บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน 8 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว 2)แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวน 8 เล่ม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ ทดสอบก่อนเรียนละหลังเรียน (One Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1.ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/82.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การประสิทธิ์ภาพที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50
คำสำคัญ : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน , มาตราตัวสะกด , แบบฝึกทักษะ
บทนำ
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี และสุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป กระทรวงศึกษาธิการ (2551 :37)
การสอนภาษาไทยให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องฝึกทักษะต่าง ๆ ซึ่งการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ ในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การอ่านและการฟังเป็นทักษะของการรับรู้เรื่องราว ความรู้ประสบการณ์ ส่วนการพูดและการเขียนเป็นทักษะของการแสดงออกด้วยการแสดงความคิดเห็น ความรู้และประสบการณ์ การเรียนภาษาไทยจึงต้องเรียนเพื่อการสื่อสาร ให้สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างพินิจพิเคราะห์ สามารถนำความรู้ ความคิดมาเลือกใช้เรียบเรียงคำมาใช้ตามหลักภาษาได้ถูกต้องตรงตามความหมาย กาลเทศะและใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2549 : 80) ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้ได้ผลและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนมากขึ้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาหาทางปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้
จากปัญหาและเหตุผลความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและพบว่านวัตกรรมที่สามารถช่วยให้นักเรียนเขียนคำที่มีตัวสะกดได้ถูกต้องขึ้น คือ แบบฝึกทักษะ ดังที่ มนทิรา ภักดีณรงค์ (2540: 99-100) กล่าวว่า นักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะชนิดต่างๆ มีความคงทน ในการเรียนรู้ได้ดีเพราะนักเรียนได้ฝึกกระทำบ่อยๆ นักเรียนได้ลงมือกระทำเอง นักเรียนจึงเกิดความสนุกสนานในการทำแบบฝึกทักษะ สุนันทา สายแวว(2552: 31) กล่าวว่า การสร้างแบบฝึกนั้นจะต้องกำหนด จุดประสงค์ในการสร้างแต่ละแบบฝึกให้ชัดเจน และสร้างให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้แบบฝึกแต่ละชุดควรมีคำชี้แจงง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ หากคำชี้แจงนั้นนักเรียนไม่คุ้นเคยอาจมีตัวอย่างแสดงวิธีทำจะช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น แบบฝึกควรมีหลายๆ แบบเพื่อให้ผู้เรียน มีประสบการณ์ที่หลากหลาย และการทำแบบฝึกแต่ละครั้งต้องเหมาะสมกับเวลาและความสนใจของเด็ก
จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงเห็นความสำคัญและมีความสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4ให้สูงขึ้นและเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องมาตราตัวสะกด ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและตัวอย่าง
ประชากร
นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าลาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 29 คน
2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น( independent variables ) ได้แก่
- การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ
2.2 ตัวแปรตาม ( dependent variables ) ได้แก่
1) ผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง มาตราตัวสะกด โดยแบบฝึกทักษะ
2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะ
3. ขอบเขตของเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ทดลองในงานวิจัย 2 หน่วยการเรียนรู้คือ
1) มาตราตัวสะกดตรงมาตราได้แก่
มาตรา แม่กง แม่เกย แม่เกอว และแม่กม
2) มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราได้แก่
มาตรา แม่กก แม่กด แม่กน และแม่กบ
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้เวลาทดลอง จำนวน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน
วันละ 1ชั่วโมง รวม 8 ชั่วโมง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ได้ทราบผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมาตราตัวสะกด ก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
3. ได้ทราบผลการศึกษาความพึงพอใจที่ดีต่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
วิธีดำเนินกำรวิจัย
1. ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ และตรวจให้คะแนนแล้วเก็บข้อมูลไว้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียน
2. ขั้นดำเนินการทดลอง (Treatment) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 ชั่วโมง แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ไว้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
3. ดำเนินการทดสอบหลังเรียน (Post-test) เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สร้างขึ้น จำนวน 30 ข้อ ซึ่งเป็นชุดเดียวกับการทดสอบก่อนเรียน แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบไว้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
4. ดำเนินการสอบถามความพึงพอใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ไว้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัย
1.ผลการทดลองใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การประสิทธิ์ภาพที่กำหนดไว้ 80/80 (ดังตารางที่ 1)
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (ดังตารางที่ 2)
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องมาตราตัวสะกด โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50