งานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และ อนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางนภัค แก้วพินิจ
หน่วยงาน โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Claster Random Sampling) จากจำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นการกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 18 แผน แต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. นักเรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความคิดเห็นว่าต้องการให้นักเรียนเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมกลุ่ม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างแท้จริง สื่อการเรียนรู้เป็น
ใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน และแบบทดสอบ มีการวัดผลโดยการใช้การทดสอบ
2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพ 80.69/82.32
3. ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ โดยครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเรียน ครูมีบทบาทหน้าที่ในการให้คำแนะนำปรึกษา นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนุก ทำกิจกรรมตาม ใบงานได้อย่างถูกต้อง
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ มิประสิทธิภาพของกระบวนการ 81.44 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ มีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ 82.19 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก