การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการประเมินโครงการเสริมสร้างโรงเรียนน่าอยู่ ห้องเรียนน่า
เรียน โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งแบ่ง
การประเมินออกเป็น 4 ประเภท คือ การประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมิน
กระบวนการ และการประเมินผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน
และผู้ปกครองนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ
ค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (X) และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท (Context) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.56) เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการมีการกำหนดเป้าหมาย วิธีการดำเนินงาน ระยะเวลา
ดำเนินงาน มีความเหมาะสมและปฏิบัติจริง (x̄ = 4.83) รองลงมา คือ โครงการสอดคล้องกับความ
ต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี (x̄ = 4.75) และโครงการเสริมสร้างโรงเรียนน่าอยู่ ห้องเรียนน่าเรียน
ต้องได้รับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (x̄ = 4.67) ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.80)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตามโครงการ
มีเพียงพอ (x̄ = 4.93) รองลงมา คือ โรงเรียนมีการให้คำปรึกษาตามระเบียบการเงินอย่าง ละเอียด
ทุกขั้นตอน (x̄ = 4.91) และมีการประสานงานกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากทุกฝ่ายภายในโรงเรียน
และหน่วยงานต้นสังกัด (x̄ = 4.88) ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.77)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงานแต่ละ
ขั้นตอนมี (x̄ = 4.91) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (x̄ = 4.89)
และมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน (x̄ = 4.86) ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต (Product) โดยภาพ รวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.64)
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ห้องเรียนมีถังขยะ (x̄ = 4.77) รองลงมา
คือ ห้องเรียนสะอาด (x̄ = 4.76) และบริเวณทั่วไปของโรงเรียนมีความสะอาด ร่มรื่น สวยงาม (x̄ =
4.75) ตามลำดับ