บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ จำนวน 24 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Sample) ผลการวิจัย พบว่า
1. ค่าประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.84/83.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 4.71 นั่นแสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : การพัฒนาบทเรียนออนไลน์, อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
บทนำ
ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ซึ่งผลจากความเจริญก้าวหน้าของวิทยาการด้านต่างๆ จึงส่งผลให้แต่ละประเทศต้องพัฒนาประชากรให้พร้อมต่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด และเตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายของกระแสโลก ซึ่งปัจจัยสําคัญที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายดังกล่าว ได้แก่ คุณภาพคน ประเทศส่วนใหญ่จึงเน้นการพัฒนาประชากรให้มีศักยภาพเพื่อพร้อมรับการแข่งขันในสังคมยุคโลกาภิวัตน์ โดยเน้นการเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อ สังคม ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาย่อมมีการดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ในด้านแนวคิดที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนายั่งยืนอย่างแท้จริง ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน จึงเป็นเรื่องที่มีความจําเป็นอย่างยิ่ง และต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อทําให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตนได้รับการพัฒนาอย่าง เต็มที่ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสําคัญในการดําเนินชีวิตและเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ
ซึ่งการศึกษามุ่งเน้นความสําคัญทั้งด้านความรู้ความคิดความสามารถ คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2545)
การใช้แหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนสําคัญในการศึกษาค้นคว้าด้วยบทเรียนบนเครือข่ายสามารถทําการสื่อสารได้อย่าง ไร้พรมแดน ไม่จํากัดสถานที่ไม่จํากัดเวลา ภายใต้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยการจัดการศึกษาในปัจจุบันจึงได้มีการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการศึกษามาใช้ในระบบการ เรียนการสอน เช่น การนําระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีศักยภาพในการสื่อสารข้อมูลที่สูงและรวดเร็ว เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบทางไกลชนิดหนึ่ง ซึ่งการนําเสนอเนื้อหาและการ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีชั้นสูงที่สามารถใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างนักเรียนกับผู้สอนได้อย่างมีระบบ โดยเฉพาะในเรื่องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางที่ช่วยให้การเรียนการสอนมีปฏิสัมพันธ์ได้ระหว่างนักเรียนกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับการเรียนการสอนระหว่างครูกับ นักเรียนในห้องเรียนปกติ (กิดานันท์, 2536)
การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ เป็นรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งรายวิชานี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคนจะต้องเรียนตามกําหนดในโครงสร้างหลักสูตร และปัญหาที่เกิดขึ้น
ก็คือนักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และเป็นปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งทรัพยากรมีจํานวนจํากัด ทั้งห้องเรียนทฤษฎี ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันนักเรียนก็มีพื้นฐานทางด้านความรู้และการรับรู้แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนการ สอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนที่ต้องการทบทวนความรู้เต็มเติมในส่วน ที่ขาดหายจากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสามารถ และความต้องการของผู้เรียน อันจะทําให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างสมบูรณ์และสอดคล้องกับการเรียนการสอนในยุคปฏิรูปการศึกษา ซึ่งใช้ปรัชญา ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
วิธีดำเนินการวิจัย
แบบแผนการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design)
O1 X O2
X : การทดลองใช้นวัตกรรม
O1 : การวัดผลก่อนการทดลองใช้นวัตกรรม
O2 : การวัดผลหลังการทดลองใช้นวัตกรรม
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 115 คน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 24 คน ได้มาจากการเลือกห้องเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรอิสระ
การเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
2. ตัวแปรตาม
1) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยตอบถูกให้คะแนน 1 คะแนน ตอบผิดให้คะแนน 0 คะแนน
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไปทดสอบกับนักเรียน รวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนก่อนเรียน
2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
3. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไปทดสอบกับนักเรียน รวบรวมคะแนนไว้เป็นคะแนนหลังเรียน
4. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง
หาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้สูตร E_1/ E_2 ดังนี้
E_1= (∑▒x/n)/A x100
E_2= (∑▒y/n)/B x100
เมื่อ E_1 แทน คะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนทุกคนขณะจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
รวมทุกกิจกรรม ที่ใช้บทเรียนออนไลน์
E_2 แทน คะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนทุกคน หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
(ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ที่ได้)
∑▒x แทน คะแนนรวมของนักเรียนทุกคนขณะทํากิจกรรม
∑▒y แทน คะแนนรวมของนักเรียนทุกคนหลังทํากิจกรรม
A แทน คะแนนเต็มของคะแนนระหว่างทํากิจกรรม
B แทน คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังทํากิจกรรม
n แทน จำนวนนักเรียน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าเฉลี่ย (x ̅) ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สูตร
x ̅=(∑▒x)/n
เมื่อ x ̅ แทน คะแนนเฉลี่ย
∑▒x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
n แทน จำนวนนักเรียน
2. หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สูตร
S.D. = √((n∑▒〖x^2-(∑▒x^2)〗)/(n(n-1)))
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑▒x^2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกําลังสอง
(∑▒〖x)〗^2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกําลังสอง
n แทน จํานวนนักเรียน
3. การทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษา ก่อนเรียน - หลังเรียน
ใช้สถิติ t test มีสูตรดังนี้
t = (∑▒D)/√((N∑▒D^2-(〖∑▒D)〗^2)/(N-1))
เมื่อ t แทน การแจกแจงแบบที
D แทน ความแตกต่างของคะแนนหลังเรียนและก่อนเรียนของนักเรียนแต่ละคน
N แทน จำนวนนักเรียน
ผลการดำเนินงานวิจัย
1. ผลการหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
หลังจากที่ผู้วิจัยนำบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ ไปใช้กับนักเรียนที่เรียนจนครบถ้วนทุกกิจกรรม และได้ประเมินผลหลังจากการจัดกิจกรรมและประเมินผลหลัง การใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ นำมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพนวัตกรรม ผลปรากฏ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ
คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ประสิทธิภาพของบทเรียน
E1/E2
12.59 16.71 81.84/83.55
จากตารางที่ 1 พบว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.84/83.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 แสดงว่าบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ สามารถช่วยให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและ
หลังเรียน
ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้ t-test
การประเมิน n d ̅ S.D. t P_Value
ก่อนเรียน 24 12.58 1.56
1.73 16.01* 0.00
หลังเรียน 24 16.71
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากตารางที่ 2 พบว่าหลังจากการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจริง
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การประเมิน x ̅ S.D แปลผล
1. ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระจากบทเรียน 4.63 0.65 มากที่สุด
2. คำแนะนำในการเรียนรู้เหมาะสม เข้าใจง่าย 4.54 0.83 มากที่สุด
3. ผู้เรียนสามารถอ่านทำความเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตนเอง 4.83 0.56 มากที่สุด
4. ความเหมาะสมของการใช้สี ภาพ และตัวอักษร 4.75 0.61 มากที่สุด
5. บทเรียนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ 4.75 0.61 มากที่สุด
6. ภาษาที่ใช้ในบทเรียนออนไลน์ เข้าใจง่าย 4.88 0.34 มากที่สุด
7. เนื้อหามีความถูกต้องและทันสมัย 4.79 0.51 มากที่สุด
8. การใช้งานของบทเรียนง่ายและสะดวก 4.79 0.51 มากที่สุด
9. การจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา 4.46 0.78 มากที่สุด
10. หลังจากศึกษาจบบทเรียนแล้วผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.67 0.64 มากที่สุด
รวม 4.71 0.14 มากที่สุด
จากตารางที่ 3 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ค่าเฉลี่ย 4.71 นั่นแสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ ในระดับมากที่สุด
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ค่าประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.84/83.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด คือ 80/80
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 1 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นได้พัฒนาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กําหนดจุดมุ่งหมาย การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา การวางแผนดําเนินการพัฒนาการพัฒนาจนถึงการทดลอง มีการดําเนินการทดลองตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา การออกแบบบทเรียนที่นำเทคโนโลยีมาผสมผสานทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ อุทุมพร พันธ์หนอย และคณะ (2561) ได้ทําการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.29/87.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถนําไปใช้เป็นสื่อเพื่อการเรียนการสอนได้ และยังสอดคล้องกับผลงานวิจัยของนิวาตี นิวาตโสภณ (2556) ได้ทําการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนางแก้ว
