บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย: การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม
ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนา
ความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย: นางสาวอามีนะฮ์ สามะ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
หน่วยงาน: โรงเรียนบ้านสายชล อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
ปีที่วิจัย: 2564-2565
การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างสื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อทดลองใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ (3) เพื่อประเมินการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านสายชล อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 9 ชนิด คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 22 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( ) (2) สื่อประสมวิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 หน่วย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ) (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.825 (4) แบบทดสอบวัดความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.45 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.970 (5) แบบประเมินทักษะ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบรูบิกส์สกอร์ (Rubrics Score) 5 รายการ 4 ระดับ จำนวน 20 คะแนน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.95 และ (6) แบบสอบถามวัดความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.55 ถึง 0.92 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าซี (Z-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบ (R1,D2)
1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (R1)
1) สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง
2) ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสายชล อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 การพัฒนารูปแบบ (D2)
1) การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปรากฏการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น
2) การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.69/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียน ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาว ของเนื้อหา
2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D2)
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อย เมืองยะรังสนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7056 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7056 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.56
3. ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ (Evaluation Research: R2)
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองยะรัง สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66)