การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองกระบอกราษฎร์อุทิศวิทยา และเพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนให้
ปลอดจากยาเสพติด ด้วยกลยุทธ์ 3AS โรงเรียนบ้านหนองกระบอกราษฎร์อุทิศวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองกระบอกราษฎร์อุทิศวิทยา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 129 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษา
ปีที่ 3 จำนวน 129 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 129 คน ครูและผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และที่ปรึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศ แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกผลการดำเนินงานตามโครงการ แบบประเมินแผนการจัดกิจกรรมคุณธรรมนำสุข แบบสังเกตการสอน
และแบบทดสอบความรู้ ทักษะ วิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข
กลยุทธ์ในการพัฒนาประกอบด้วย กลยุทธ์ 3AS ได้แก่ A1: สร้างความตระหนัก (Awareness) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ A2: ส่งเสริมพลังกิจกรรมนักเรียน (Activities of Student) ประกอบด้วย กิจกรรมโครงงานคุณธรรม และกิจกรรมสภานักเรียน A3 :จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Activities) ประกอบด้วย กิจกรรมลดเวลาเรียน กิจกรรมสถานศึกษาสีขาว กิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมคุณธรรมนำสุข กิจกรรมลูกเสือ กิจกรรมสัปดาห์วิชาการ กิจกรรมส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ และกิจกรรมครูแดร์ (D.A.R.E.) เพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน และ S: นิเทศ กำกับ ติดตาม (Supervise) ดำเนินโครงการนิเทศภายใน ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาที่จะต้องดำเนินการพัฒนา คือ คุณธรรม จริยธรรมนักเรียนใน 4 ด้าน
คือ ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความพอเพียง ความมีจิตสาธารณะ และความรู้ ทักษะ วิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข
2. ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ พบว่า กลยุทธ์A1: สร้างความตระหนัก (Awareness) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่งผลให้คณะครูเกิดความตระหนัก มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนเพิ่มมากขึ้น กลยุทธ์ A2: ส่งเสริมพลังกิจกรรมนักเรียน (Activities of Student) กิจกรรมโครงงานคุณธรรม ส่งผลให้นักเรียนในโรงเรียนทำโครงงานคุณธรรมได้ นักเรียนแต่ละชั้นเรียนร่วมกันคิดหาวิธีการแก้ปัญหาโดยการทำโครงงานคุณธรรม และนำสู่การปฏิบัติทั้งโรงเรียนและรายห้องเรียน ส่งผลให้นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความร่วมมือ นักเรียน ร่วมกันลงมือปฏิบัติโครงงานคุณธรรม ร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมกันปรับปรุงแผน มีการสะท้อนผลในทุกสัปดาห์และประเมินผลอย่างต่อเนื่องจนบรรลุผลสำเร็จ กิจกรรมสภานักเรียน ส่งผลให้ การดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมประสบผลสำเร็จ กลยุทธ์ A3: จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ (Creative Activities) กิจกรรมลดเวลาเรียน ส่งผลให้ นักเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมลดเวลาเรียนตามที่ตนเลือกได้ประสบผลสำเร็จ มีความภูมิใจในผลงานของตน กิจกรรมที่นักเรียนเลือกสามารถเผยแพร่ผลงานต่อผู้ปกครองและชุมชนเป็นแบบอย่างได้ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ นักเรียนมีวินัยทำงานเสร็จตามกำหนด กิจกรรมสถานศึกษาสีขาวส่งผลให้นักเรียนปลอดจากสารเสพติด รู้จักหลีกเลี่ยงจากสารเสพติด นักเรียน มีจิตสาธารณะรู้จักเสียสละดูแลช่วยเหลือกัน มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรู้คู่คุณธรรม มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครอง และครูประจำชั้นติดตามพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และร่วมกันแก้ไข และมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระหว่างบ้านและสถานศึกษา กิจกรรมออมทรัพย์ส่งผลให้นักเรียนออมทรัพย์ประจำวันเพิ่มมากขึ้น โดยนักเรียนมีเงินออมทรัพย์กับสหกรณ์นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจที่นักเรียนมีเงินออมทรัพย์ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ นักเรียนมีวินัยในตนเองรู้จักเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ทำกิจกรรมตามกำหนดเวลา ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาพืช เลี้ยงสัตว์ตามที่ได้รับผิดชอบ มีผลผลิตจำหน่ายและนำกลับบ้าน กิจกรรมวันสำคัญ ส่งผลให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความรับผิดชอบ และความมีจิตสาธารณะ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ กับโรงเรียน
ได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รู้จักการเสียสละต่อส่วนรวม ร่วมบริจาคทรัพย์ต่อชุมชน/วัด กิจกรรมคุณธรรมนำสุข ส่งผลให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาตนเอง และมีความรู้ความเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ครูผู้สอนสามารถตรวจสอบ แนะนำการประพฤติตนในด้านต่าง ๆ ของนักเรียนที่ได้ปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ กิจกรรมลูกเสือ ส่งผลให้นักเรียนได้ฝึกการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น กระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม เรียนรู้เรื่องการเป็นคนดี รู้จักวิเคราะห์แยกแยะพฤติกรรมหรือสถานการณ์ มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความพอเพียงและมีจิตสาธารณะเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมสัปดาห์วิชาการ นักเรียนมีโอกาสในการแสดงออกความสามารถด้านต่าง ๆ ตามที่นักเรียนแต่ละคนสนใจ นักเรียน ครู เผยแพร่ผลงานสู่ชุมชน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการติดตามผลการเรียนของบุตรหลาน รวมถึงนักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาของกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น มีวินัยในการฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมวิชาการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ กิจกรรมครูแดร์ (D.A.R.E.) เพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด มีทักษะในการตัดสินใจ มีทักษะในการปฏิเสธการใช้ยาเสพติดเมื่อถูกชักชวนให้ทดลองเสพยาเสพติด และกลยุทธ์ S: การนิเทศ กำกับ ติดตาม (Supervise) ดำเนินโครงการนิเทศภายใน ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมตามกลยุทธ์การพัฒนาประสบผลสำเร็จ
3. ผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 พบว่า นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ความมีวินัย ความพอเพียง และความมีจิตสาธารณะสูงขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา และนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะ วิธีการหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขสูงกว่าก่อนการพัฒนา