ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น
(Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวสรัณย์พร ปวนสุรินทร์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านป่าต้าก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีที่ทำวิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านป่าต้าก ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดอย่าง มีวิจารณญาณของครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านป่าต้าก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 และศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และทดลองนำร่องเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการสอนโดยนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการสอนโดยสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนบ้านป่าต้าก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า 1) ด้านนักเรียน นักเรียนไม่สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ และปฏิบัติกิจกรรมได้ ไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ไม่มีอิสระใน การตอบคําถาม และเบื่อหน่ายบรรยากาศในการเรียนรู้ 2) ด้านครูผู้สอน ครูผู้สอนใช้รูปแบบการสอนเดิม ๆ ยึดเอกสารประกอบการสอนเป็นหลัก จากหนังสือแบบเรียนสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และวัดผลประเมินผลจากการทดสอบเป็นหลัก ขาดแนวคิดหรือทฤษฎีที่นำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น คือ รูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นตั้งปัญหา ขั้นสาธิต และให้ผู้เรียนปฏิบัติ ขั้นลงมือกระทำจนสามารถทำได้เอง ขั้นให้เทคนิควิธี ขั้นกระทำอย่างเป็นธรรมชาติ ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ และ 5) การวัดและประเมินผล การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.60 , = 0.51) ผลการทดลองนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้พบว่า รูปแบบ การสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.68/83.73 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนพบว่า ความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับ การสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบกระตือรือร้น (Active learning) เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบ การสอนโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.65 , = 0.55) และครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (µ = 4.96 , = 1.67)