ประเภทผลงาน : วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ครูผู้สอนภาษาไทย ส่งผลให้ผู้เรียนอ่านคล่องเขียนคล่อง ระดับ ป.๔-๖
รายละเอียดการนำเสนอผลงาน
๑. ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
๑.๑ ความเป็นมาและสภาพปัญหา
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจการขับเคลื่อนนโยบาย เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยกระทรวงศึกษาธิการจะขับเคลื่อนและส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนให้มีการพัฒนาทักษะไปสู่ศตวรรษที่ 21 และการเตรียมความพร้อมการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA)
โดยตั้งเป้าหมายความสำเร็จไว้ เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ๖ อ่านคล่องเขียนคล่อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 มีสมรรถนะการอ่านขั้น
สูง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและขับเคลื่อนการศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการใช้ภาษาไทยที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตลอดจนการนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพต่อไป สำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การประชุมสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจ ในการขับเคลื่อนนโยบาย และการอบรมวิทยากรแกนนำ
ระยะที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูผู้สอนทุกโรงเรียน
ระยะที่ 3 การขยายผลสู่ครูผู้สอนทุกคนในโรงเรียน และติดตามการนำองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ
จากนโยบาย เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ๖ อ่านคล่องเขียนคล่อง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 มีสมรรถนะการอ่านขั้นสูง นั้น หลังจากที่สถานศึกษาทุกแห่งทั่วประเทศประสบปัญหาด้านการเรียนการสอน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-๑๙) ทำให้คุณภาพผู้เรียนในด้านการอ่าน การเขียนลดลง เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่จะต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์ การเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนก็ย่อมลดลงตามไปด้วย ผลที่ตามมา คือ นักเรียนมีความรู้ ความสามารถไม่ตรงตามช่วงวัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนในอนาคต การเรียนในชั้นเรียนที่มีครูผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ประสบการณ์ และเทคนิคต่าง ๆ จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการอ่าน การเขียนของนักเรียนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่นักเรียนทุกคนจะต้องฝึกอ่าน เขียนให้คล่องตามระดับช่วงวัยของตนเอง
๑.๒ แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
จากปัญหานักเรียนอ่าน เขียนไม่ตรงตามความสามารถของช่วงวัยนั้นสามารถแก้ไขปัญหาโดยการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้จะช่วยยกระดับความรู้ความสามารถด้านการอ่าน และการเขียนของนักเรียนได้ อย่างเช่นการอ่าน การเขียนเรื่อง คำควบกล้ำ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่นักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ การใช้นวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น จะทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องคำควบกล้ำมากขึ้น และส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนักเรียนมากยิ่งขึ้น
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ จุดประสงค์
๒.๑.๑ เพื่อให้นักเรียนอ่านคล่องเขียนคล่อง
๒.๑.๒ เพื่อให้นักเรียนอ่าน เขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้
๒.๑.๓ เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๒.๒ เป้าหมาย
๒.๒.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านโนนรัง ปีการศึกษา 256๕ อ่านคล่องเขียนคล่อง ร้อยละ ๙๕
๒.๒.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านโนนรัง ปีการศึกษา 256๕ อ่านเขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น ได้ร้อยละ ๙๕
๓. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
การผลิตนวัตกรรมจะใช้หลักการของวงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) คือ แนวคิดการพัฒนาการทำงานเพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนามาจากแนวคิดของ วอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart) นักสถิติในงานอุตสาหกรรมต่อมาแนวคิด นี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) นักจัดการบริหารคุณภาพ ได้นำเสนอ และเผยแพร่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดีขึ้น ซึ่งจะ ใช้ในการค้นหาปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการทำงานโดยพนักงาน จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วงจรเดมมิ่ง หรือ วงจร PDCA ซึ่งมีหลักการ ดังนี้
1. การวางแผน (Plan) คือ การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิด การทำงานที่ได้ผลงาน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสิ่งใหม่ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ในการออกแบบผลงาน และนวัตกรรมได้มี การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย กำหนดการ ดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการ และกำหนดงบประมาณที่จะใช้มี การวางแผนไว้รัดกุมรอบคอบ
