รายงานการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ รายวิชา คณิตศาสตร์
รหัสวิชา ค33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ครูผู้สอน นายอภินันท์ โพธิ์กันทา
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านเข็กน้อย
ปีการศึกษา 2566
...................................................................................................................................................
1. วัตถุประสงค์ของการรายงาน
1.1 เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ คะแนนความก้าวหน้าและเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน
โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบวิชาคณิตศาสตร์
รหัส ค 33101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566
1.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ
วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค 33101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566
2. ขอบเขตการรายงาน
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การนำเสนอข้อมูล
ด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค 33101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2566
2.2 นักเรียนระดับชั้น ม.6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 25 คน
3. เอกสารประกอบการรายงาน
- แผนการจัดการเรียนรู้
- แบบบันทึกการเก็บคะแนน
- แบบประเมินใบงาน
- แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
- แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์
- แบบบันทึกผลการประเมินสมรรถนะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- สื่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
4. ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน และคะแนนความก้าวหน้า
วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค 33101 เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 พบว่า คะแนนก่อนเรียน หลังเรียน วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค 33101
เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 มีนักเรียน
จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ วิชาคณิตศาสตร์ รหัส ค 33101 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ปีการศึกษา 2566 ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด พิจารณารายด้านและรายข้อ พบว่า ด้านเนื้อหา มีความยากง่ายพอเหมาะ
มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00 มีประโยชน์น่าสนใจ มีความพึงพอใจ ระดับมาก
จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 เหมาะสมกับเวลา มีความพึงพอใจ ระดับมาก จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลายรูปแบบน่าสนใจ มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด
จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 จัดกิจกรรมส่งเสริมกระบวนการกลุ่มและการระดมพลังสมอง มีความพึงพอใจ
ระดับมากที่สุด จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน ค้นคว้า สังเกต รวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ คิดอย่างหลากหลาย และสร้างสรรค์สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด
จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 52.00 ครูเป็นผู้ชี้แนวทางให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยทำกิจกรรมกลุ่ม
มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00 มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
และให้แรงเสริมด้วยการยกย่องชมเชย มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00
ฝึกให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นรู้จักหน้าที่ของตนเอง เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00ลำดับขั้นตอนในการจัดกิจกรรมไม่สับสน
มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 18 คน คิดเป็น ร้อยละ 72.00 กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา มีความพึงพอใจ
ระดับมากที่สุด จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 72.00 มีความสุขสนุกสนานกับการเรียน มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด
จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 68.00 ด้านสื่อการเรียนการสอน สื่อสอดคล้องกับจุดประสงค์ มีความพึงพอใจ
ระดับมากที่สุด จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88.00ใช้สื่อตรงเนื้อหา มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 22 คน
คิดเป็นร้อยละ 88.00 สื่อมีความชัดเจนน่าสนใจ มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00
สื่อใช้จ่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 ใช้สื่อเหมาะสมกับวัยผู้เรียน
มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 64.00 ด้านการวัดผลประเมินผล มีการวัดผลการเรียนรู้หลายรูปแบบ
เน้นการวัดผลตามสภาพจริง และจากชิ้นงานที่มอบหมาย มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00
สร้างเกณฑ์การประเมินอย่างชัดเจน มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 68.00 และผู้เรียนมีส่วนรวม
ในการประเมิน มีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00
5. สรุปผลลัพธ์จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
ด้านความรู้ (knowledge) นักเรียนสามารถเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบได้อย่างถูกต้อง
จากการตรวจใบงาน เรื่อง เสื้อรุ่นที่ระลึก โดยนักเรียนสามารถอธิบายการนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบได้อย่างถูกต้อง
