เรื่องที่วิจัย การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล
แสนสุข สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นางสาวจตุพร พิณทอง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่วิจัย 2565
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลแสนสุข สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลแสนสุข จังหวัดอุบลราชธานี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). พัฒนาครูโรงเรียนเทศบาล
แสนสุข สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ให้มีความรู้ในการทำวิจัยในชั้นเรียนสามารถทำวิจัยในชั้นเรียนและรายงานการวิจัยในชั้นเรียนได้ 2). เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเทศบาลแสนสุข สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน
ระยะเวลาการวิจัยระหว่างวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2566 โดยแบ่งเป็น 2 วงรอบ ดังนี้
วงรอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
วงรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 10 มีนาคม 2566
เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1). แบบทดสอบ เรื่อง กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียน
2). แบบสัมภาษณ์การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3). แบบสัมภาษณ์การนิเทศภายในการส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครูผู้สอน
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วงรอบ โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจใน เรื่อง การจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของบุคลากรด้านการศึกษาแล้วดำเนินการนิเทศภายในตามกิจกรรมประเมินการจัดการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมชุมชนแห่ง
การเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อให้การเขียนวิจัยในชั้นเรียนมีความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ ในการปฏิบัติการซึ่งผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไขในวงจรต่อไป
1). ผลการพัฒนาในวงจรที่ 1 พบว่า การฝึกอบรม ทำให้ครูกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจแต่ยังขาดความมั่นใจในการทำการวิจัยในชั้นเรียน และเข้าใจว่า การทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ได้ยากอย่างที่เข้าใจ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ครูกลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจในตัวเองว่าจะสามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนได้ รวมถึงการนิเทศภายใน ทำให้ครูกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเมื่อมีการนิเทศทำได้ทั่วถึง และสม่ำเสมอจะสามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนได้ผลมากขึ้น ผลการดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 1 เมื่อดำเนินการปฏิบัติครบทุกกิจกรรมแล้ว พบว่า ครูกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับพอใช้เห็นได้จากการทดสอบความรู้ คิดเป็นร้อยละ 61.05
ครูกลุ่มเป้าหมายปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนครบทุกคน กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันสรุปข้อบกพร่องเพื่อปรับแผนปฏิบัติการใหม่ นำไปพัฒนาในวงจรที่ 2 ต่อไป
2). ผลการพัฒนาในวงจรที่ 2 การพัฒนาในวงจรที่ 2 นี้ เป็นการพัฒนาเพื่อให้ครูกลุ่มเป้าหมายเกิดความมั่นใจและชัดเจนในการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า การประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาให้ดำเนินการไปอย่างถูกต้อง ตามกรอบที่ต้องพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยให้ครูกลุ่มเป้าหมายดำเนินการเขียนเค้าโครง ดำเนินการทำวิจัยและเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งครูกลุ่มเป้าหมายมีความตั้งใจที่จะทำการวิจัยให้เป็นผลสำเร็จ และการนิเทศภายใน เป็นการแนะนำช่วยเหลือครูกลุ่มเป้าหมายให้ดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ถูกต้องและเกิดความมั่นใจ ซึ่งการนิเทศนี้ได้ทำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลการดำเนินการพัฒนาในวงจรที่ 2 จากการดำเนินการพัฒนาครูกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนเทศบาลแสนสุข ตามแผนปฏิบัติการในวงจรที่ 2 เมื่อดำเนินการปฏิบัติครบทุกกิจกรรมแล้ว ครูกลุ่มเป้าหมายได้นำข้อมูลผลการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการมาวิเคราะห์ โดยภาพรวมแต่ละด้าน วิพากย์ วิจารณ์
3). ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ส่งเสริมกระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลแสนสุข ได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 16.38 คะแนนทดสอบหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ย 26.00 ค่า t = 2.0518 ส่วนค่า t-test ที่คำนวณได้ = 32.785 ซึ่งค่า t ที่คำนวณได้สูงกว่าค่า t จากตาราง df = 16, P (2 tailed) = .001 และค่า p < (.000< .01) สรุปได้ว่า ความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริม กระบวนการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาลแสนสุขหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01