๑.ความสำคัญของนวัตกรรมที่นำเสนอ
การจัดการศึกษาของโรงเรียนมีเป้าหมายสูงสุดคือ การพัฒนานักเรียนเต็มตามศักยภาพ การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณธรรมทั้งด้นร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นนสุขตามที่สังคมต้องการ โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้น นอกจากจะดำเนินการด้วยการ ส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนแล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งด้านการสื่อสาร และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้คนในเชิงบวกแล้ว ในเชิงลบก็ปรากฏเช่นกัน
๒. จุดประสงคและเปาหมายของนวัตกรรม
2.1 เพื่อพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวย NONSI Model
2.2 เพื่อติดตามและประเมินผล การใชนวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวยNONSI Model โดยพิจารณาจาก
๑) ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนมีความรู ความเขาใจและสามารถดำเนินกิจกรรมโครงการสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวย NONSI Model ได
๒) มีนักเรียนกลุมแกนนำโรงเรียนสีขาว สามารถดำเนินงานสถานศึกษาสีขาวไดอยางตอเนื่อง
๓) นักเรียนทุกคนไดรับการสงเสริม พัฒนา และดูแลชวยเหลืออยางเปนระบบ
๔) นักเรียนในกลุมเสี่ยงหรือกลุมมีปญหาไดรับการดูแลชวยเหลืออยางเปนระบบโดยคุณครูประจำชั้นหรือคุณครูที่ปรึกษา
๕) นักเรียนมีภูมิคุ้มกันป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข
๖) มีเครือขายสถานศึกษาสีขาวที่เขมแข็ง
๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
โรงเรียนหัวหินวิทยาคมได้จัดประชุมคณะกรรมการ วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก อุปสรรคและโอกาส ( SWOT analysis) ในการพัฒนาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ มีการศึกษาข้อมูลนักเรียนรายบุคคล เพื่อให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิผลสูงสุด ด้วยความมุ่งมั่นในการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนหัวหินวิทยาคมได้ออกแบบนวัตกรรม
๓.๑ กระบวนการผลิตผลงาน
๑. ประชุมวางแผน แตงตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการออกแบบนวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวย NONSI Model
๒. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวของ ไดแก คูมือแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษาสีขาว จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดเนนการพัฒนาคุณภาพผูเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ คูมือระบบดูแลชวยเหลือนักเรียน
๓. กำหนดจุดประสงคและเปาหมายของนวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวยNONSI Model
๔. จัดทำคูมือการใชนวัตกรรมและเสนอนวัตกรรมการพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวยNONSI Model และนำนวัตกรรมไปใชในการพัฒนาและดูแลนักเรียนโรงเรียนหัวหินวิทยาคม
๕. นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใชนวัตกรรม
๖. ปรับปรุง พัฒนา นวัตกรรม การพัฒนาสถานศึกษาสีขาวสูความยั่งยืนดวย NONSI Model หลังจากนำไปใชจริง
๗. ทำรายงานผลการใชนวัตกรรม และเผยแพร ประชาสัมพันธ ทางเว็บไซตโรงเรียน
N (Nature) การศึกษาธรรมชาติของผู้เรียนเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งปัจจัยภายในและภายนอก อุปสรรคและโอกาส ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลรายบุคคลของผู้เรียน
O (Objective) นำข้อมูลจากการศึกษาคัดกรองมาวิเคราะห์ เพื่อการแบ่งกลุ่มนักเรียน และกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละกลุ่ม
N (Nourishment by network) การส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามศักยภาพ โดยการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย
S (Security system) การสร้างมาตรการเพื่อความปลอดภัย เพื่อคุ้มครองนักเรียน
I (Improvement) การปรับปรุง แก้ไข เพื่อพัฒนานักเรียนและระบบให้มีความเข้มแข็งและประสิทธิผลสูงสุด โดยใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้วยวงจรคุณภาพ ๔S ประกอบด้วย
S (Skill of life) สร้างทักษะชีวิต
