ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ
ผู้วิจัย นางสาวศิรินทร์ทิพย์ ไชยสีหา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ 4) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ 5) ประเมินความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนพระธาตุขามแก่นพิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน และครูผู้สอนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ ครู และนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความต้องการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ ในระดับมาก นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีการทำงานเป็นกระบวนการกลุ่ม และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. การจัดการเรียนรู้แบบ DACA Model ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน จำนวน 10 ชั่วโมง ไม่รวมแผนปฐมนิเทศ และทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.55/ 82.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80 / 80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ DACA Model พบว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนให้ความสนใจ กระตือรือร้นต่อการจัด การเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมได้ตามที่กำหนด
3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินแลปรับปรุงแก้ไข การสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้เพียงพอ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.45, S.D. = 0.75) นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานโดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง ส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและร่วมสร้างสรรค์สังคมได้
คำสำคัญ รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา DACA Model เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์