ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง
ผู้ประเมิน : นางวิภาสินี เมืองทรัพย์
ปีการศึกษา : 2565
การประเมินโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อประเมินโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง โดยใช้แบบจำลองการประเมิน CPO (CPOS Evaluation Model) ด้านปัจจัยพื้นฐาน ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง (3) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการ พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น 27 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร-ครู จำนวน 13 คน (ไม่รวมผู้ประเมิน) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่นับรวมครูผู้สอน และผู้บริหารที่เป็นตัวแทนในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 คน) ครูผู้นิเทศ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้นจำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหาร และครูผู้นิเทศ ครูผู้สอนที่รับการนิเทศ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับใช้ประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ (Context) จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .973 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูผู้นิเทศ ครูผู้สอนที่รับการนิเทศ ใช้ประเมินด้านกระบวนการระหว่างดำเนินโครงการ (Process) จำนวน 55 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .959 ฉบับที่ 3 แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและครูผู้นิเทศใช้ประเมินผลผลิตของโครงการ (Outcome) คือ ประสิทธิภาพการสอนของครู จำนวน 35 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .944 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามสำหรับครูผู้รับการนิเทศ ใช้ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อม (Context) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) และความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนวัตถุประสงค์ของโครงการ (Objectives) และความพร้อมและทรัพยากร ( Readiness and resources) ในการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ (Need Assessment) รองลงมา คือ ความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความพร้อมและทรัพยากร ( Readiness and resources)
2. กระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ (Process) โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ช่วงเวลาการดำเนินการ (Timing) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมโครงการ (Activity)
3. ผลผลิตของโครงการ (Outcome) เกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของครู โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างความชัดเจนในบทเรียน รองลงมา คือ การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การส่งเสริมให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
4. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนและการกำหนดทางเลือก รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลการนิเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเตรียมการนิเทศ และด้านการปฏิบัติการนิเทศ
5. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังดำเนินโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดตรังคภูมิพุทธาวาส เทศบาลเมืองกันตัง จังหวัดตรัง ประจำปีการศึกษา 2565 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้