ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบ GSCA Model ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย
ผู้วิจัย นางหงษ์ลุน สะท้านบัว ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบ
GSCA Model ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย ตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบ GSCA Model ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย 4) พัฒนาทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบ GSCA Model ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน และครูผู้สอนประวัติศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 15 คน โดยใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์แบบ GSCA Model จำนวน 10 แผน ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ จำนวน 10 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดสังเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ จากสูตร E1/E2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบ GSCA Model ร่วมกับการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย มีชื่อว่า Generate interest ; Synthesis Type Think ; Construction ; Application Model
(GSCA Model) มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้
ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง
ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Generate interest : G)
2) ขั้นคิดสังเคราะห์ (Synthesis Type Think : S) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) และ
4) ขั้นนำไปใช้ (Application : A)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.45/89.35 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตาม
รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์
ร้อยละ 80 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 94.44 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียน
กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการคิดสังเคราะห์อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยของครู เท่ากับ 4.30 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.50 ค่าเฉลี่ยของนักเรียน เท่ากับ 4.45 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.75