ชื่อเรื่องวิจัย: ผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้
หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
ผู้วิจัย: นายเรืองยศ ปันศิริ
หน่วยงาน: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
ปีที่วิจัย: 2566
บทคัดย่อ
ผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ใช้รูปแบบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาบริบทและความต้องการการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประการที่สอง เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และประการที่สาม เพื่อศึกษาผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างสถานศึกษาที่เปิดทำการสอนในปีการศึกษา 2566 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบทและความต้องการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ขั้นตอนนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจตามแนวคิดพื้นฐานการบริหารงานและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 AITC (Area-Based Management, Innovation, Technology, Cross-cultural Awareness ) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ขั้นตอนนี้ได้นำข้อมูลจากการศึกษาบริบทและความต้องการพัฒนา อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมมาดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 โดยใช้แนวคิดการบริหาร เสือ 5 ดาว และ 3 ทำ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อการจัดการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสถานศึกษา ระดับชุมชนและแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมในการจัดการศึกษา โดยมีผลการวิจัย ดังนี้
ผลการศึกษาบริบทและความต้องการพัฒนาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(X ̅=3.82, S.D.=0.97) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน(A) (X ̅=3.70, S.D.=0.55) ด้านนวัตกรรม(I) (X ̅=4.36, S.D.=0.49)และ ด้านเทคโนโลยี(T) (X ̅=4.45, S.D.=0.80) ส่วนด้านความตระหนักรู้ เข้าใจ และยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายทางพหุวัฒนธรรม(C) อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=3.40, S.D.=0.94) โดยมีประเด็นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสอดคล้องกับพหุวัฒนธรรมสู่การรักถิ่นฐานบ้านเกิด อยู่ในระดับน้อย (X ̅=2.41, S.D.=0.61)
ผลการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.51, S.D.=0.54) และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (X ̅=4.38, S.D.=0.51) และมีผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดของโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.82, S.D.=0.38)
ผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ฐานสังคมพหุวัฒนธรรมโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่นรักถิ่นฐานผูกพันบ้านเกิดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 อยู่ในระดับมาก (X ̅=4.23, S.D.=0.54)