S (Skill of work) สนับสนุนให้มีทักษะอาชีพ
S (Skill of health) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี
S (Skill of well-being) เพื่อให้เกิดทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข
๓.๒ ขั้นตอนการนำนวัตกรรมไปใช้
โรงเรียนหัวหินวิทยาคม มีวิธีการดำเนินงาน NONSI Model โดยใช้ระบบคุณภาพ PDCA รายละเอียดดังต่อไปนี้
1) ขั้นวางแผน (Plan)
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล N Nature
การศึกษาธรรมชาติของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เน้นข้อมูลในเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย การเยี่ยมบ้าน แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ) แบบรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ดำเนินงานโดยครูที่ปรึกษา
2) ขั้นลงมือทำ (Do)
การคัดกรองนักเรียน O (Objective)
นำข้อมูลจากการศึกษาคัดกรองมาวิเคราะห์ เพื่อการแบ่งกลุ่มนักเรียน และกำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักเรียนในแต่ละกลุ่ม โดยครูที่ปรึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสรุปการคัดกรอง มีการดำเนินการด้วยวิธีที่หลากหลาย เช่น การนำแบบบันทึกข้อมูลนักเรียน และข้อมูลการเยี่ยมบ้านมาวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการจำแนกนักเรียนเป็นกลุ่มจากรายงานการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคลและแบ่งนักเรียน ออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหาและกลุ่มพิเศษ จากแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน (SDQ)
การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน N (Nourishment by network)
การส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามศักยภาพ โดยการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย เพื่อให้นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน โดยส่งเสริมกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษให้มีการพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้น จัดกิจกรรมแบบหลากหลายที่ให้นักเรียนกลุ่มปกติได้ค้นพบความสามารถของตนเอง
- กิจกรรมโฮมรูม
- การจัดประชุมผู้ปกครอง
- กิจกรรมชุมนุม
- กิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพ
- กิจกรรมแข่งขันความสามารถด้านกีฬา
- กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
- กิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้าน
- การร่วมกิจกรรมสร้างเสริมทักษะอาชีพ
- การเสริมสร้างวินัยและประชาธิปไตย
- กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจกฎจราจร
- โครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์
การป้องกันและแก้ไขปัญหา S (Security system)
การสร้างมาตรการเพื่อความปลอดภัย เพื่อคุ้มครองนักเรียน โดยการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยที่ครูที่ปรึกษาดำเนินการ ๓ ประการ คือ
๑. การให้คำปรึกษาเบื้องต้น
๒. การจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
๓. การติดตาม ดูแลช่วยเหลือ อีกทั้งมีการดำเนินงาน และกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาของนักเรียนในกลุ่มต่างๆ เช่น
ด้านยาเสพติด มีการคัดกรองสุ่มตรวจเพื่อให้ทราบปัญหา มีนักเรียน ๔ ฝ่ายแกนนำของโรงเรียน เพื่อให้ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ครูให้คำแนะนำ ปรึกษา มีการสุ่มตรวจซ้ำในรายที่มีปัญหาและส่งต่อหน่วยงานภายนอกเพื่อบำบัดในรายที่เกินความสามารถของครูผู้ดูแล
ด้านสุขภาพ กิจกรรม Clean food good taste เพื่อนักเรียนรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สะอาดและปลอดภัย นักเรียนได้รับความช่วยเหลือจากผลการตรวจสุขภาพ เช่น ได้รับบริจาคแว่นสายตา
ด้านความปลอดภัยและคุ้มครองชีวิต เช่น กิจกรรมสร้างวินัยจราจร โดยเจ้าหน้าที่จากกรมขนส่งทางบก อบรมอุบัติภัยในชีวิตประจำวัน โดยกองบรรเทาสาธารณภัย การทำประกันชีวิตให้กับนักเรียนเพื่อคุ้มครองชีวิต
ด้านทักษะชีวิต อารมณ์ เพศ นำนักเรียนเข้าค่ายการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ โดยรับความร่วมมือจากกรมบังคับคดี สถานีตำรวจหัวหิน แผนกจิตเวชโรงพยาบาลหัวหิน