จากการตรวจใบงาน พบว่า ใบงาน เรื่อง เสื้อรุ่นที่ระลึก มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.68 คะแนน และนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี ขึ้นไป
จำนวน 25 คนคิดเป็น ร้อยละ 100.00 และสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มกิจกรรม Professional marketing planner
พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.28 คะแนน และนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 100.00
ด้านทักษะ/กระบวนการ (Practice) นักเรียนออกแบบและเขียนแผนภูมิแท่งส่วนประกอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม บรรลุตามวัตถุประสงค์
จากการประเมินใบงาน เรื่อง เสื้อรุ่นที่ระลึก พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.68 คะแนน และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี ขึ้นไป
จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มกิจกรรม Professional marketing planner
พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.28 คะแนน และนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00
และจากการสังเกตพฤติกรรมเพื่อประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ2.88 คะแนน และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย
ตั้งแต่ระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00
ด้านคุณลักษณะ (Aattitude) จากการประเมินประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนมีความมุมานะ
ในการทำความเข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จากการสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ระดับดี
ขึ้นไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 และจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในการเรียนคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 คะแนน
และนักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00
สมรรถนะสำคัญ จากการประเมินนักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
จากการประเมินการสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.16 คะแนน และนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 100.00
คุณลักษณะอันพึงประสงค์จากการประเมิน นักเรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงานจากการ ประเมินการสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรม
พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.00 คะแนน และนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ระดับดี ขึ้นไป จำนวน 25 คนคิดเป็นร้อยละ 100.00
6. จุดเด่นของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบรายวิชา คณิตศาสตร์
รหัสวิชา ค33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ ถูกต้องตรงตามหลักสูตร
การออกแบบการเรียนการสอนโดยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและใช้เวลาที่เหมาะสม
นักเรียนเข้าใจบทเรียนเนื่องจากมีการใช้สื่อที่หลากหลายและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน นักเรียนสามารถนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภูมิ
แท่งส่วนประกอบได้ มีการทบทวนความรู้ ทักษะและประสบการณ์เดิม โดยการให้นักเรียนตอบคำถามแผนภาพ เชื่อมโยงความรู้ เรื่องแผนภูมิแท่ง
แผนภูมิแท่งเชิงเดี่ยวและแผนภูมิแท่งพหุคูณ ครูได้อธิบายและยกตัวอย่างรวมทั้งใช้คำถามกระตุ้นเพื่อทบทวนความรู้และสังเกตความพร้อมของนักเรียน
การกล่าวชมเชยและให้กำลังใจนักเรียน นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิมและความรู้ใหม่ได้
นักเรียนได้สร้างประสบการณ์ใหม่ใช้กระบวนการทำงานกลุ่มที่เหมาะสมกับวัย
นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่หลากหลาย กิจกรรม Professional marketingplanner ได้ กล้าแสดงออก สื่อสารคล่องแคล่ว
นำเสนอผลงานได้และวิเคราะห์ปัญหาที่หัวข้อข้อมูลที่ครูกำหนดให้ได้ สามารถนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและสรุปความรู้ได้
นักเรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียนจากการแก้ปัญหา กิจกรรมมีความท้าทายความสามารถของนักเรียน เนื่องจากนักเรียนต้องปฏิบัติร่วมกันเป็น
กลุ่มและออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และเน้นการปฏิบัติ ตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหา การวางแผนในการทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยเหลือร่วมมือกันทำกิจกรรมภายในกลุ่มของตนเอง กิจกรรม Professional marketing planner และนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้
นักเรียนได้ทำใบงาน เรื่อง เสื้อรุ่นที่ระลึก สามารถสรุปนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ ได้อย่างถูกต้อง
7. จุดด้อยของแผนการจัดการเรียนรู้
การปฏิบัติกิจกรรม Professional marketing planner ขั้นการหาข้อมูลและสร้างแผนภูมิแท่งส่วนประกอบของแต่ละกลุ่ม
ปัญหาจากสัญญาณอินเตอร์เน็ตช้า ทำให้นักเรียนทำกิจกรรมนี้โดยใช้เวลานานกว่าปกติที่ครูวางแผนไว้
8. ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ
ในขั้นการหาข้อมูลและสร้างแผนภูมิแท่งส่วนประกอบของแต่ละกลุ่ม ในกิจกรรม Professional marketing planner ครูควรสังเกตข้อมูล
ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มใช้เพื่อวางแผนสำหรับการนำเสนอในลำดับต่อไปให้เหมาะสมต่อการสร้างแผนภูมิแท่งส่วนประกอบ รวมทั้งครูควรสังเกตนักเรียน
แต่ละกลุ่มว่ามีปัญหาหรือข้อติดขัดหรือไม่ หากมีควรเข้าไปทำการช่วยเหลือและกระตุ้นให้นักเรียนในกลุ่มช่วยกันระดมความคิดในการสร้างชิ้นงาน
รวมถึงกระตุ้นนักเรียนในเรื่องการวางแผนการใช้เวลาในการสร้างชิ้นงานเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้ามากเกินไป