ชื่อเจ้าของผลงาน : โรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง (ส.ก.) (S.K.)
๑.ความเป็นมาและความสำคัญ
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาความมั่นคงปลอดภัยของมนุษย์ชาติ (Human Security) และยาเสพติดเป็นตัวการที่สำคัญในการบ่อนทำลายกำลังทรัพยากรบุคคลของชาติ ความรุนแรงของสถานการณ์ยาเสพติดจะเป็นตัวแปรที่สำคัญให้มีการกำหดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลเพื่อประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม (Protective Regulatory Policy)
ในอนาคตปัญหายาเสพติดยังคงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงอยู่และนับวันจะมีซับซ้อนมากยิ่งขึ้นประชาชนได้คาดหวังให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดในการควบคุม ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในการดำรงชีวิต ด้วยเหตุนี้การจัดทำการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษาจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
ในส่วนของสถานศึกษา โรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุงเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างทั่วไป ไม่มีเวลาดูแลนักเรียน และเปลี่ยนสถานที่ทำงานตามสภาพของเศรษฐกิจใน สังคม ส่งผลให้นักเรียนขาดคนดูแลเอาใจใส่และการอบรม บ่มนิสัยจากผู้ปกครอง ทำให้มีปัญหาทางด้านการ เรียน ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านสุขภาพ ขาดความรักความ อบอุ่น ขาดการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวม อยู่ในสังคม ที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีทำให้ขาดเกราะป้องกันหรือไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง และที่สำคัญมีอัตราเสี่ยงในเรื่องยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ ในการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดให้ไปสู่เป้าหมายเพื่อให้เกิดภาพความสำเร็จนั้น โดยใช้ นวัตกรรม พัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษาที่เป็นกำลังสำคัญในการที่จะดูแลนักเรียน ในโรงเรียนให้พ้นจากภัยของยาเสพติดเพื่อที่จะให้เขาเหล่านั้น เติบโตด้วยชีวิตที่งดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม ซึ่งการพัฒนานักเรียน ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทาง การศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้ เยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและ สนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยง รอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครู และผู้เกี่ยวข้องทุกคน ต้องเข้าไปช่วยเหลือและ แก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากแหล่งอบายมุข
๒. วัตถุประสงค์เป้าหมายของการดำเนินงาน
๑. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
๒. เพื่อให้นักเรียนรู้เท่าทันภัยร้ายจากยาเสพติดมีทักษะชีวิตในการป้องกันยาเสพติด
๓. เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ พัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดของโรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง
๔. เพื่อพัฒนาโครงการห้องเรียนสีขาวของโรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในการนำไปพัฒนาและสร้างระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษา
๕. เพื่อปลุกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาให้กับเด็กนักเรียนภายในโรงเรียนและชุมชน
๓. กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ การออกแบบผลงาน พัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model
ในการพัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model ที่โรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง ได้พัฒนาขึ้นดังนี้
S: Strategic Management การบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหารคุณภาพโรงเรียนโดยเริ่มจากการศึกษานโยบาย จุดเน้น กลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อ
1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
2) การปฏิบัติการ (Take Action)
3) การประเมินผล (Evaluation)
K : Knowledge ความรู้ เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งแต่ละกิจกรรมจะพัฒนาการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอันเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ รวมไปถึงการ ปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
N : Network สร้างเครือข่าย คือ การสร้างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม เช่น
สถานศึกษาใกล้เคียง หน่วยงานราชการต่างๆ ตำรวจ พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องถิ่นและชุมชน ทั้งนี้เพื่อช่วย
สถานศึกษาในการดำเนินงานให้มีมาตรการป้องกันและการป้องปรามติดตามผู้จำหน่ายและผู้เสพและมาตรการความปลอดภัย เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสถานศึกษาในการต่อสู้กับปัญหายาเสพติดและแหล่งอบายมุขรอบสถานศึกษา
