วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
2.1 วัตถุประสงค์
2.๑.1 เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของผู้เรียนให้มีมาตรฐานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน
การศึกษาต่อได้
2.1.๒ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่านและเขียนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
2.1.๓ เพื่อพัฒนาส่งเสริมศักยภาพทางด้านภาษาสู่การแข่งขันทักษะวิชาการ
2.1.๔ เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและกล้าแสดงออกในการใช้ภาษาอังกฤษ
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในชั้นเรียน
1) ข้าพเจ้าได้ศึกษาและวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566ได้พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาในการเรียนรู้ทักษะทางภาษา คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียนได้มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปลายภาคเรียนที่ 2/2565 และปลายภาคเรียน
ที่ 1/ 2566 จากนั้นรวบรวมผลพร้อมทั้งหาค่าเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในการพัฒนาโดยสรุปข้อมูลดังกล่าวได้ดังนี้
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 102 คน มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษดังนี้
จำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2566 ผลต่างค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษปลายภาคเรียนที่ 2/2565
และปลายภาคเรียนที่ 1/2566 (จำนวนนักเรียน/ค่าเฉลี่ย)
สูงขึ้น ต่ำลง คงที่
102 8/7.84 89/87.25 5/4.90
จากตารางดังกล่าวพบว่าจำนวนนักเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษต่ำลง สูงถึง 87.25 ดังนั้นจึงควรเร่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นอย่างเร่งด่วน ข้าพเจ้าจึงศึกษาหาความรู้และแนวทางในการพัฒนาเพิ่มเติมและเป็นการบูรณาการควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาบนพื้นฐานแนวการจัดการเรียนการสอนแบบ ย้ำ ซ้ำ ทวน อยู่เสมอให้เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่คงทนถาวร
2) ดำเนินการปรับและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ อ 23101 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/ 2566 โดยใช้การจัดกิจกรรมก่อนเรียน 15 นาที ในการพัฒนาทักษะกระบวนการสื่อสารทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ดังนี้
1. กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ 1 English meditation (1 AS : Students with meditation) เตรียมความพร้อมในการเรียน ส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดสนใจในการเรียน รวมทั้งยังสามารถฝึกทักษะทางภาษาด้านการฟังของผู้เรียนได้อีกด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านกระบวนการนั่งสมาธิเพื่อปรับพฤติกรรม ฝึกสติ การมีสติสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เพื่อให้เกิดความสนใจ ความจดจ่อ และความมุ่งมั่นให้อยู่กับเรื่องๆ เดียว การมีสติจดจ่อกับสิ่งที่ทำทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี พร้อมทั้งใช้เพลงสมาธิประกอบโดยครูผู้สอนใช้เพลง Flower blossom ในการฝึกสมาธิของผู้เรียนเป็นการบูรณาการทักษะการฟังของผู้เรียนพร้อมทั้งมีท่าประกอบเพื่อผู้เรียนรู้ความหมายจากการฟังเพิ่มเติม ดังนั้นผู้เรียนจึงได้พัฒนาทักษะการฟังบูรณาการการนั่งสมาธิเพื่อเจริญสติของตนเองด้วยกระบวนการย้ำ ซ้ำ ทวน ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความคุ้นชินในการจดจำเสียง คำที่พบเห็น แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบริบทอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง
2. กิจกรรมการจัดการเรียนสอนแบบที่ 2 The singer (2 AS: Songs) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้น
พัฒนาการในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ทักษะการฟัง การเขียนและการพูด โดยครูผู้สอนดำเนินกิจกรรมการเรียนการ
สอนดังนี้ คือ เลือกเพลงที่มีเนื้อหา วงคำศัพท์ ความหมายของเพลงที่เหมาะสมกับวัยและศักยภาพของผู้เรียน ให้
นักเรียนได้ฝึกฟังพร้อมทั้งเพลงประกอบก่อนในช่วงเริ่มต้น จากนั้นฝึกการอ่านออกเสียงของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนออก
เสียงตามเพลงและครูผู้สอน โดยเริ่มต้นกิจกรรมครูผู้สอนใช้เพลง A little Love เพลงนี้มีประโยคและเนื้อหาที่
เหมาะสมกับวัยผู้เรียน มีทำนองที่ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดีและมีความสนใจ สำหรับเพลงนั้น
ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนเป็นรายเดือนเมื่อผู้เรียนสามารถร้องเพลงได้แล้วมีทักษะในการออกเสียงเพิ่มมากขึ้น
สามารถเขียนหรือสะกดคำตามเนื้อเพลงได้ โดยมีแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดผลและประเมินผลผู้เรียน
เป็นระยะ
3. กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ 3 Faster Faster by Tongue twister (3 AS: sentences- tongue twister) คือการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประโยคหรือชุดคำศัพท์ที่ออกเสียงยากเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการอ่านการให้นักเรียนได้ฝึกการอ่านออกเสียงคำโดยใช้ประโยคที่เป็นการฝึกการอ่านออกเสียงแบบ Tongue twister เพื่อความสนุกสนาน ท้าทายพร้อมทั้งทำให้ผู้เรียนมีเจคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ครูผู้สอนดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดประโยค Tongue twister ที่เรียงลำดับความยากง่ายเพื่อเสริมกำลังใจให้ผู้เรียนในการฝึกอ่านในช่วงเริ่มต้นและยากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเสริมความท้าทายและเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ในการจัดกิจกรรมทุกครั้งที่จัดการเรียนการสอนผู้เรียนจะฝึกการอ่านออกเสียงตามครูผู้สอนก่อนจากนั้นให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงเอง 3 ครั้ง โดยกำหนดให้ผู้เรียนพูดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อฝึกความชัดเจนและท้าทายให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียน การเรียนบนพื้นฐานความสุขย่อมก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ถาวรและผู้เรียนสามารถนำไปปรับใช้ได้ในบริบทต่อไป
4. กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ 4 Spelling Test (4 AS : Spelling test) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Spelling test ในการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง การอ่าน การพูดและการเขียน โดยผู้เรียนต้องจดจำคำศัพท์ทั้งการออกเสียง ตัวอักษร หน้าที่ของคำ ตลอดจนความหมายภายในวงคำศัพท์ตามคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้นที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดจากสมุดคำศัพท์ของตนเอง โดยครูผู้สอนเสริมแรงจูงใจด้วยการให้ผู้เรียนได้ออกแบบหน้าปกของตนเองเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการดูแลและหวงแหนของตนเอง พร้อมทั้งให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วยการลงลายมือชื่อในการท่องคำศัพท์ของนักเรียน เป็นการติดตามและประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานอีกทางหนึ่ง จากนั้นเมื่อนักเรียนอยู่ในชั่วโมงเรียนภาษาอังกฤษ มีการเขียนคำศัพท์พร้อมทั้งอ่านนำเสนอหน้าชั้นเรียนเพื่อเป็นการฝึกฝนการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและมีความมั่นใจในการใช้ภาษาต่างประเทศ