3 ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนมีความรู้และทักษะในการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) จนสามารถผลิตชิ้นงานเผยแพร่ได้โรงเรียนละ 1 ชิ้น สามารถนำไปใช้เป็นสื่อต้นแบบและนำไปประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้
4.1.4 ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนมีคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต โดยแสดงออกผ่านผลงานสื่อดิจิทัลด้วย Canva
4.1.5 ทุกโรงเรียนในสังกัดได้รับการนิเทศ กำกับ ติดตาม การใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา
4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน สามารถแก้ปัญหาและพัฒนางานได้สอดคล้องกับสถานการณ์ตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายครบถ้วนสอดคล้องกับคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริตและปฏิญญาโรงเรียนสุจริต
4.2.1 ทักษะกระบวนการคิด ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการคิดในการแสวงหาปัญหาของชุมชน ได้ใช้ทักษะในการสืบค้นข้อมูล นำข้อมูลมาเรียบเรียง ออกแบบ จัดวาง ตกแต่งสื่อ ได้ฝึกทักษะการสร้างสื่อดิจิทัล ทั้งสื่อโปสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อวีดิทัศน์ตามหลักการความสมดุลของภาพ การเลือกใช้สี การออกแบบให้น่าสนใจ การตัดต่อภาพและเสียง โรงเรียนสามารถนำสื่อดิจิทัลที่สร้างไปรณรงค์ต่อต้านการทุจริตในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้งได้
4.2.2 มีวินัย ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนที่เข้ารับการอบรมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อดิจิทัลด้วย Canvaต้องมีวินัยในการเข้ารับการอบรมตามเวลาที่กำหนด นำอุปกรณ์ตามนัดหมายและส่งงานในกิจกรรมให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ การใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการเก็บข้อมูลสารสนเทศและเผยแพร่ผลงานทำให้ครูต้องส่งงานหรือรายงานข้อมูลให้ตรงเวลาเนื่องจากระบบเทคโนโลยีเป็นระบบอัตโนมัติ จึงสอดคล้องกับปฏิญญาโรงเรียนสุจริตในการปลูกฝังความมีวินัย
4.2.3 ซื่อสัตย์สุจริต กิจกรรมประกวดสื่อโปสเตอร์ด้วย Canva หัวข้อ Young Citizens Voice และสื่อวีดิทัศน์ด้วย Canva หัวข้อ รอยเท้าแห่งความดี ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนที่ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น เมื่อมีการนำข้อมูลมาอ้างอิงจะต้องมีการระบุแหล่งข้อมูลอ้างอิงทุกครั้ง การสร้างสื่อวีดิทัศน์ จะต้องใช้โปรแกรม Canva เท่านั้นในการสร้าง นักเรียนต้องซื่อสัตย์ไม่ใช้การตัดต่อวีดิทัศน์จากโปรแกรมอื่นแล้วนำมาวางในโปรแกรม Canva สอดคล้องกับปฏิญญาโรงเรียนสุจริตในการป้องกันไม่ให้กระทำการทุจริต
4.2.4 อยู่อย่างพอเพียง การใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการต่างๆโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน Google Sites นั้น เป็นการใช้ทรัพยากรบนระบบคลาวด์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังใช้ Application ต่างๆที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ช่วยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูณ์ประหยัดค่าใช้จ่าย
4.2.5 มีจิตสาธารณะ ครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนจะได้ผลิตสื่อเพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยแต่ละโรงเรียน ตลอดจนสำนักงานเขตพื้นที่ฯสามารถนำสื่อไปประชาสัมพันธ์ รณรงค์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การใช้โปรแกรม Canva for education สามารถสร้างทีมเพิ่มให้เพื่อนสามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเป็นแบบ real time ดังนั้นนักเรียนจะได้มีคุณลักษณะที่เอื้ออาทรแบ่งปันผู้อื่นสอดคล้องกับปฏิญญาโรงเรียนสุจริตในการสร้างเครือข่าย
4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ สิ่งที่ได้เรียนรู้หรือประสบการณ์จากการพัฒนาผลงาน/นวัตกรรม