2. ปฏิบัติตามแผน (Do) คือ การดำเนินการเพื่อให้ได้ตามแผนที่มีการกำหนดไว้ กำหนดวิธีใน การดำเนินงาน ผลิตนวัตกรรมสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น
3. ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) คือ เป็นการประเมินผลงานการดำเนินการการ ประเมินผลการดำเนินตามขั้นตอน และการประเมินผลงานตามเป้าหมายของแผนงานที่ได้มีการกำหนดไว้โดย จะเน้นการประเมินปัญหา จุดอ่อน ข้อดี จุดแข็ง ที่มีในการดำเนินการ โดยจะสังเกตจากพฤติกรรมการเล่น การอ่าน เขียน คัดลายมือ แต่งประโยค และการเขียนอิสระคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น
4. ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Act ) คือ การนำผลประเมินที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อ พัฒนาแผน ในการปรับปรุงต่อไป ในส่วนนี้ควรจะเสนอแนะปัญหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหา หรือการ พัฒนาระบบที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไป และเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมส่งเสริมด้านการอ่าน เขียนนักเรียนต่อไป
๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม
การออกแบบผลงานและนวัตกรรม คือ การถ่ายทอดความคิด จินตนาการแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานหรือ ผลงานได้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อแสดงให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นรับรู้ หรือสัมผัสได้ และเป็นที่เข้าใจในผลงาน ร่วมกัน ซึ่งได้มีขั้นตอนการออกแบบผลงานและนวัตกรรม ดังนี้
๓.๑.1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ ได้ศึกษาหลักการอ่านอักษรควบแท้ โดยการอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำกับพยัญชนะ ร ล ว พร้อมกัน เช่น กลอง ครอบ พราย ตรวจ เปลี่ยน ผลาญ ไขว่ ครัว การอ่านอักษรควบกล้ำไม่แท้ โดยอ่านออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำตัวหน้าเพียงเสียงเดียว คือ ทร สร ศร ออกเสียงเป็น ซ
เช่น ทราย เทริด ไทร ทรุด ทราม ทราบ ทรวง พุททรา อินทรี ทรวดทรง สร้อย เสริม สร้าง แสร้ง เศร้า ศรี จริง
๓.๑.2 การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม ในการเลือกและการวางแผนนวัตกรรมการเรียนรู้ จากการศึกษาแนวคิดหลักการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำจากคำที่ง่ายที่สุด และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดในการนำมาพัฒนานักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ ตรงกับความต้องการและความจำเป็นนั้น การปลูกฝังให้นักเรียนมีพฤติกรรมการอ่าน การเขียน ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง จึงเลือกการสร้างนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น เพื่อให้นักเรียนอ่านคล่องเขียนคล่อง อ่าน เขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้
และสามารถนำความรู้เรื่องคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
3.๑.๓ สร้างและพัฒนานวัตกรรม ในการสร้างสร้างและพัฒนานวัตกรรม ได้มีการออกแบบเครื่องมือ เพื่อให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ เข้าใจ และเกิดผลสัมฤทธิ์จากการทำกิจกรรม รวมไปถึงนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ใน ชีวิตประจำวันได้มากที่สุด ดังนี้
ขั้นที่ ๑ เล่นได้ นักเรียนฝึกเล่นบิงโกคำควบกล้ำเป็นประจำทุกวัน เพื่อทบทวนคำศัพท์เก่าและเรียนรู้คำศัพท์ใหม่
ขั้นที่ ๒ อ่านคล่อง ฝึกอ่านทุกวันในช่วงพักกลางวันเพื่อความต่อเนื่อง โดยใช้เกมบิงโก
ขั้นที่ ๓ เขียนคล่อง โดยใช้คำจากเกมบิงโก นำมาเขียนวันละ ๕-๑๐ คำ
ขั้นที่ ๔ คัดลายมือ นอกจากทำให้ลายมือสวยงามแล้วยังเป็นการช่วยในการจดจำรูปคำต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย
ขั้นที่ 5 แต่งประโยค เช่น ใคร ทำอะไร ,ใคร ทำอะไร กับใคร ,ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน, ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร
ขั้นที่ 6 การเขียนอิสระ โดยให้นักเรียนมีอิสระตามความคิดของนักเรียนเอง โดยกระบวนการ 6 ขั้นนี้ เด็กๆ จะต้องผ่านไปทีละขึ้น และเมื่อครบ 6 ขั้นแล้ว ก็เริ่มสอนขั้นที่ 1 - 6 ใหม่จากขยับยากขึ้นมาทีละน้อยๆ ทำอย่างนี้ทำให้เห็นผลงานที่ออกมามองเห็นนักเรียนมีความภูมิใจในตัวเองเพราะการอ่านออกเขียนได้
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรม เป็นการดำเนินงานให้เกิดผลเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่ ต้องการ ในการทำผลงานนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นดำเนินการดังนี้
๓.๒.1 ปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน
๓.2.๒ ฝึกให้นักเรียนรู้จักเกมบิงโกเป็นประจำ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการอ่านการเขียนด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น
๓.๒.๓ นักเรียนเล่นเกมบิงโก ฝึกการอ่าน เขียน คัดลายมือ แต่งประโยค และเขียนอิสระได้
