การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง
ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์กลางเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนดอนไพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 2) ครู จำนวน 12 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 100 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู
ที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปผลการวิจัย.
1. การวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษา
พอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการคำนึงถึงปัจเจกบุคคล พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.63 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49
นั่นแสดงว่า ผู้บริหารโรงเรียนดอนไพลพิยาคม สามารถบริหารงานภายใต้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. การวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใน 4 ด้าน 1) การบริหารวิชาการ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การบริหารบุคคล และ 4) การบริหารทั่วไป พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.67 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47
นั่นแสดงว่า ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 4 ด้าน เป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษาพอเพียง นำสู่การปฏิบัติให้เกิดภาพความสำเร็จได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกเกณฑ์การประเมินเป็น 4 ด้าน คือ ด้านผลการปฏิบัติงาน ด้านความประพฤติในการรักษาวินัยด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ พบว่า ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ในภาพรวมผลการพัฒนาก่อนการวิจัย มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.72 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.17 และหลังการวิจัยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.70 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.33 และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 โดยใช้ t test พบว่า หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.60 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.46
นั่นแสดงว่า การปฏิบัติงานของผู้บริหารภายใต้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง ก้าวสู่ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2565 เกิดผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ที่ครอบคลุมองค์ประกอบของสถานศึกษาพอเพียง ที่พร้อมจะก้าวไปสู่ศูนย์การเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ซึ่งตอบสนองความต้องการในคุณค่าความภูมิใจ ศรัทธา การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาใช้ได้ทุกมิติของการดำรงชีวิตและประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีความสุขความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้จริง เกิดความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4