รายละเอียดการนำเสนอผลงานนวัตกรรม
1. ความสำคัญของนวัตกรรม
1.1 ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม
แนวทางการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม อาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย จากประสบการณ์จริง และตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) คำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนในรู้ศตวรรษที่ 21 เป็นสำคัญ เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ พร้อมที่จะประกอบอาชีพ เมื่อจบการศึกษาหรือสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
จากการจัดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าผู้เรียนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถทำแบบฝึกได้ถูกต้อง ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนค่อนข้างต่ำและไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าใจมากขึ้น ครูผู้สอนจึงจัดทำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ STEP MODEL เพื่อแก้ปัญหาการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน โดยใช้เทคนิค Think-Pair-Share มาใช้สอนคณิตศาสตร์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนได้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนานวัตกรรม
2.1 วัตถุประสงค์
๑. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
๒. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์
๓. เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
2.2 เป้าหมาย
2.2.1 เชิงปริมาณ
1. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน อยู่ในระดับร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป
3. ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีทักษะการคิดคำนวณ อยู่ในระดับร้อยละ 70 ขึ้นไป
2.2.2 เชิงคุณภาพ
1. ผู้เรียนมีทักษะการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากันและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์สูงขึ้น
2. ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
3. ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีทักษะการคิดคำนวณที่ดีขึ้น
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน / การออกแบบนวัตกรรม
การออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ STEP MODEL เพื่อแก้ปัญหาการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน โดยใช้เทคนิค Think-Pair-Share นั้นเป็นการออกแบบนวัตกรรมโดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน Think-Pair-Share ดังนี้
๑. Think เป็นขั้นตอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดในประเด็นปัญหาต่างๆ การกล่าวนำถึงสาระสำคัญของบทเรียนรวมทั้งการแนะนำให้ผู้เรียนได้คิดถึงเรื่องที่จะต้องศึกษาในขั้นตอนต่อไป ในขั้นนี้จะต้องดำเนินการทั้งชั้นเรียน เพื่อให้ผู้เรียนทั้งหมดเกิดความคิดร่วมและประสานความคิดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๒. Pair เป็นขั้นตอนที่จัดให้ผู้เรียนจับกันเป็นคู่ๆ เพื่อให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนร่วมกันให้สามารถศึกษาบทเรียนได้สำเร็จลุล่วง และสามารถค้นหาคำตอบของประเด็นปัญหาที่ต้องการได้ การเรียนรู้ในขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้
๑) Motivation ขั้นตอนการนำเข้าสู่บทเรียน
๒) Information ขั้นตอนการศึกษาเนื้อหาบทเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น หรือจากใบความรู้
๓) Application ขั้นการทดสอบความสำเร็จในการเรียนรู้
๔) Progress ขั้นตอนการประเมินผลความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน
๓. Share เป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากการศึกษาบทเรียนแล้ว โดยการทำการสลายกลุ่ม ผู้เรียนที่จับกันเป็นคู่แล้วสรุปผลการค้นหาคำตอบร่วมกันทั้งชั้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สรุปผล และอภิปรายผลการค้นพบจากการศึกษาบทเรียนในขั้นตอนที่ผ่านมารวมทั้งให้ข้อสรุปหรือเสนอแนะใดๆต่อผู้สอนได้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ STEP MODEL
ครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน โดยใช้กระบวนการ STEP MODEL ดังนี้
1. S = Share การแบ่งปัน
2. T = Team กลุ่มเดียวกัน
3. E = Evaluation การประเมินผล
4. P = Process กระบวนการ