รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม ด้วยแบบฝึก
โดย นายเอนก บุญสวน โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2564
ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย
ในการจัดการเรียนการสอน ครูจะต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียน คำนึงถึงความต้องการของ
ผู้เรียน และพยายามสอนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาต่างๆ และได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการ
เรียนการสอน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องมีการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมใน
การเรียนมากที่สุด
แต่จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2563 เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง นั้น นักเรียนจำนวนร้อยละ 50 คือ 67 คน จากทั้งหมด 134 คน ได้
คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม อีกทั้งในสถานการณ์โควิด 19 ทำให้การจัดการเรียนการสอน
เป็นไปได้ยากกว่าปกติ
ผู้วิจัยจึงได้นำกฎการฝึกหัดมาใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ทำซ้ำ ๆ กัน เพื่อช่วยสร้างความรู้ความ
เข้าใจที่แม่นยำจากปัญหา มาใช้ในการเรียนการสอนวิชา วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่
ในแนวตรง เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีความคาดหวังว่า การวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์
ในการพัฒนาการเรียนการสอน วิชา ฟิสิกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ในอนาคต และ เป็นแนวทางใน
การพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวตรง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหล่มเก่าพิทยาคม โดยใช้แบบฝึก
สรุปและอภิปรายผล
ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ 2 เรื่อง การเคลื่อนที่ใน
แนวตรง พบว่า คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 12.10 คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 3.10 และ ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะแบบฝึกเป็นสื่อการสอนที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ทำความเข้าใจ และฝึกฝนจนเกิด
ความคิดที่ถูกต้องและเกิดทักษะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบฝึกเป็นเครื่องมือสำคัญที่ครูทุกคนใช้ในการ
ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะของผู้เรียน สอดคล้องกับผลการวิจัยของสอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของวริศรา ศรีสวัสดิ์และคณะ (2559 : 24-26) ที่ได้ทำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริม
ทักษะวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์มี
ประสิทธิภาพ 77.32/79.20 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน
ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05