ด้านเศรษฐกิจ จัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน และคัดเลือกนักเรียนที่ยากจนให้ได้รับสนับสนุนทุนการศึกษาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การร่วมเครือข่ายจัดหางานเสริมให้กับนักเรียน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีประสิทธิผลทางการเรียนต่ำ ซึ่งกิจกรรมอาศัยความร่วมมือกันของโรงเรียนผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์และสอดส่องดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ได้แก่ กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครองห้องเรียน การติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การโทรศัพท์ติดต่อโดยตรง การสร้างไลน์กลุ่มผู้ปกครอง การใช้ระบบดูแลช่วยเหลือ Student care เป็นต้น
ในส่วนของการแก้ไขปัญหาของนักเรียนในกลุ่มต่างๆ ครูประจำชั้นมีการให้คำปรึกษารายกรณี มีการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการช่วยเหลือได้อย่างทันที เช่น ปัญหาด้านการพฤติกรรม ถ้าครูประจำชั้นหรือครูประจำวิชาพบว่านักเรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ครูและผู้เกี่ยวข้องประชุมปรึกษาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไข โดยจะติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมกันแก้ไขปัญหา
3) ขั้นตรวจสอบ (Check)
การปรับปรุงแก้ไข (Improvement)
การปรับปรุงพัฒนานักเรียนและระบบให้มีความเข้มแข็งและประสิทธิผลสูงสุดโรงเรียนจัดให้มีการประสานความช่วยเหลือและส่งต่อร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ได้แก่ การส่งต่อภายใน ครูที่ปรึกษาส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไปยังครูที่สามารถให้การช่วยเหลือนักเรียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของปัญหา เช่น ครูหัวหน้าระดับ โดยแบ่งเป็นหัวหน้าระดับแต่ละระดับชั้นเรียน ครูแนะแนว ครูฝ่ายพยาบาล ครูงานกิจการนักเรียน เป็นต้น
การส่งต่อภายนอก เป็นการส่งนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแก่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือพัฒนานักเรียน กรณีที่เกินความสามารถของโรงเรียน เช่น การส่งต่อเรื่องยาเสพติดที่คลินิกยาเสพติด การส่งต่อด้านด้านสุขภาพที่โรงพยาบาลซานเปาโลหัวหิน การส่งต่อเรื่องเพศศึกษาที่คลินิกวัยรุ่น การส่งต่อด้านพฤติกรรมทะเลาะวิวาทกับโรงเรียนภาคีเครือข่าย เป็นต้น โดยงานกิจการนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการส่งต่อและมีการติดต่อรับทราบการช่วยเหลือเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4) ขั้นพัฒนา (Action)
โรงเรียนหัวหินวิทยาคมมีการพัฒนาหลังจากการปรับปรุงแก้ไข โดยมีการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหัวหินวิทยาคม ภายใต้ระบบการบริหารจัดการระบบการใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ๔S เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ มีจิตสาธารณะและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข ดังนี้
S (Skill of life) สร้างทักษะชีวิต โดยใช้การเสริมแรงให้ตั้งมั่นในเป้าหมาย มีความตั้งใจอันแน่วแน่ สามารถควบคุมตัวเองได้ทำให้เกิดเสถียรภาพทางอารมณ์ ส่งผลให้มองโลกในแง่ดี
S (Skill of work) สนับสนุนให้มีทักษะอาชีพ เรียนรู้กระบวนการทำงานและลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา พัฒนาตัวเองให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
S (Skill of health) ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดี จัดสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพ การศึกษา และการอยู่อาศัย สร้างเสริมสุขภาพโดยบูรณาการในทุกกิจกรรม
S (Skill of well-being) เพื่อให้เกิดทักษะที่ช่วยให้อยู่เป็นสุข โดยการฝึกฝนและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน
N (Nature) การศึกษาธรรมชาติของผู้เรียนเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งปัจจัยภายในและภายนอก อุปสรรคและโอกาส ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลรายบุคคลของผู้เรียน
โดยมีการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหัวหินวิทยาคม ภายใต้ระบบการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วงเหลือ NONSI Model โดยใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ๔S เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ มีจิตสาธารณะและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข
๔.ผลการดำเนินงาน/ ผลสัมฤทธิ์/ ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลการดำเนินงาน
การดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหัวหินวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โดยใช้ NONSI MODEL และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๔S ก่อเกิดความสำเร็จดังนี้
๑. นักเรียนและครูมีความพึงพอใจต่อการใช้ NONSI MODEL และวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ๔S คิดเป็นร้อยละ ๙๘ โดยใช้เครื่องมือ คือแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข นักเรียนเข้าพบครูที่ปรึกษาเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องต่างๆ และนักเรียนสามารถเขียนบันทึกข้อมูลในบันทึกการปฏิบัติงานแกนนำ ๔ ฝ่าย ทั้งนี้เนื่องจากครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มารับฟังปัญหาของนักเรียนมากขึ้น
๒. เมื่อโรงเรียนสานสัมพันธ์กับชุมชน และมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง โรงเรียนจะได้รับเบาะแส หรือการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดด้านยาเสพติดและอบายมุขได้อย่างรวดเร็ว และชุมชนรอบโรงเรียนเปรียบเสมือนเกราะกำบังให้แก่โรงเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ปัญหายาเสพติดและอบายมุขไม่สามารถแพร่ระบาดเข้าสู่โรงเรียนได้โดยง่าย
๓. นักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสพมีจำนวนลดลง
๔. การดำเนินงานมีการกำกับติดตาม สะท้อนผลจากผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายทุกฝ่าย และที่สำคัญการดำเนินการของโรงเรียนหัวหินวิทยาคม มุ่งเน้นการป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติด ด้วยการสร้างความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจและร่างกายให้แก่นักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง โดยใช้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ส่งผลให้นักเรียนเกิดความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด กระบวนการต่อสู้จึงมีความเข้มแข็งและยั่งยืนมากกว่าการมุ่งบำบัดผู้เสพและผู้ติดเพียงอย่างเดียว
๕. สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการนำไปพัฒนาและสร้างระบบป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุข รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาในทุกพื้นที่ เมื่อดำเนินงานตามขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ ที่วางไว้ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาสีขาวและสถานศึกษาคุณธรรมอื่นๆ ได้แก่
- โรงเรียนหนองพลับวิทยา
- โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม
- โรงเรียนบ้านหนองพลับ
- โรงเรียนบ้านปากเหมือง
- โรงเรียนหัวหิน
- โรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการ
- การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
- การนำเสนอผลการดำเนินการจัดกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
- การจัดแหล่งเรียนรู้โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของโรงเรียนหัวหินวิทยาคม โดยใช้กระบวนการขับเคลื่อนการทำงาน NONSI MODEL เคียงคู่ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน ผลการป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนหัวหินวิทยาคม พบว่า นักเรียน คณะครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำทองหลาง เกิดความพึงพอใจในการดำเนินงานโดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ ๙๘ อยู่ในระดับดีเด่น นอกจากนี้ในปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนหัวหินวิทยาคม ยังได้ดำเนินการตามกลยุทธ์และตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน จำนวน ๔ ตัวชี้วัด ด้านการค้นหา จำนวน ๓ ตัวชี้วัด ด้านการรักษา จำนวน ๒ ตัวชี้วัด ด้านการเฝ้าระวัง จำนวน ๒ ตัวชี้วัด และด้านการบริหารจัดการ จำนวน ๕ ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น ๑๖ ตัวชี้วัด ซึ่งจากผลการดำเนินงานตามโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุขของโรงเรียนหัวหินวิทยาคม สามารถสรุปผลการประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข โดยมีคะแนนการประเมินตนเองของสถานศึกษา ร้อยละ ๙๙ อยู่ในระดับดีเด่น ดังข้อมูลในตารางที่ ๑ (แบบประเมินสถานศึกษาสีขาว ๒) และประเด็นสำคัญที่สุด คือ นักเรียนในกลุ่มติดและกลุ่มค้า โรงเรียนหัวหินวิทยาคมสามารถส่งเข้ารับการบำบัดและส่งต่อร้อยละ ๑๐๐ และสามารถช่วยเหลือบำบัดนักเรียนออกมาเป็นกลุ่มปกติได้ ร้อยละ ๑๐๐ อย่างไรก็ตามสถานศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ต้องดำเนินโครงการหรือกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้นในแต่ละปีการศึกษา เพื่อให้จำนวนนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพและกลุ่มติด ลดน้อยลงไป
๕.ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านขวัญและกำลังใจ แนะนำ กำกับติดตาม และร่วมกันประเมินผลการดำเนินงาน
๕.๒ ครูทุกคนทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย ในการปฏิบัติงาน
๕.๓ ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการกำกับ ติดตาม และแก้ไข ปัญหาของบุตรหลานเป็น อย่างดี
๕.๔ ชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ให้การสนับสนุนและ มีส่วนร่วมและ ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของนักเรียน
๕.๕ ครูประจำชั้น ทุกคนดูแลนักเรียนในระดับชั้นที่ตนเองรับผิดชอบอย่างทั่วถึง ปัญหาหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่นักเรียนแสดงออกจะได้รับ การดูแลและแก้ไขอย่างเหมาะสมทันเวลา
๕.๖ สถานศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม อย่างชัดเจน ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกที่ดี สร้างทักษะชีวิตของเด็กอย่างเข้มแข็งส่งผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติด
๖.บทเรียนที่ได้รับ
๖.๑ การออกแบบการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ คือ การใช้ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินงานในปีการศึกษาที่ ผ่านมา มาร่วมกันวิเคราะห์จุดแข็งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ หรือดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษา ปัจจุบัน และวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงก่อนดำเนินการตามกระบวนการในวงรอบถัดไปคณะครูและ บุคลากรในโรงเรียนทุกคน ควรใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพื่อค้นคิดหาวิธีการใหม่ๆ ตามหลักวิชาการ หรือแม้แต่การ ลองผิด ลองถูก เพื่อมาปรับปรุง และพัฒนาการทางานให้ดีขึ้น การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ต้องอ่านให้มาก ฟังให้มาก จดให้มาก และคิดให้มาก มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และไม่ย่อท้อ เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรค ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานอยู่เสมอ ไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ มีวินัยไม่ทอดทิ้งก่อนที่จะด าเนินงานให้บรรลุผล สำเร็จ
๖.๒ การแก้ปัญหายาเสพติด ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อ ร่วมกันดูแล สอดส่อง ปกป้อง คุ้มครองนักเรียน รวมทั้งให้การสนับสนุนนักเรียนในการทำกิจกรรมด้านต่างๆ อย่าง เต็มที่ มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
๖.๓ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจให้แก่นักเรียน เปรียบเสมือนการให้วัคซีน (Vaccine) เพื่อใช้ต่อต้านยาเสพติด นักเรียนจะสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ดี หรือหนทางแห่ง อบายมุข และสามารถตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีสติและมีวิจารณญาณ รู้จักยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุ ต่างๆ โดยจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมทั้งระบบ นักเรียนต้องนำคุณธรรม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์และ ความ รับผิดชอบในตนเอง ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ห่างไกลจากยาเสพติด