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.25/80.81 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กําหนดไว้ และสอดคล้องกับงานวิจัยของณฐมน สุทธิ และคณะ (2558) ได้ทําการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น
มีประสิทธิภาพ 81.00/83.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ในข้อ 2 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการศึกษาจากบทเรียนออนไลน์ เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง สอดคล้องกับงานวิจัยของประพัชร์ ถูกมี (2561) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาทักษะการใช้โปรแกรมกระดานคำนวณและจัดการข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของจิรวัส นิลาภรณ์ (2559) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อดิจิทัล
เลิร์นนิงอ็อบเจกต์ วิชาคณิตศาสตร์บนแท็บเล็ต สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ที่เรียนวิชาวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ พรพรรณ แสงแก้ว (2559) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์
เชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม วิชาระบบฐานข้อมูล สำหรับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ผลความพึงพอใจต่อบทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ
จากผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ เรื่องอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากบทเรียนออนไลน์ค่าเฉลี่ย 4.71 นั่นแสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลเมืองเสลภูมิ ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จุฑามาศ ใจสบาย (2562) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.70 ทำให้การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และสอดคล้องกับงานวิจัยของ และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุพรรษา อยู่สถิตย์ (2563) ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนออนไลนผานเว็บโดยอาศัยการเรียนรูแบบรวมมือดวยเทคนิค STAD เรื่อง ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอมูลและการประมวลผล สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีตอบทเรียนออนไลนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อยูในระดับพึงพอใจมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. ขอกําหนดในการใชระบบตองอาศัยสิ่งอํานวยความสะดวกในดานการเรียนรูที่เพียงพอ เชน ความเร็วและความเสถียรของเครือขายอินเทอรเน็ต เพื่อใหเกิดประโยชนสูงสุดตอนักเรียน
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพ.ศ.2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ.
กิดานันท มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษารวมสมัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส.
จิรวัส นิลาภรณ์. (2559). การพัฒนาสื่อดิจิทัลเลิร์นนิงอ็อบเจกต์ วิชาคณิตศาสตร์บนแท็บเล็ต สําหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ที่เรียนวิชาวิชาคณิตศาสตร์. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส),
22(1): 156-169.
จุฑามาศ ใจสบาย. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Classroom รายวิชา
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต .วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 3(1): 1-8.
ณฐมน สุทธิ, พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์, และปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ธาตุและสารประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(2): 73-79.
นิวาตี นิวาตโสภณ. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
เรื่อง ข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนางแก้ว
อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2): 75-84.
ประพัชร์ ถูกมี, กีรศักดิ์ พะยะ, และสุรินทร์ เพชรไทย. (2561). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาทักษะ
การใช้โปรแกรมกระดานคำนวณและจัดการข้อมูล. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(สสวท.), 5(1): 43-51.
พรพรรณ แสงแก้ว. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เชิงปฏิสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วม วิชาระบบฐานข้อมูล
สำหรับสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา, 3(2): 27-36.
สุพรรษา อยู่สถิต. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลนผานเว็บโดยอาศัยการเรียนรูแบบรวมมือ
ดวยเทคนิค STAD เรื่อง ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับขอมูลและการประมวลผล สําหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อุทุมพร พันธ์หนอย, กาญจนา บุญภักดิ์, และเลิศลักษณ์ กลิ่นหอม. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง การจัดการสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
17(1): 30-37.