E : Environment พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้มีความร่มรื่น ลดจุดเสี่ยง จุดลับสายตา ปรับปรุงห้องน้ำ และห้องบริการต่าง ๆ ในโรงเรียนให้สะอาด โล่ง ปลอดโปร่ง จัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงภัยร้ายของยาเสพติด นอกจากนั้นยังให้ความรู้นักเรียนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย บ้านเรือนให้สะอาด ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในความดูแลทุกคนเพื่อให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และติดตามดูสภาพแวดล้อมด้านความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในครอบครัวของนักเรียนเพื่อให้การดูแล ช่วยเหลือเป็นรายกรณี W : Work ทำงาน ดำเนินการตามแผน คือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้มีคุณธรรมส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน และสร้าง ภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียน ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือกระทำจากการปฏิบัติจริงของนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ให้การแนะนำ สั่งสอน ฝึกฝน อบรม เป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ทำดี และใฝ่รักษาสุขภาพ ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดย แบ่งเป็นกิจกรรมตามมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน
ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา
ด้านที่ 3 มาตรการรักษา
ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง
Flow chart นวัตกรรมพัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model
ใช้หลักการของวงจรเดมมิ่ง (PDCA )
PDCA คือ วงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์ ซิวฮาร์ท (Walter Shewhart) ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า วงจรเด็มมิ่ง ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก
PDCA เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ ๔ คำคือ
P : Plan = วางแผน
D : DO = ปฏิบัติตามแผน
C : Check = ตรวจสอบ / ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action = ปรับปรุงดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน
๓.๒ การใช้ PDCA ในการบริหารนวัตกรรมพัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model
1) การวางแผน Plan
S: Strategic Management การบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็นการบริหารคุณภาพโรงเรียนโดยเริ่มจากการศึกษานโยบาย จุดเน้น กลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อ
1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
2) การปฏิบัติการ (Take Action)
3) การประเมินผล (Evaluation)
2) ปฏิบัติตามแผน Do
E : Environment พัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้มีความร่มรื่น ลดจุดเสี่ยง จุดลับสายตา ปรับปรุงห้องน้ำ และห้องบริการต่าง ๆ ในโรงเรียนให้สะอาด โล่ง ปลอดโปร่ง จัดทำป้ายนิเทศให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงภัยร้ายของยาเสพติด นอกจากนั้นยังให้ความรู้นักเรียนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย บ้านเรือนให้สะอาด ครูที่ปรึกษาออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในความดูแลทุกคนเพื่อให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และติดตามดูสภาพแวดล้อมด้านความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในครอบครัวของนักเรียนเพื่อให้การดูแล ช่วยเหลือเป็นรายกรณี
W : Work ทำงาน ดำเนินการตามแผน คือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้มีคุณธรรมส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝัง ป้องกัน และสร้าง ภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับนักเรียน ด้วยการเรียนรู้จากการลงมือกระทำจากการปฏิบัติจริงของนักเรียน โดยมีครูเป็นผู้ให้การแนะนำ สั่งสอน ฝึกฝน อบรม เป็นการสร้างนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่ทำดี และใฝ่รักษาสุขภาพ ไม่สร้างความเดือดร้อน เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดย แบ่งเป็นกิจกรรมตามมาตรการ 4 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน
ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา
ด้านที่ 3 มาตรการรักษา
ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง
3) ตรวจสอบ Check ตรวจสอบคุณภาพ
K : Knowledge ความรู้ เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งแต่ละกิจกรรมจะพัฒนาการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอันเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ รวมไปถึงการ ปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
4) ปรับปรุงแก้ไข Action นำผลที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบและนำที่ได้ไปพัฒนา
อย่างยั่งยืน N = Network สร้างเครือข่าย
3.3 ขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้วงจร PDCA
การดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง โดยใช้รูปแบบวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้วยรูปแบบSK NEW Model สู่สถานศึกษาสีขาวนั้น ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายและเกิดการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างสมดุลรอบด้านเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ซึ่งโดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นการวางแผน (Plan) เป็นการออกแบบนวัตกรรม SK NEW Model ที่สอดคล้องกับบริบทของสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง ในการดำเนินโครงการ มีการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานในอนาคตที่ชัดเจน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาจากการประชุมคณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา
2. ประชุม วางแผน ร่วมกับครูประจำชั้น เพื่อทำความเข้าใจนโยบาย สถานศึกษาสีขาว
ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
3. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการและมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบเพื่อ
กำหนดกิจกรรมส่งเสริมที่เหมาะสมกับนักเรียน จัดทำรายละเอียดโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4. สร้างเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้แก่ แบบสอบถาม เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมส่งเสริม แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการสถานศึกษา สีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
5. จัดหาทรัพยากร/งบประมาณ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
6. สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือจากครู บุคลากร/องค์กรต่างๆทั้งในและนอกโรงเรียน
ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อนำ
นวัตกรรมSK NEW Model ไปใช้ดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนให้สามารถพัฒนานวัตกรรมมีการท างานเป็นทีม เพื่อสร้างคุณค่าให้กับโรงเรียนผ่านกระบวนการการจัดการความรู้ในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ลงมือปฏิบัติคัดกรองนักเรียนออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และจัดกิจกรรมส่งเสริมเชิงสร้างสรรค์ให้นักเรียนปลอดยาเสพติดและอบายมุข
4 ด้าน ได้แก่
ด้านที่ 1 มาตรการป้องกัน
ด้านที่ 2 มาตรการค้นหา
ด้านที่ 3 มาตรการรักษา
ด้านที่ 4 มาตรการเฝ้าระวัง
ขั้นตอนที่๓ ขั้นตรวจสอบ (Check) เป็นการประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม จากการใช้
นวัตกรรมSK NEW Model โดยยึดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนที่กำหนดผลสำเร็จรอบด้าน
1. จัดทำเครื่องมือประเมินผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
2. ครูสังเกตพฤติกรรมนักเรียนก่อนและหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมเก็บรวบรวมข้อมูลและ
การประเมินนักเรียน ตามเครื่องมือวัดผล
๓. นำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์และนำเสนอผลที่ได้จากการใช้วิธีการหรือกิจกรรมในการ
แก้ปัญหา นั้นๆ
ขั้นตอนที่๔ ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Action) เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานตามสภาพจริง (Reflection)โรงเรียนคุณภาพต้องมีการพัฒนานวัตกรรมการบริหารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
๑. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
2. ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
3. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบในการดำเนินงานตามรูปแบบวงจร PDCA นี้ จะถูกขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ผลสำเร็จตามเป้าหมาย คือการสร้างเครือข่าย (N : Networking) อันนำไปสู่นักเรียนที่มีความรู้(K : Knowing) มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีทำให้ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
๔. ผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ที่มีผลกระทบต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถสร้างองค์ความรู้และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจากการร่วมกิจกรรมการดำเนินงานการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษาโดยใช้ SK NEW Model นักเรียนไม่เสพสารเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงและป้องกันตนเองจากแหล่งยั่วยุ มั่วสุม อันก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดเกิดขึ้น ปฏิบัติตามระเบียบสถานศึกษา ทุกคนปลอดยาเสพติดและอบายมุข
ด้านห้องเรียน
โรงเรียนสร้างแกวรัฐราษฎร์บำรุงได้มีระบบการบริหารจัดการและดำเนินงานการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษา โดยใช้ SK NEW Model มีแผนจัดกิจกรรมเรียนรู้และจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการป้องกันและการปลอดสารเสพติด ห้องเรียนมีบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ปลอดสารเสพติดภายในห้องเรียน
ด้านครูประจำชั้น
ครูประจำชั้น มีส่วนร่วมร้อยละ ๑oo ในการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษา มีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินงานของการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษาโดย ใช่SK NEW Model
