รายละเอียดการนำเสนอผลงานนวัตกรรม
1. ความสำคัญของนวัตกรรม
1.1 ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิต การอาชีพมาใช้ประโยชน์ในการทำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ รักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียงและมีความสุข
ในปัจจุบันครูผู้สอนประสบปัญหาเกี่ยวกับการสอนที่เป็นการปฏิบัติ ครูมักจะใช้วิธีการสอนโดย สอนแบบสาธิตและบรรยาย เน้นการสอนเพื่อผลสัมฤทธิ์ด้านพุทธิพิสัย มากกว่า ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทำให้การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อีกทั้งนักเรียนยังขาดทักษะชีวิตพื้นฐาน ขาดทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม จึงไม่สนใจทำงาน ไม่มีนิสัยรักการทำงาน ไม่รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้ผู้เรียน มีเจตคติที่ไม่ดีต่อ การทำงานทำให้เกิดความเบื่อหน่ายไม่มีความสุขในการเรียน ต่างคนต่างทำงานของตน ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนไม่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนดี มีความสุข
จากปัญหาดังกล่าวครูผู้สอนจึงได้จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบ I2K Model ด้วยการทำโครงงานเรื่องเนินตองร่วมใจ ปุ๋ยใบไม้ปลอดภัย ไร้ขยะ เพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรง จากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นของจริง รู้จักการสังเกต การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งยังสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ สอดคล้องกับสภาพภายในโรงเรียนที่เกิดปัญหาการกำจัดขยะอินทรีย์ จำพวกใบไม้ไม่ถูกวิธี เนื่องจากโรงเรียนมีปริมาณใบไม้ร่วงจำนวนมาก ซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดความไม่สบายตา ไม่มีวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงทำให้สภาพแวดล้อมในบางจุดไม่เอื้อต่อ การเรียนรู้ อีกทั้ง การกำจัดขยะจำพวกนี้นิยมใช้วิธีการเผาซึ่งสร้างฝุ่น ควัน และมลพิษทางอากาศ ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้เรียน บุคลากรในโรงเรียน และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งจากการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิดค้นหาแนวทางแก้ปัญหา ตามความสามารถ ความถนัดของตน โดยทุกคนในกลุ่มมีหน้าที่ของตนเอง และร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติ เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการทำงานด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการทำงานที่ดีขึ้นเหมาะกับบริบทของวิชาการงานอาชีพ
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
2.1 วัตถุประสงค์
2.๑.1 เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพสูงขึ้น
2.1.๒ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม
2.1.๓ เพื่อให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาการงานอาชีพ
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เชิงปริมาณ
1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพ อยู่ในระดับร้อยละ ๗0 ขึ้นไป
2) ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับร้อยละ ๘0 ขึ้นไป
3) ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาการงานอาชีพอยู่ในระดับ ร้อยละ 90 ขึ้นไป
2.2.2 เชิงคุณภาพ
1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการงานอาชีพสูงขึ้น
2) ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม
3) ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาการงานอาชีพ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน / การออกแบบนวัตกรรม
การออกแบบนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active learning) โดยใช้กระบวนการสอนแบบ I2K Mode lในการจัดการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพ เนินตองร่วมใจ ปุ๋ยใบไม้ปลอดภัย ไร้ขยะ นั้นเป็น การออกแบบนวัตกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะด้านต่าง ๆ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยการลงมือปฏิบัติ เห็นของจริงรู้จักการสังเกตช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และต้องสามารถนำเอาความรู้ทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ใช้วิธี System Approach ประกอบด้วย Input Process Output Feedback และทุกขั้นตอนจะควบคุมโดยวงจรคุณภาพ PDCA จากกระบวนการพัฒนานวัตกรรม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1.1) ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียน ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร
1.2) ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างชัดเจน ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้นอกจากจะกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแล้ว จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและด้านทักษะพิสัย
1.3) ระบุเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ระบุใช้สื่อ/นวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
1.4) กำหนดวิธีการวัดและประเมินผลพร้อมเครื่องมือการวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
1.5) จากนั้นนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้สื่อ/นวัตกรรมอย่างหลากหลายประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รวมทั้งออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผล การเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้
ทั้งนี้ข้าพเจ้ามีการวัดและประเมินผลในรายวิชาการงานอาชีพคือ การประเมินการปฏิบัติ (Authentic Assessment) และการประเมินสภาพจริง (Performance Assessment) โดยผ่านการปฏิบัติของผู้เรียน โดยการวัด และประเมินผลด้วยวิธีการดังกล่าวต้องวัดและประเมินได้ครอบคลุมครบถ้วนพฤติกรรมของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ดังนี้
ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) การประเมินความรู้ในรายวิชาการงานอาชีพ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้ทั้งเนื้อหาด้านทฤษฎีและปฏิบัติซึ่งความรู้ในเนื้อหาสาระนี้สามารถประเมินโดยการใช้แบบทดสอบ
ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นการประเมินการแสดงออกของผู้เรียนทั้งหมดตลอดจน การทำงานร่วมกันและคุณลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสามารถประเมินด้วยวิธีการสังเกตได้อย่างชัดเจน
ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) การประเมินทักษะในรายวิชาการงานอาชีพ ทักษะที่สำคัญของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ (Plan)
1) ผู้สอนศึกษาเป้าหมายของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้เพื่อสร้างหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและสาระ การเรียนรู้แกนกลางภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2) ผู้สอนจัดทำหน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้
3) ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันสำรวจแนวคิดหลักในการจัดทำผลงงานและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่ การกำหนดหัวข้อองค์ความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน
ขั้นดำเนินการ (Do)
การพัฒนาผลงานและนวัตกรรมของนักเรียนจากการจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้กระบวนการสอนแบบ I2K Model ของการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ดังนี้
I มาจากคำว่า Interaction
หลักการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อมรอบตัวซึ่งตามทฤษฎี Constructivism และ Cooperative Learning เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่บุคคลจะต้องอาศัยและพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันกล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล และแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
K มาจากคำว่า Knowledge
หลักการสร้างความรู้ หมายถึง การให้ผู้เรียนสร้างความรู้ตามแนวคิดที่ว่าการเรียนรู้เป็นประสบการณ์เฉพาะตนในการสร้างความหมายของสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง กล่าวคือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ดีควรเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง ซึ่งการที่ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเองนี้เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
K มาจากคำว่า Kinesthetic
หลักการมีส่วนร่วมทางร่างกาย หมายถึง การให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยการทำกิจกรรมในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นการช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางกาย กล่าวคือ การเรียนรู้ต้องอาศัยการเรียนรู้ การเคลื่อนไหวทางกายจะช่วยให้ประสาทการรับรู้ "active" และรับรู้ได้ดีดังนั้นในการสอนจึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนต้องเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้