๓.๒.4 ทดสอบความรู้ความเข้าใจด้วยนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖
๓.๓ ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม ว่านวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ ต้องการหรือไม่ สามารถพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่ การประสิทธิภาพของเครื่องมือนวัตกรรม เรื่อง นวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้รับการแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในการปลูกฝังให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน สู่ความเป็นเลิศในการอ่านคล่องเขียนคล่อง และนำสู่การพัฒนาความก้าวหน้าต่อไป
๓.๔ การใช้ทรัพยากร การนำนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น มาใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
๔.๑.๑ นักเรียนอ่านคล่องเขียนคล่อง
๔.๑.๒ นักเรียนอ่าน เขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้
๔.๑.๓ นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๔.๑.๔ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านโนนรัง ปีการศึกษา 256๕ อ่านคล่องเขียนคล่อง ร้อยละ ๙๕
๔.๑.๕ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ โรงเรียนบ้านโนนรัง ปีการศึกษา 256๕ อ่านเขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น ได้ร้อยละ ๙๕
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ที่เรียนรู้ด้วยนวัตกรรมคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ เล่นได้ ขั้นที่ ๒ อ่านคล่อง ขั้นที่ ๓ เขียนคล่อง ขั้นที่ ๔ คัดลายมือ ขั้นที่ ๕ แต่งประโยค และขั้นที่ ๖ เขียนอิสระ เมื่อนักเรียนเรียนรู้ทั้ง ๖ ขั้นนี้ ทำให้นักเรียนมีความรู้เรื่อง คำควบกล้ำ อ่านคล่องเขียนคล่อง สามารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนมีนิสัยรักการการอ่าน ทำให้อ่านคล่องเขียนคล่องตามระดับของช่วงวัย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งผลให้การดำเนินชีวิตในอนาคต เป็นคนที่มีคุณภาพ
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 1 ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ซึ่งร่วมมือ กันส่งเสริมและสนับสนุน ให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 2 การวางแผนที่ดี มีการนำเครื่องมือ Plan, Do, Check, Act มาใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการด้านคุณภาพของโครงการเพื่อให้บรรลุผล การทำแผนงานโครงการควรจะมีการ ทำให้ตรงกับมาตรฐานการวางแผนที่ดีและมีคุณภาพมาตรฐานตลอดวงจรของโครงการ
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ 3 การนำหลักการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ เล่นได้ ขั้นที่ ๒ อ่านคล่อง ขั้นที่ ๓ เขียนคล่อง ขั้นที่ ๔ คัดลายมือ ขั้นที่ ๕ แต่งประโยค และขั้นที่ ๖ เขียนอิสระ มาทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกิดความรู้ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการอ่าน การเขียน ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน สมารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๖. บทเรียนที่ได้รับ
บทเรียนที่ได้รับจากการผลิตและนำนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น ไปใช้ ส่งเสริม ปลูกฝัง เสริมสร้างให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และสามารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ได้อย่างมีหลักเกณฑ์และมีหตุผล มีข้อสังเกต พอสรุปดังนี้
๖.๑ นักเรียนให้ความสนใจนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นเป็นอย่างดี
๖.๒ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ อ่านคล่องเขียนคล่องเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
๖.๓ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ อ่าน เขียนคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้ถูกต้อง
๖.๔ นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องคำควบกล้ำด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
๗.๑ การเผยแพร่
การเผยแพร่นวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้น มีการเผยแพร่ในระดับโรงเรียน โดยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูที่สอนในรายวิชาภาษาไทย การ PLC ร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในเรื่องการจัดการเรียนการสอน โดยมีการนำนวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นเข้าไปแลกเปลี่ยนรู้ด้วย และนอกจากนี้มีการเผยแพร่นวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ครูที่สอนภาษาไทยหรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้นวัตกรรมในส่วนนี้ด้วย เพื่อเสริมสร้าง ปรับปรุงผู้เรียนให้มีคุณภาพต่อไป
๗.๒ การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
นวัตกรรมคำควบกล้ำสร้างสรรค์ด้วยเกมบิงโก ๖ ขั้นได้รับการยอมรับจากคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ในระดับโรงเรียน เพราะเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับนักเรียนได้จริง ทำให้นักเรียนเกิดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนักเรียนเป็นอย่างดี