1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ส่วนใหญ่ไม่ชำนาญด้านการสร้างสื่อ แต่หลังจากเข้ารับการอบรมสร้างสื่อด้วย Canva แล้วสามารถสร้างสื่อโปสเตอร์และสื่อวีดิทัศน์แบบง่ายได้
2. การจัดกิจกรรมการประกวดสื่อดิจิทัลด้วย Canva เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงเนื่องจากไม่ได้ใช้อุปกรณ์ที่ราคาสูง
3. การใช้เว็บแอปพลิเคชันในการเผยแพร่ผลงาน เชิดชูเกียรติทำให้เป็นการป้องกันการทุจริตได้ เพราะถ้าผลงานหรือข้อมูลไม่มีการอ้างอิงอาจทำให้ถูกฟ้องร้อง
4. การใช้สารสนเทศบนเว็บแอปพลิเคชันที่เปิดเผยโปร่งใสทำให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการรายงานข้อมูลตามกำหนดเวลาและลดภาระในการติดตามงาน สามารถใช้ในการนิเทศ ติดตามงานอย่างได้ผล
5. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 การเลือกใช้แอปพลิเคชั่น เว็บแอปพลิเคชัน โปรแกรมต่างๆ ซึ่งเป็นแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและมีคุณสมบัติที่รองรับการทำงานที่เชื่อมโยงกันได้ ทำให้การนำมาใช้มีประสิทธิภาพ
5.2 วิทยากรจากครูผู้สอนเทคโนโลยีในสังกัดที่นำแนวคิดการอบรมโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานทำให้การอบรมเป็นระบบจนผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้
6. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานผสมผสานกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ได้เกิดเว็บแอปพลิเคชัน โครงการโรงเรียนสุจริต สพม เพชรบูรณ์ ที่ได้สร้างขึ้นจากแนวคิดเทคโนโลยีขับเคลื่อนความซื่อสัตย์ มีการใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน มีการออกแบบสร้างโดยใช้ ADDIE Model ทำให้เกิดเว็บแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศ และใช้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงาน ประชาสัมพันธ์ผลงาน รณรงค์ต่อต้านการทุจริตได้ นอกจากนี้ในการจัดกิจกรรมการอบรมให้กับครูผู้รับผิดชอบโครงการและนักเรียนได้ใช้แนวคิดในการจัดกิจกรรมการอบรมตามแนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน(Technology-based learning) ทำให้ผลการประเมินการอบรมสำเร็จตามวัตถุประสงค์และผู้เข้าอบรมสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลส่งเข้าประกวด ในด้านการขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในสถานศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีทำให้กิจกรรมสามารถขับเคลื่อนเป็นผลสำเร็จ โดยเว็บแอปพลิเคชัน โครงการโรงเรียนสุจริต สพม เพชรบูรณ์ นี้สามารถนำไปปรับใช้กับการขับเคลื่อนในกิจกรรมอื่นในโครงการโรงเรียนสุจริต เช่น การจัดเรียนการสอนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การจัดเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบออนไลน์ของหนังสือเล่มเล็ก สื่อภาพยนตร์สั้นต้านทุจริต กิจกรรมบริษัทสร้างการดี เป็นต้น ส่วนกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE สามารถปรับปรุงพัฒนาให้เกิดเป็นรูปแบบการนิเทศใหม่ที่มีการใส่กระบวนการของเทคโนโลยีมากขึ้น ข้อสังเกตที่พึงระวังคือ ผู้ที่ใช้เว็บแอปพลิเคชันอาจยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ข้อมูลสารสนเทศในเว็บแอปพลิเคชัน การกดปุ่มเพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการหรือวิธีการโต้ตอบและติดต่อสื่อสารหรือดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บแอปพลิเคชัน โครงการโรงเรียนสุจริต สพม เพชรบูรณ์จึงควรมีการให้คำแนะนำในระหว่างการไปนิเทศ ติดตามตรวจเยี่ยมโรงเรียน หรือจัดทำคู่มือการใช้แจ้งไปยังโรงเรียนในสังกัด
7. ข้อเสนอแนะ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตอื่นๆสามารถ สร้างเว็บแอปพลิเคชันจาก Google Sites และผนวกแอปพลิเคชันต่างๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น Mentimeter, Classpoint โดยนำมาใช้ควบคู่กับกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE หรืออาจปรับเปลี่ยนนำเทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันต่างๆไปใช้ควบคู่กับกระบวนการนิเทศ
แบบอื่นๆ หรือปรับเปลี่ยนจากการใช้ Google Sites เป็น WordPress เป็นต้น