ด้านผู้ปกครอง
ผู้ปกครองพึงพอใจ ในการช่วยเหลือนักเรียน ได้มีการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียน ปลอดยาเสพติดตามโครงการการป้องกันปัญหายาเสพติดภายในสถานศึกษาโดยภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้นักเรียนปลอดยาเสพติด
สรุปประโยชน์ที่ได้รับ พัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model
๑. มีการสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนในการป้องกันปัญหายาเสพติดใสสถานศึกษา
๒. นักเรียนมีภูมิคุ้มกันให้กับตนเองรู้เท่าทันภัยร้ายและมีทักษะชีวิตที่ดีในการป้องกันตนเองเกี่ยวกับยาเสพติด
๓. โรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุง มีนวัตกรรม พัฒนาความรู้รอบด้าน สู่สถานศึกษาสีขาว โดยใช้ SK NEW Model ที่ เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ พัฒนาสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
๔. โรงเรียนสร้างแก้วรัฐราษฎร์บำรุงได้มีการจัดทำห้องเรียนสีขาวให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับพิษภัยร้ายของยาเสพติด และเป็นแหล่งให้ข้อมูลการป้องกันตนเองเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานศึกษา ชุมชน และการป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
๕. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามในตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมีจิตสำนักอันดีงามและไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดเพาะมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งช่วยกันให้ความรู้และสอดส่องช่วยกันทั้งภายในชุมชน โรงเรียน และ รอบนอกสถานศึกษา
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
5.1 นักเรียนแกนนำทั้ง 4 ฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่ในภารกิจและดำเนินงานอย่างจริงจังเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ทั้ง 4 ด้านของกิจกรรมห้องเรียนสีขาว
5.2 ครูให้ความช่วยเหลือและดูแลนักเรียน มีทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนและพร้อมที่จะพัฒนานักเรียนในทุกๆด้าน
5.3 ผู้บริหารมีการบริหารจัดการที่ดี มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ส่งเสริมการส่วนร่วมในการ
ปฏิบัติงานทุกกิจกรรม
5.4 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดีในการสอดส่องดูแลนักเรียน และทำบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
5.5 ชุมชน หน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมเป็นอย่างดี
5.6 โรงเรียนเครือข่ายให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนและพัฒนา
โรงเรียนสีขาวเป็นอย่างดี
๖. บทเรียนที่ได้รับ
6.๑ การแก้ปัญหายาเสพติด ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาศัยความร่วมมือร่วมใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องมีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อร่วมกันดูแล สอดส่อง ปกป้อง คุ้มครองนักเรียน รวมทั้งให้การสนับสนุนนักเรียนในการท ากิจกรรมด้านต่างๆ อย่างเต็มที่ มุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เกิดแก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.๒ วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันทางร่างกายและจิตใจให้แก่นักเรียน เปรียบเสมือนการให้วัคซีน (Vaccine)
เพื่อใช้ต่อต้านยาเสพติด นักเรียนจะสร้างภูมิคุ้มกันด้วยตนเอง สามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ดี หรือหนทางแห่งอบายมุข และสามารถตัดสินใจเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีสติและมีวิจารณญาณ รู้จักยับยั้งชั่งใจต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ โดยจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมทั้งระบบ นักเรียนต้องนำคุณธรรม เกี่ยวกับความซื่อสัตย์และ ความรับผิดชอบในตนเอง ในการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ห่างไกลจากยาเสพติด
7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
การเผยแพร่
๑. การจัดป้ายนิเทศเผยแพร่ผลงานที่ภาคภูมิใจของแต่ละห้องเรียนสีขาว
2. แผ่นพับประชาสัมพันธ์
3. การเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น facebook line group และเว็ปไซต์ของโรงเรียน
รางวัลที่ได้รับ
ผลงานสถานศึกษา
๑. โรงเรียน ผู้บริหาร และครูได้รับรางวัล เสมา ป.ป.ส. ผลงานดีเด่นระดับเงิน ปีการศึกษา 256๕ จากศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด กระทรวงศึกษาธิการ
๒. โรงเรียนปลอดขยะ ผ่านเกณฑ์ระดับดีมาก ปีการศึกษา 2565
๓. โรงเรียน ระดับส่งเสริมคุณธรรม ตามโครงการส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑ ปี ๒๕๖๕
ผลงานครูและบุคลกร
๑. ได้รับการคัดเลือกและยกย่อง คนดีศรีจังหวัด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
๒. ผ่านการอบรม ครูเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
ผลงานนักเรียน
๑. ได้รับรางวัลการเขียนเรียงความ D.A.R.E. ตามโครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านยาเสพติด
ในเด็กนักเรียน